รายงาน​ภัยพิบัติ​ 6 ตุลาคม​ 2565

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:36 สภาพ​น้ำท่วม​จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางกระบือ ทล 9 ระดับน้ำ 50-60 เซนติเมตร ที่มา​ แขวง​ทางหลวง​นนทบุรี​
  • 16:30 เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ภูเก็ต​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวลาใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 13:40 เรดาร์​ตรวจฝน​จากสำนักการระบายน้ำ กทม ที่หนองจอก​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​กรุงเทพฯ​และ​ปริมณฑล​รวมทั้ง​บาง​จังหวัด​ใน​ภาค​กลาง​ตอน​ล่าง​และ​ภาค​ตะวันออก​ตลอด 45 นาที​ที่ผ่านมา
  • 07:00 พบการ​ก่อ​ตัวใหม่​ของ​พายุ​ดีเปรสชัน​ 03S ในมหาสมุทร​อินเดีย​โซน​ซีกโลก​ใต้​ พิกัด​ล่าสุด​อยู่ที่​ 9.7°S 86.6°E ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​พายุ​ 35 น็อต​ ยังไม่​มีแนวโน้ม​ขึ้นฝั่ง​ประเทศ​ใด​
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในกรุงเทพฯ​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมงจาก​ศูนย์​ป้องกัน​น้​ำ​ท่วม​ กทม​
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในประเทศ​ไทย​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้)​ จากกรมอุตุฯ
  • 06:30 เรดาร์​แบบ​รวม​ทั่วประเทศ​ข​องกรมอุตุ​ย้อนหลัง​ 6​ ชั่วโมง​ หรือ​ตั้งแต่​ 00:30
  • 06:00 เขื่อนเจ้าพระยา​เพิ่มอัตราระบายน้ำมาที่ 2, 765m³​/s ซึ่งถือเป็น​ 102.7% ของอัตราสูงสุดและกำลังจะเพิ่มอัตราการระบายขึ้ึ้นเรื่อยๆ ชุมชนริมน้ำโปรดระวัง
  • 03:15 เรดาร์​ตรวจฝน​จากสำนักการระบายน้ำ กทม ที่หนองจอก​ (แบบ​เคลื่อนไหว)
  • กราฟเปรียบเทียบ​ปริมาณ​น้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา​และบางไทรในอดีตเฉพาะปีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่
  • นครซิดนีย์ของออสเตรเลีย ต้องพบปริมาณ​ฝนที่ตกในปีนี้มากที่สุดในรอบ 164 ปี นั่นคือมากกว่า 2,200 ม.ม.นับจากต้นปีถึงวันนี้ และยังคงมีฝนตกอย่างหนักใน 3 วันข้างหน้า​นี้​
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี ดอยสุ​เทพ​ จ.เชียงใหม่​ กรมอุตุฯ

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ 5 มิถุนายน​ 2565

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:40 เรดาร์​ตรวจฝน​จากสำนักการระบายน้ำ กทม ที่หนองจอก​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​กรุงเทพฯ​และ​ปริมณฑล​รวมทั้ง​บาง​จังหวัด​ใน​ภาค​กลาง​ตอน​ล่าง​และ​ภาค​ตะวันออก​ตลอด 45 นาที​ที่ผ่านมา
  • 17:45 เรดาร์​ฝน​ TMD ชัยนาท​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​​กลาง​ช่วง 1 ชั่วโมง​15 นาที​ที่ผ่านมา (เวลาใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 16:11 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.0 ลึก 10 กม. พิกัด 93.54°E 9.02°N หมู่เกาะ​นิโคบาร์​ มหาสมุทร​อินเดีย​
  • 14:00 เรดาร์​ฝน​ TMD ลำ​พูน​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​เหนือ​ ในช่วง 1 ชั่วโมง​ 15​ นาที​ ที่ผ่านมา (เวล​าใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 10:30 เกิดการปะทุเขม่าของภูเขาไฟบูลูซาน จังหวัดซอร์โซโกน เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์  ทางการประกาศเขตห้ามเข้าแล้ว เครดิต​ภาพ​:ทวิตเตอร์ ​@manaydo
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในกรุงเทพฯ​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมงจาก​ศูนย์​ป้องกัน​น้​ำ​ท่วม​ กทม​
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในประเทศ​ไทย​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้)​ จากกรมอุตุฯ
  • 06:50 ตารางแสดง 15 อันดับ​แรกข​องประเทศ​ที่มีผู​้เสียชีวิต​จากโรค​ COVID-19​ รายใหม่​ต่อ​วั​นสูงสุด​ใ​นโลกรอบ 24 ชม.ที่ผ่านมา​ (ข้อมูล​จาก​ worldometers.info)
  • 04:00 พายุ​โซน​ร้อน​ 01L​ เคลื่อนตัว​จากฝั่ง​รัฐ​ฟลอริดา​ลงสู่มหาสมุทร​แอตแลนติก​ที่พิกัด​ 27.8 N 79.8 W ด้วยความ​เร็ว​ลมใกล้ศูนย์ก​ลาง​พายุ 40 น็อต​ เส้นทางมุ่งตะวันออก​เฉียงเหนือ​
  • 00:30 เรดาร์​ฝน​ TMD ชัยนาท​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​​กลาง​ช่วง 1 ชั่วโมง​15 นาที​ที่ผ่านมา (เวลาใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • จำนวน​จุดมืด (จุดดับ)​ ในวัฏจักร​สุริยะ​ที่​ 25 เวลานี้ (แท่งสีเขียวจางๆ)​ มีจำนวนมากกว่า​ที่ทาง NASA​ คาดการณ์​ไว้​ถึง​ 2 เท่า นั่นหมายถึงดวงอาทิตย์​จะมีปฏิกิริยา​ต่างๆมากขึ้น
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี สถานี อ.สุขสำราญ​ จ.ระนอง กรมอุตุฯ

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 11 พฤศจิกายน​ 2564​

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:55 เรดาร์​ตรวจฝน​จากสำนักการระบายน้ำ กทม ที่หนองจอก​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​กรุงเทพฯ​และ​ปริมณฑล​รวมทั้ง​บาง​จังหวัด​ใน​ภาค​กลาง​ตอน​ล่าง​และ​ภาค​ตะวันออก​ตลอด 45 นาที​ที่ผ่านมา
  • 19:00 พายุ​ดีเปรสชัน​ 04B ในอ่าวเบงกอล​เคลื่อนตัว​ขึ้นฝั่ง​ประเทศ​อินเดีย​ที่​รัฐ​ทมิฬนาฑูด้วย​ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​พายุ​ 30 น็อต​ แนวโน้ม​เคลื่อนตัว​ต่อไป​ทางตะวันตก​และอ่อน​กำลัง​ลง​
  • 17:30 เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ภูเก็ต​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวลาใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 16:00 น้ำป่าจากคีรีวง-ลานสกา ไหลเข้าตัวเมืองนครศรีธรรมราช หลายชุมชนมีน้ำท่วมขัง ขณะที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาหลวง ประกาศปิดน้ำตก 6 แห่งชั่วคราว​
  • 15:15 เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ​สทิงพระ​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวล​าใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)​
  • 13:00 WMO​ ยกระดับ​หย่อมความ​กดอากาศต่ำ​ 91B ที่พิกัด​ 13.0 N 80.9 E ในอ่าวเบงกอลเป็นพายุดีเปรสชัน​ 04B ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​พายุ​ 35​ น็อต​ แนวโน้ม​เคลื่อนตัว​ขึ้นฝั่ง​รัฐทมิฬนาฑูของ​​อินเดีย​
  • 12:15 เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ​สทิงพระ​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวล​าใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)​
  • 08:00 น้ำจากแม่น้ำเพชรบุรี ล้นตลิ่งทะลักท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่อำเภอบ้านลาด เขตเทศบาลบ้านลาด บางจุดระดับน้ำสูงถึง 1.5 เมตร
  • 07:45 สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศ​ไทยวันนี้ พบผู้ป่วยใหม่ 7,496 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่เริ่มระบาด 1,996,969 ราย เสียชีวิต​ราย​ใหม่​ 57 ราย รวมเสียชีวิต​สะสมตั้งแต่เริ่มระบาด 19,883 ราย
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในประเทศ​ไทย​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้)​ จากกรมอุตุฯ
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในกรุงเทพฯ​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมงจาก​ศูนย์​ป้องกัน​น้​ำ​ท่วม​ กทม​
  • 06:51 ตารางแสดงจำนวน 20 อันดับแรกของประเทศที่มีผู้เสียชีวิต​จากโรค COVID-19​ รายใหม่ต่อวันสูงสุดในโลก (ช่องสีแดงขวาสุด)​ ช่วง 24 ชั่วโมง​ที่ผ่านมา​ (ข้อมูล​จาก​ worldometers.info)
  • 06:30 เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ภูเก็ต​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวลาใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 06:30 อุณหภูมิ​เวลานี้
  • 06:00 สถานการณ์​น้ำ​ใน​ลุ่ม​แม่น้ำ​ท่า​จีน​
  • 06:00 สถานการณ์​น้ำ​ใน​ลุ่ม​น้ำ​เพชรบุรี​
  • 01:00 อุตุฯอินเดียยกระดับ​หย่อมความ​กดอากาศต่ำ​ 91B​ ในอ่าวเบงกอล​ขึ้น​เป็น​พายุ​ดีเปรสชัน​ แนวโน้ม​เคลื่อนตัว​ขึ้นฝั่ง​บริเวณ​รัฐอานธรประเทศ -​ทมิฬนาดู หัวค่ำวันนี้โดยจะคงสภาพเป็นดีเปรสชัน​ไม่ทวีกำลัง​มากไปกว่านี้
  • กราฟแสดงยอดติดเชื้อรายวันและยอดเสียชีวิตรายวันของไทยสำหรับโรคโควิด-19 นับจากเริ่มระบาดจนถึงปัจจุบัน
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี ต.ดงบัง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ (BUEN ) ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ
  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี อ.สุขสำราญ จ.ระนอง (RNTT)​ ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 06:45 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติประจำพฤหัส 17 มกราคม 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:32 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 4.7 (mb) ลึก 10 กม.พิกัด 81.65°E 41.68°N มณฑลซินเจียง ประเทศจีน
  • 19:00 ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 ในกรุงเทพฯ มีค่า 50 µg/m³ ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI=137 เกินค่ามาตรฐาน อยู่ในโซนสีส้ม ส่งผลไม่ดีต่อผู้ป่วยทางเดินหายใจ เด็ก และคนชรา ส่งผลน้อยต่อบุคคลทั่วไป 
  • 18:00 มีข้อสังเกตว่า ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ จะลดลงในช่วงบ่ายของทุกวัน และเพิ่มสูงขึ้นในช่วงดึกหลังสี่ทุ่มไปจนถึงช่วง 9 โมงเช้า ลักษณะคล้ายกันนี้พบในหลายเมืองใหญ่ของประเทศจีน และในกรุงย่างกุ้งของพม่า นั่นคือปริมาณฝุ่นลดลงในช่วงบ่ายและเพิ่มสูงในเวลากลางคืน โดยเฉพาะช่วงใกล้สว่าง
  • 17:00 ค่าดัชนี​คุณภาพ​อากาศ​หรือ​ AQI​ ของ​กรุงเทพฯ​ อยู่ในโซนสีเหลืองตั่งแต่ 11:00 จนเวลานี้
  • 11:50 ทั่วโลกยังไม่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนทุกชนิด ในทุกมหาสมุทร 
  • 09:52 แผ่นดินไหวขนาด 5.6 ลึก 10 กม. พิกัด 94.18°E 7.54°N หมูเกาะนิโคบาร์ มหาสมุทรอินเดีย
  • 07:19 เกิดเหตุภูเขาไฟ “คุจิเอะราบุชิมะ”(口永良部島) ในบริเวณเกาะยาคุชิมะ จ.คาโกะชิมะ ตอนใต้ของญี่ปุ่น ปะทุเขม่าสูงกว่า 500 เมตร ยังไม่มีรายานความเสียหาย
  • 07:15 กทม 24°C เชียงราย 16°C เชียงใหม่ 18°C ลำปาง 18°C แม่ฮ่องสอน 15°C เลย 17°C หัวหิน 22°C โคราช 21°C น่าน 18°C ภูเก็ต 24°C กาญจน์ 24°C พิษณุโลก 23°C ระยอง 23°C นครพนม 18°C ร้อยเอ็ด 18°C มุกดาหาร 18°C หนองคาย 19°C อุดรฯ 17°C อุบลฯ 19°C สงขลา 27°C
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
  • 06;00 ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 ในกรุงเทพฯ เช้านี้ มีค่า 70 µg/m³ ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI=158 เกินค่ามาตรฐาน อยู่ในโซนแดง ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง และควรสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 เมื่อออกนอกเคหสถานเป็นเวลานาน
  • 04;39 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.0 ลึก​ 10 กม. พิกัด​ 96.37°E  24.85°N ประเทศ​พม่า
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้า บ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง (LAMP) ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี จ.สุราษฎ์ธานี (SURT) ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

วิเคราะห์การหยุดทำงานของทุ่นเตือนสึนามิอินเดียทั้ง 5 ตัว

หลังจากทางเว็บเฝ้าติดตามการทำงานของทุ่นสึนามิอินเดียที่ขาดการติดต่อไปตั้งแต่เช้าวันที่ 7 ตุลาคม จนบัดนี้ทุ่นทั้ง 5 ตัวคือหมายเลข 23219 ,23220 ,23226 , 23227, 23228 ก็ยังไม่กลับมาออนไลน์ โชคดีที่ทุ่นเตือนสึนามิไทยหมายเลข 23401 ที่เพิ่งนำไปติดตั้งเมื่อต้นปีสามารถออนไลน์กับดาวเทียมตามปกติ ทำให้การระวังสึนามิในมหาสมุทรอินเดียยังดำเนินการไปได้ด้วยดีindia-Buoys

เมื่อมาวิเคราะห์สาเหตุซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ว่าทุ่น 5 ตัวจะเสียพร้อมกัน หรือเสาอากาศหลุดพร้อมกัน (ทุ่นไทยตัวเก่าที่ตำแหน่ง 23401 นี้เคยเสาอากาศหลุดเมื่อปลายปี 2556 ตัวที่เห็นในปัจจุบันคือตัวใหม่ที่นำไปติดตั้ง) เมื่อไปดูดาวเทียมของประเทศอินเดียที่มีหน้าที่ทางด้านภูมิอากาศและเป็นตัวเชื่อมต่อทุ่นทั้ง 5 ปรากฏว่าสัญญาณของดาวเทียมดวงนี้ก็หยุดไปในเช้าวันเดียวกัน สังเกตจากภาพดาวเทียมไม่อัพเดทอีกเลยหลังวันเวลานั้น จึงอาจมองสาเหตุเบื้องต้นว่าน่าจะมามีปัญหามาจากตัวดาวเทียม ไม่ใช่จากตัวทุ่น india-sat-error

ทางเรากำลังค้นหาชื่อตัวดาวเทียมที่แน่นอนในกลุ่มของ Megha-Tropiques RISAT-1 และดวงอื่น

SONY DSC

ต่อมาในวันที่ 10 พฤศจิกายน ทุ่นสึนามิอินเดียทุกตัวยกเว้น 23226 กลับมาทำงานได้พร้อมๆกัน แต่ยังมีลักษณะของลูกคลื่นที่ไม่ปกติขาดๆหายๆ 

23219-2014111023220-2014111023227-20141110National Data Buoy Center

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 16 มกราคม 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 ทุ่นเตือนสึนามิ 23227 ของอินเดีย กลับมาทำงานเป็นปกติแล้วในวันนี้ 23227
  • 22:00 ตามคาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังปานกลาง 91W ที่ฟิลิปปินส์ ทวีกำลังขึ้นเป็น หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (ทางญี่ปุ่นให้เป็นดีเปรสชันไปก่อนแล้ว)
  • 17:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ที่ฟิลิปปินส์ซึ่งยังมีแนวโน้มจะกลายเป็นดีเปรสชันลูกแรกของปีนี้ 
  • 09:30 ฝนหนักน้ำท่วมฉับพลันในเกาะสุลาเวสีของอินโดฯ น้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงจนตลิ่งพัง ไหลบ่าเข้าท่วมเมือง ล่าสุดตาย 16  ไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 4 หมื่นราย
  • 09:00 JMA ระบุการก่อตัวของดีเปรสชันลูกใหม่ทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ 
  • 08:00 เช้านี้ที่กรุงเทพฯ อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคมนี้ BeESiJVCUAERy06
  • 07:44 ภูเขาไฟซินาบุง ยังโมโหโกรธา พ่นเขม่าออกมาไม่หยุดเวลานี้ 
  • 07:30 กทม 17°C หาดใหญ่ 24°C ภูเก็ต 24°C สมุย 26°C กระบี่ 22°C ปัตตานี 22°C นราฯ 25°C ชุมพร 19°C หัวหิน 19°C  เชียงใหม่ 15°C ตาก 14°C แพร่ 14°C หนองคาย 13°C พะเยา 13°C เชียงราย 13°C สุรินทร์ 13°C อุดร 11°C เลย 10°C
  • รายงานจาก NOAA “ค่าเฉลี่ย” ของอุณหภูมิในสหรัฐฯ ตลอด 118 ปีที่ผ่านมา สูงขึ้นเรื่อยๆ BeCYyy4CIAAya3Z
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • 12:18 แผ่นดินไหว ขนาด 4.0 ต.เขาพัง อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี (9.09,98.67) เครื่องวัดแผ่นดินไหวที่เขื่อนบางวาด จ.ภูเก็ต จับสัญญาณได้ดังภาพ 
  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

สรุปภัยพิบัติโลก และสัญญาณความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในปี 2013

***บทความยังไม่สมบูรณ์ กำลังอยู่ระหว่างแก้ไข

จบจากปีแห่งข่าวลือโลกแตก 2012 โดยแทบไม่มีเหตุร้ายใหญ่โตใดๆ เข้าสู่คริสตศักราช 2013 ซึ่งกลับกลายเป็นปีที่โลกต้องจดจำในสถิติภัยพิบัติต่างๆแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบหลายๆปี ทั้งพายุไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ขณะขึ้นฝั่ง ทั้งแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในจุดที่ห่างจากรอยเลื่อนขอบทวีบ ทั้งอุกกาบาตที่เกือบทำให้เมืองใหญ่ของรัสเซีย ราบเป็นหน้ากลอง โดยหมดทางป้องกัน

ความเปลี่ยนแปลงทีละน้อยของสภาพภูมิอากาศโลกเริ่มส่งผลให้เห็น แม้ไม่ใช่สาเหตุของภัยพิบัติหลักๆทั้งหมด ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะสะสมตัวแล้วก่อผลให้แก่ภัยพิบัติในระยะยาว โดยเฉพาะภัยพิบัติในด้านภูมิอากาศเช่น พายุ คลื่นความร้อน ภัยแล้ง หรือแม้แต่ภัยหนาว ให้รุนแรงขึ้น โดย ปีนี้ ประเทศไทยกลายเป็น “ทางผ่านพายุ” ถึง 4 ลูก ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน คือ

  1. ไซโคลนไพลิน (มาจาก LPA90W ก่อตัวในอ่าวไทย)
  2. BOB05 (มาจากวิลมา หรือ TD30W ที่ถล่มภาคใต้ 8 พ.ย.ก่อตัวจากฟิลิปปินส์พร้อมไห่เยี่ยน)
  3. พายุโซนร้อนเลฮาร์ (มาจาก LPA92W ก่อตัวในอ่าวไทย ถล่มภาคใต้ 21 พ.ย)
  4. พายุไซโคลนเฮเลน (จากพอดึล TD32W ก่อตัวจากฟิลิปปินส์)

ซึ่งการเป็นเช่นนี้ได้  นั่นหมายถึงความเปลี่ยนแปลงหลายประการ ทั้งอุณหภมิน้ำที่สูงขึ้นในโซนอ่าวไทย รวมทั้งร่องลม ITCZ ที่มีกำลังแรง

ปีนี้ยังมีการก่อตัวของพายุในโซนกลางแปซิฟิค มากถึง 3 ลูก (พายุโซน C) ซึ่งก็ไม่เคยมีมาในปีอื่นๆ ทั้งหมดนี้ ยังไม่เท่ากับอุณหภูมิน้ำอุ่นที่สูงถึง 31 องศาสะสมตัวปลายเดือนตุลาคม สุดท้ายก็ก่อมหาพายุไห่เยี่ยน ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมขณะขึ้นฝั่งสูงสุดในประวัติศาสตร์ เท่าที่มีการบันทึกตัวเลขมา มหาพายุนี้ได้เข้าถล่มฟิลิปปินส์ในวันที่ 8 พ.ย. สร้างความย่อยยับเหลือคณานับ

ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เกิดขึ้นจากอะไร หากลงไปดูโดยข้อมูลทางลึกแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า กระแสน้ำเทอร์โมฮาลีน ซึ่งทำหน้าที่เฉลี่ยอุภหูมิของน้ำและอากาศทั่วโลก กำลังมีอาการสะดุดหรือไหลช้าลง ทำให้การเฉลี่ยความร้อนของน้ำทะเลไม่ทั่วถึง เกิดอาการแปรปรวนท ตรงที่ร้อนก็ร้อนจัด ตรงที่เย็นที่เย็นจัด ทน้ำที่ร้อยนผิดปกติ ทำให้มีการก่อตัวของพายุที่รุนแรงระดับซุปเปอร์ถึง 3 ลูกคือซุปเปอร์ไซโคลนไพลิน ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นอุซางิ และซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน

ปี 2013 ยังเป็นปีที่มีพายุ “เข้าไทย” ถึง4 ลูก คึอ

  1. TD 18W
  2. พายุโซนร้อนหวู่ติ๊บ
  3. พายุดีเปรสชันวิลมา** TD30W
  4. พายุดีเปรสชันพอดึล TD32W (กรมอุตุเรียกโพดอล)

ยังมีน้ำท่วมใหญ่ยุโรป ชนิดที่ประเทศที่พัฒนาถึงขีดสุดอย่างเยอรมันไม่อาจแก้ไขได้ ท่วมทั้งออสเตรีย เช็ค และอีกหลายประเทศ เกิดฝนตกเกือบพัน มม. ในไม่กี่ชม จนน้ำท่วมบนเขาสูง เกิดคลื่นสึนามิภูเขาในอินเดีย และเหตุการณ์แบบนี้ก็ไปเกิดที่เสฉวน เกิดแล้งจัดในไทย เกิดทอร์นาโดขนาด EF-5 ในโอกลาโอมา เกิดทอร์นาโดในญี่ปุ่น เกิดหิมะตกเดือนพฤษภาคมในฮอกไกโด หิมะตกเดือนธันวาในที่ๆไม่ควรมีหิมะ คือประเทศอียิปต์

ซึ่งหากสายพานลำเลี่ยงน้ำเทอร์โมฮาลีนสะดุดลงจริงๆ สภาวะวิกฤตของภูมิอากาศโลกจะมาถึง พายุขนาดรุนแรงจะเกิดบ่อยขึ้น ฝนหนักหลายร้อย มม. แบบอินเดียปีนี้ สุดท้าย มีการประมาณว่าจะพาให้โลกเกิดการก้าวเข้าสู่ LIA หรือยุคน้ำแข็งย่อย ก็อาจเป็นไปได้

ทางด้านภัยพิบัติที่ไม่เกี่ยวกับภูมิอากาศโลก ในปี 2013 ก็ยังมีอีก โดยเฉพาะในวันที่ 15 ก.พ. นั่นคือ อุกาบาต ชิลยาบินส์

ภัยนี้ไม่มีทางป้องกัน ทั้งที่เราทุกคนทั่วโลก ต่างเทความมั่นใจให้หน่วยงานที่น่าเชื่อถือที่มีหน้าที่โดยตรงกับการเฝ้าดูภัยพิบัติชนิดนี้ คือหน่วยงานอวกาศของยุโรป สหรัฐฯ หรือรัสเซีย

อุกาบาต ชิลยาบินส์ มาจากดาวเคราะห์น้อยไร้ชื่อ (เพราะตรวจไม่พบ) ขนาดราว 17-20 เมตรหนัก 7,000 ตัน เข้าสู่บรรยากาศโลกที่ความเร็ว 66,960 กม/ชม ลุกไหม้จนขนาดเล็กลงหลายเท่าและระเบิดตัวเองที่ความสูง 23.3 กม เหนือเขตชิลยาบินส์ แคว้นอูราล ซึ่งได้รับการชี้แจง (แก้ตัว) ว่าเป็นเพราะดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ มีขนาดเล็กกว่า 20 เมตร และมืดเกินกว่าจะตรวจพบล่วงหน้า (แปลกที่ ดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่สุดคือ  2008 TS26  มีขนาดเพียง 1 เมตร และมีความสว่างปรากฏเพียงแมกนิจูด 32 กลับมีการตรวจพบและบันทึกชื่อไว้) แรงอัดอากาศ (ช็อคเวฟ) จากการระเบิด แม้ในอากาศระดับสูง ก่อความเสียหายต่ออาคารและผู้คนนับพันตามรายงานจากสื่อต่างๆ

แรงระเบิดจากอุกกาบาตนี้ คำนวนได้เทียบเท่าระเบิด TNT หนัก 440 กิโลตัน คำถามคือหากอุกกาบาตนี้ไม่ระเบิดตัวเองในบรรยากาศระดับสูงเสียก่อน แต่กลับตกลงถึงพื้น พลังจากอำนาจระเบิดที่รุนแรงกว่าถึง 35 เท่าเมื่อเทียบกับระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมา (TNT 12.5 กิโลตัน)  จะสร้างความเสียหายให้มวลมนุษย์ชาติมากมายขนาดไหน

อีกภัยใหญ่ของปี คือแผ่นดินไหวนอกรอยเลื่อนขนาดใหญ่ถึง 7.1 ที่เกาะโบฮอล ประเทศฟิลิปปินส์ ความลึก 20 กม. แผ่นดินไหวนี้สร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้เกาะโบฮอลและเกาะโดยรอบอย่างมากมาย มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก โครงสร้างพิ้นฐานเสียหายหมดสิ้น

ภัยแผ่นดินไหวหรืออุกกาบาตนั้น คงไม่อาจไปจัดการอะไรได้ แต่ภัยที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาพโลกร้อน ซึ่งหมายถึงการต้องเร่งกวดขันพฤติกรรมของมนุษย์อย่างเราท่าน ให้เอาใจใส่สภาพรอบตัวมากกว่านี ก่อนจะสายเกินไป

** วิลมา และโซไรดา เป็นชือพายุของ PAGASA หรืออุตุฟิลปปินส์
** กรมอุตุไทยไม่หาทางเรียกชื่อพายุหากพายุไม่มีความเร็วตาม WMO กำหนด แต่จะตามแบบอุตุญี่ปุ่นก็ไม่ตามทั้งหมด (ญี่ปุ่นเรียกด้วยตัวเลขเช่น 1301) อุตุไทยจึงสร้างความสับสนเวลาระบุพายุ คือเรียกว่า “พายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้” ซ้ำๆตลอดมา หากเกิด 2 ลูกพร้อมกันก็ไม่ทราบจะแยกยังไง
**JTWC ยกเลิกการเฝ้าระวังสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย 31 มี.ค.
**ทุ่นสึนามิไทย 23401 เกิดเสาอากาศหลุดจากชุด BPR ในวันที่ 21 ส.ค. จวบจนสิ้นปีก็ยังไม่ได้รับการซ่อมแซม

 

มหาพายุไห่เยี่ยน

**แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อมีการสอบเทียบกับสำนักอุตุฯหลายแห่งใหม่หลังผ่านไประยะเวลาหนึ่ง ค่าความเร็วลมสูงสุดของพายุไห่เยี่ยนคลาดเคลื่อนไป ค่าที่แท้จริงคือความเร็วลมที่ 315 กม./ชม ความกดอากาศ 895 hPa ข้อมูลในบทความนี้ให้แก้ไขตามนี้

มหาพายุไห่เยี่ยน – ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น”ชนิดขึ้นฝั่ง” ที่มีพลังสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ตั้งแต่มีการตั้งชื่อและติดตามพายุเป็นรูปแบบ

ปีพายุ 2013[1] คือปีที่โลกต้องจดจำ หลังจากที่มีการประกาศไปก่อนแล้วว่าซุปเปอร์ไต้ฝุ่น[2]อุซางิ ที่เข้าฮ่องกงช่วงวันที่ 20 กันยายน ถือเป็นมหาพายุที่มีพลังสูงสุดในโลกประจำปีนี้ แล้วจู่ๆ ก็มีพายุทรงพลังแบบที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อนได้ปรากฏขึ้นมา เบียดซุปเปอร์ไต้ฝุ่นอุซางิชิดซ้าย และทำลายสถิติมหาพายุลูกที่ขึ้นหิ้งอันดับหนึ่งมาตั้งแต่ปี 1969 คือซุปเปอร์เฮอริเคนคาไมล์ แม้แต่เนชันแนลจีโอกราฟฟิคถึงกับประมาณพลังของซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน[3] หรือ โยลันดา[4] ว่ามีพลังเท่ากับเฮอริเคนแซนดี้บวกกับเฮอริเคนแคทรีนาเลยทีเดียว

ยอดผู้เสียชีวิตจากมหาพายุไห่เยี่ยนล่าสุดอยู่ที่ 6,340 ราย สูญหาย 1,061  ราย (ยอดยืนยัน) ทรัพย์สินเสียหาย 2,860 ล้านเหรียญ

การก่อตัว

พายุหมุนเขตร้อน ก่อตัวจากความอุ่นของน้ำทะเล (SST) ระยะความลึก 50 เมตร ที่ร้อนเกินกว่า 28°C ในภาพคืออุณหภูมิน้ำทะเลในเดือนตุลาคม จะเห็นอุณภูมิน้ำทะเลอยู่ในแถบสีม่วงคือช่วง 30°C

ผลจากน้ำอุ่นเกินขนาดที่ไหลสะสมในทะเลฟิลิปปินส์ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2013 เวลา 13:00 ทาง JTWC ได้รายงานว่าพบหย่อมความกดอากาศต่ำ 2 หย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันในทะเลฟิลิปปินส์ คือ หย่อมความกดอากาศต่ำ  98W และหย่อมความกดอากาศต่ำ  99W หย่อมความกดอากาศต่ำทั้ง 2 นี้พัฒนาตัวอย่างรวดเร็ว (ทาง PAGASA นับลำดับของหย่อมความกดอากาศต่ำทั้ง 2 หย่อม โดยลำดับของตัวเองเป็น WP91 และ WP92) เวลา 18:00 ของวันที่ 3 พ.ย. หย่อมความกดอากาศต่ำทั้ง 2 หย่อมทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน ซึ่งได้รับหมายเลขลำดับว่า 30W และ 31W ทางอุตุนิยมฯฟิลิปปินส์หรือ PAGASA ให้ชื่อเรียกพายุดีเปรสชัน TD 30W ว่า  วิลมา ซึ่งต่อมาได้เคลื่อนเข้าอ่าวไทย ถล่มระยอง เลยเข้าประจวบ เพชรบุรี เกิดน้ำป่า ต้นไม้ล้ม จากนั้นก็ข้ามฝั่งลงอันดามัน ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนขึ้นฝั่งประเทศอินเดีย (สื่อไทยที่ชอบมั่ว ไปเรียกวิลมาว่าเป็นไห่เยี่ยน)

แต่พายุดีเปรสชัน TD 31W ต่างหาก ที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ ดีเปรสชันนี้ ทาง PAGASA ให้ชื่อเรียกว่าโยลันดา หรือที่เราทั้งหลายเรียกว่า ไห่เยี่ยน

วันที่ 4 พ.ย. เวลา 13:00 ทาง JTWC ยกระดับโยลันดาหรือไห่เยี่ยน ให้เป็นพายุโซนร้อน TS 31W ขณะที่วิลมา TD 30W ยังคงเป็นพายุดีเปรสชันตามเดิม

ในวันนี้วิลมาซึ่งเคลื่อนที่เร็วได้ขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ไปก่อน ซึ่งเป็นเรื่องเล็กๆของคนที่นั่นกับพายุระดับดีเปรสชัน แต่สิ่งที่น่ากลัวรออยู่ นั่นคือโยลันดาหรือไห่เยี่ยน  ซึ่งเคลื่อนที่ช้ามาก เหมือนสะสมพลังงานความร้อนจากทะเล ที่จะทวีกำลังตัวเอง และสุดท้าย..มันก็ทำสำเร็จ

วันที่ 5 พ.ย. เวลา 13:00 พายุโซนร้อนไห่เยี่ยน ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น ทางสถาบัน TSR ที่ลอนดอน ประเมินไห่เยี่ยนว่าจะมีพลังแค่ไต้ฝุ่นระดับ 3 แต่ยังไม่ทราบเส้นทางหลังลงทะเลจีนไต้ และได้ออกคำเตือนไปยังเกาะต่างๆในแถบไมโครนีเซีย รวมถึง แย็ปและปาเลา ในทางผ่านพายุ วันที่ 6 พ.ย เวลา 00:13 ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ทวีกำลังกลายสภาพเป็นไต้ฝุ่นระดับ 2 และยังคงทวีกำลังอย่างรวดเร็ว ช่วงเช้าทวีกำลังขึ้นเป็นระดับ 3   และช่วงหัวค่ำ ก่อน 20:00 พายุไห่เยี่ยนก็กลายเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 เคลื่อนเข้าถล่มเกาะปาเลา ในภาพอินฟราเรดด้านล่างจะเห็นตาพายุชัดเจนแม้ในยามกลางคืน

เช้าวันที่ 7 พ.ย. ไห่เยี่ยนกลายเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นสมบูรณ์แบบ นั่นคือไต้ฝุ่นพลังระดับ 5 ความเร็วลมรอบศูนย์กลางพายุ 260 กม/ชม ทิศทางยังคงมุ่งเข้าหาฟิลิปปินส์

ถึงตอนนี้รัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศอพยพคนจำนวนหลายแสน และข้อผิดพลาดก็เกิด มีคนฟิลิปปินส์จำนวนมาก ไม่ยอมอพยพ ในความเข้าใจของพวกเขา ไห่เยี่ยนก็ไม่ต่างจากไต้ฝุ่นลูกอื่นๆที่โดนมาตลอดตั้งแต่เล็กจนโต เป็นลมแรงที่พาพัดบ้านพัง พวกเขารับมือพายุโดยการปิดบ้านให้สนิท ไม่ให้ลมเข้าได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ได้หากพายุลูกนั้นเป็นพายุธรรมดาและบ้านอยู่ห่างทะเล

และนรกก็มาเยือน

เช้าวันที่ 8 พ.ย. พายุไห่เยี่ยนขึ้นฝั่ง  (กดดูภาพเคลื่อนไหว) ในความเร็วลมกระโชกสูงสุดถึง 314 กม/ชม ความกดอากาศที่ศูนย์กลางต่ำกว่า  858 hPa ทำลายสถิติพายุหมุนเขตร้อนชนิดขึ้นฝั่งทุกลูกเท่าที่มีการบันทึกตัวเลขมา (แรงถึง 8.1 เกินขนาด 8.0 ที่เป็นมาตรวัดสูงสุดของเทคนิคดโวแร็ค Dvorak)

ตาพายุเคลื่อนผ่านดูลัก Dulag แต่แนวลมที่รุนแรงกลับพาดผ่านตานาอวน ในภาพด้านล่างพายุเคลื่อนจากตะวันออกไปตะวันตก และจะเห็นเมืองตาโคลบันด้านบน กระแสลมที่หมุนทวนเข็มนาฬิกาในวงสีม่วงได้นำคลื่นทะเลสตอร์มเสิร์จที่รุนแรงไม่ต่างจากคลื่นสึนามิ เข้าถล่มตาโคลบันจนแหลกยับ

นี่คือคลื่นสตอร์มเสิร์จ ตัวจริงที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในภัยพิบัติครั้งนี้  [wpvp_embed type=youtube video_code=bHGhkcSbonY width=560 height=315] (ภาพบันทึกจากซามาตะวันออก ซึ่งคลื่นยังไม่แรงและสูงเท่าที่ตาโคลบัน)

 คลื่นสูงเกิน 5 เมตร เคลื่อนที่ด้วยความเร็วมหาศาล ตามภาพคือระดับน้ำวันที่ 6-9 พ.ย.

พื้นที่ๆเกิดความเสียหาย ตามแนวเส้นทางพายุ 

ภาพไห่เยี่ยนพร้อมตาพายุขณะจะขึ้นฝั่ง มองจากอวกาศ โดยดาวเทียม MTSAT-1RBYhrQN6CUAASSXw

หลังออกจากฟิลิปปนส์ ไห่เยี่ยนก็ไปขึ้นฝั่งเวียดนามแล้วไปสลายตัวในประเทศจีนวันที่ 11 พ.ย. ตามเส้นทางพายุนี้ (ตัวย่อดูตามหมายเหตุด้านล่าง)

วิดีโอด้านล่างนี้สรุปให้เห็นความเร็วลม พลังทำลาย และความเสียหายในวันแรก (8 พ.ย.) เฉพาะในตาโกลบัน รวบรวมโดย Josh Morgerman จาก iCycone.com  [wpvp_embed type=youtube video_code=4wrgrJwYdy8 width=560 height=315]

ข้อสรุปที่น่าห่วงในอนาคต คืออุณภูมิน้ำทะลที่สูงขึ้น ทำให้พายุรุนแรงขึ้น ตามกราฟจะเห็นความร้อนของน้ำทะเลเทียบกันหลายๆปี และนี่อาจเป็นข้อสรุปถึงหายนะจากธรรมชาติที่่ต้องมาศึกษากันต่อไปว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำจของมนุษย์หรือไม่

หมายเหตุ

  1. ฤดูพายุไต้ฝุ่น ปกติเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมไปสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายนของทุกปีในปีปกติ ภายหลังสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลงไปอาจมีพายุบางลูกเกิดก่อนและก่อตัวหลังจากเดือนที่กล่าวมาแล้วได้
  2. ลำดับของพายุเกิดขึ้นและนับตามความเร็วลม โดยก่อตัวตั้งแต่เบาสุด คือหย่อมความกดอากาศต่ำ แรงขึ้นมาเป็นพายุดีเปรสชัน แรงขึ้นมาอีกเป็นพายุโซนร้อน แรงขึ้นมาอีกก็จะกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น ซึ่งแยกชื่อเรียกไปตามที่เกิด เช่น เกิดแถวอเมริกาจะเรียกว่าเฮอริเคน เกิดในมหาสมุทรอินเดียเรียกไซโคลน เป็นต้น ในขั้นของไต้ฝุ่นนี้ จะแยกออกเป็นหลายระดับแล้วแต่มาตราของสำนักอุตุที่ติดตามพายุจะเลือกใช้ เช่นมาตราซัฟเฟอร์-ซิมปสันนั้นจะแยกไต้ฝุ่นเป็น 5 ระดับ เมื่อทวีกำลังแรงขึ้นไปจนสุด คราวนี้ก็จะกลายเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่น ซุปเปอร์ไซโคลน ซุปเปอร์เฮอริเคน ซึ่งถือเป็นขั้นสูงสุดของมาตราพายุทุกมาตรา
  3. ชื่อพายุไห่เยี่ยน แปลว่านกนางแอ่น ใช้ชื่อตามตารางชื่อพายุของ WMO
  4. ทางฟิลิปปินส์จะใช้ตารางชื่อพายุของตัวเอง ไล่จาก A-Z โดยไม่มีตัว X นั่นคือมี 25 ชื่อต่อปี และเผื่อไว้อีก 10 ชื่อกรณีปีนั้นมีพายุมากเกินไป
  5. หมายเลขหย่อมความกดอากาศต่ำแบบของ WMO จะขึ้นต้นด้วย 9 เสมอ เลขจะวนใช้ไปตั้งแต่ 90-99 แล้วเริ่ม 90 ใหม่ ตามด้วยตัวอักษรบอกโซนตามคำอธิบายข้อ 6
  6. ลำดับหมายเลขประจำตัวพายุ แบบของ WMO จะเริ่มนับ 01 ใหม่ทุกปีพายุ ตัวอักษรหมายถึงโซนที่เกิดพายุซึ่งมี 8 โซน คือ
    A – ทะเลอาราเบียน
    B – อ่าวเบงกอล
    C – โซนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิค
    E – โซนตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิค
    L – มหาสมุทรแอตแลนติก
    P – ทางใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิค (135E – 120W)
    S – มหาสมุทรอินเดียใต้เส้นศูนย์สูตร (20E – 135E)
    W – โซนตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิค
  7. ตัวย่อชนิดพายุในภาพดาวเทียม
    LPA คือหย่อมความกดอากาศต่ำ
    TD คือ ดีเปรสชัน
    TS คือ พายุโซนร้อน
    TY คือ พายุไต้ฝุ่น
    STY คือ ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 24 กันยายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:00 ยอดตายล่าสุดแผ่นดินไหวปากีสถาน 32 50 100+ ราย บาดเจ็บ 54 100  200+ ราย ตึกพังจำนวนมาก (ติดตามยอดตายเพิ่มเติมในวันพรุ่งนี้)Screen-Shot-2013-09-24-at-16.06.15
  • 19:38 HKO ระบุการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ 93W ในทะเลจีนใต้แล้ว 
  • 18:40 ทุ่นสึนามิ 23228 ในทะเลอาราเบียน แสดงความผิดปกติของระดับน้ำ 20 ซม23228
  • 18:29 แผ่นดินไหวขนาด 7.9 7.8 7.7 บริเวณเมืองอาราวัน,เตอร์บัต จังหวัดบาโลชิสถาน ประเทศปากีสถาน ที่ความลึก 20 15 กม. แรงไหว 30%g  54%gpga-usb000jyiv
  • 11:01 พบการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ 93W ในทะเลจีนใต้ แนวโน้มคงที่ 
  • 11:00 กรมอุตุฯออกประกาศเตือนฝนหนักฉบับที่ 1 กดอ่าน
  • 10:00 ECMWF  ออกโมเดลล่าสุด เปลี่ยนผลประเมินวันที่ 29 ก.ย.ต่างจากผลประเมินเมื่อวานนี้  โดยลดความรุนแรงของกลุ่มฝนที่คาดว่าเป็นดีเปรสชันลง เหลือเพียงแค่หย่อมความกดอากาศต่ำWind3285032and32mslp_Asia_120
  • 08:03 เขื่อนเจ้าพระยายังคงระบายน้ำด้วยอัตราค่อนข่้างมาก ใกล้ 2000 ลบม/ วินาที ในเวลานี้ 
  • 07:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ แสดงให้เห็นหย่อมความกดอากาศสูง (H) ขนาด 1034  hPa จากจีนแผ่ลงมาทางเหนือ ซึ่งปีนี้ถือว่ามาเร็วกว่าปกติ2013-09-24_TopChart_07
  • 00:00 พายุไต้ฝุ่นปาบึก (ปลาบึก) ยังมุ่งขึ้นไปทางญี่ปุ่น จากนั้นจะเลี้ยวขวาออกทะเลลึกโดยไม่ขึ้นฝั่ง 
  • ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี  เปรียบเทียบ 3 ปี เส้นกราฟปีนี้ (สีแดง) พุ่งสูงขึ้นกว่าปี 55 (สีน้ำเงิน) ในช่วงที่ดีเปรสชัน 18W เข้า โดยเขื่อนไม่ได้เพิ่มการระบายน้ำแต่อย่างใด อัตราการระบายขณะนี้ไม่เกิน 0.7 ล้าน ลบม อาจเพื่อสะสมน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
  • ปริมาณน้ำในเขื่อนศิริธร ตำบลช่องเม๊ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เปรียบเทียบ 3 ปี เส้นกราฟปีนี้ (สีแดง) พุ่งสูงขึ้นกว่าปี 54 (สีเขียว) ในช่วงที่ดีเปรสชัน 18W เข้า โดยมีระดับน้ำสูงสุดในวันที่ 21 ก.ย. ที่ 1873 ล้าน ลบม จากนั้นก็ลดลงทันทีจากการระบายน้ำ เมื่อวัดในวันที่ 23 เหลือปริมาณน้ำ 1801 ล้าน ลบม
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก GFZ (วัดได้ต่ำกว่า 4.5 ในโซนยุโรป)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 6 กรกฎาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:45 ฝนตก เขตจตุจักร
  • 23:30 พายุโซนร้อนอีริค ทวีความเร็วลมขึ้นเป็นพายุเฮอริเคน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 70 น็อต ทิศทางวิ่งเลียบฝั่งตะวันตกของเม็กซิโก 
  • 22:00 มีการประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศปารากวัย อเมริกาใต้ จากฝนหนักน้ำท่วมฉับพลัน ล่าสุดอพยพประชาชนมากถึง 15,000 รายแล้ว
  • 21:53 สนามแม่เหล็กโลกเบี่ยงไปทางใต้มากผิดปกติถึง -6.1 nT ลักษณะแบบนี้ทำให้ระดับของเกราะแม่เหล็กอ่อนแรงลงมาก อนุภาคจากดวงอาทิตย์จะรั่วไหลเข้ามาได้ บริเวณซีกโลกเหนือมีโอกาสเกิดแสงออโรราสูง (ไม่เกี่ยวกับไทยอยู่ดี อย่าตื่นเต้น)sw_dials-2130706-2153
  • 19:44 ภาพสดจาก CCTV สภาพภูเขาไฟ Popocatépetl ของประเทศเม็กซิโก ตั้งแต่ 19:30 ถึง 19:44 เวลาไทย [wpvp_embed type=youtube video_code=KJ3eAxXraKQ width=560 height=315]
  • 18:00 ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ปฏิกิริยาของดวงอาทิตย์เริ่มไต่ระดับกลับสู่เส้นกราฟที่คาดการณ์ไว้ หลังจากตกลงไปต่ำผิดปกติอยู่ช่วงหนึ่งหลังเข้าสู่ปี 2013 ซึ่งควรเป็นปีที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาสุดบนสุดของวัฎจักรสุริยะที่ 24 นี้ 
  • 14:00 ฝนหนัก เกิดโคลนถล่มในทิเบต ยังไม่ทราบยอดผู้เสียชีวิต
  • 12.05 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 บริเวณ Kepulauan Mentawai ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 23.50 กม. (100.48°E  3.30°S)gfz2013ncfqScreen-Shot-2013-07-06-at-08.45.49
  • 11:00 นอกชายฝั่งเม็กซิโก พายุดีเปรสชันดาลีลา กำลังจะสลายตัว  ขณะที่พายุโซนร้อนอีริค กำลังทวีความเร็วลมขึ้นเป็นเฮอริเคน 
  • 10:30 ฝนตกหลายเขตใน กทม ตะวันออก
  • 09:00 เมฆอัลโตสเตรตัสเริ่มหายไป
  • 07:00 กทม มีเมฆอัลโตสเตรตัสปกคลุม แสงแดดส่องไม่ถึงพื้น
  • 04:50 ภาพถ่ายจากดาวเทียม MTSAT พบหย่อมความกดอากาศต่ำหย่อมใหม่ 92W ก่อตัวกลางมหาสมุทรแปซิฟิค ที่พิกัด 20°N 158.8°E
  • ภูเขาไฟ Popocatépetl ของประเทศเม็กซิโก ปะทุรุนแรง พ่นเถ้าถ่านไปทั่วเมือง ยกเลิกเที่ยวบินหลายเที่ยว  [wpvp_embed type=youtube video_code=AUiW5367Pt0 width=560 height=315]
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้  ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

  • เมื่อ 23.44 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.0 บริเวณ Mona Passage เปอร์โตริโก ที่ความลึก 10.00 กม.
  • เมื่อ 21.24 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ เปอร์โตริโก ที่ความลึก 55.00 กม.
  • เมื่อ 18.36 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.2 บริเวณ Kepulauan Barat Daya ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 502.20 กม.
  • เมื่อ 17.24 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.2 บริเวณ แถบเทือกเขาฮินดู คุช ประเทศอัฟกานิสถาน ที่ความลึก 105.30 กม.
  • เมื่อ 15.28 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.7 บริเวณ นอกชายฝั่ง ทางเหนือของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 20.40 กม.
  • เมื่อ 14.05 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.2 บริเวณ Jujuy ประเทศอาเจนตินา ที่ความลึก 201.10 กม.
  • เมื่อ 13.53 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ หมู่เกาะคุริว ที่ความลึก 142.20 กม.
  • เมื่อ 12.52 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.4 บริเวณ นอกชายฝั่ง ทางเหนือของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 8.50 กม.
  • เมื่อ 12.08 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.3 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 105.10 กม.
  • เมื่อ 11.42 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ New Britain ประเทศปาปัวนิวกินี ที่ความลึก 53.20 กม.
  • เมื่อ 11.32 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.1 บริเวณ หมู่เกาะเวอร์จิน ที่ความลึก 17.00 กม.
  • เมื่อ 11.18 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ ตอนกลางของ อลาสกา ที่ความลึก 0.00 กม.
  • เมื่อ 10.53 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 บริเวณ หมู่เกาะเวอร์จิน ที่ความลึก 140.00 กม.
  • เมื่อ 10.14 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.6 บริเวณ ตอนกลางของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 3.80 กม.
  • เมื่อ 09.34 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.7 บริเวณ เปอร์โตริโก ที่ความลึก 17.00 กม.
  • เมื่อ 09.22 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ นอกชายฝั่ง ตอนกลางของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 4.40 กม.
  • เมื่อ 09.02 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ ตอนกลางของ ประเทศเปรู ที่ความลึก 10.10 กม.
  • เมื่อ 08.31 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.1 บริเวณ Tajikistan ที่ความลึก 45.70 กม.
  • เมื่อ 06.18 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ Admiralty Islands ประเทศปาปัวนิวกินี ที่ความลึก 40.10 กม.
  • เมื่อ 05.00 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ ใกล้ชายฝั่งตะวันออกของ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 40.00 กม.
  • เมื่อ 03.31 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.7 บริเวณ สาธารนรัฐโดมินิกัน ที่ความลึก 58.00 กม.
  • เมื่อ 01.47 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ เกาะฮาวาย รัฐฮาวาย ที่ความลึก 19.70 กม.
  • เมื่อ 00.23 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 บริเวณ กลุ่มเกาะแอนเดรียน หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 25.20 กม.