รายงานภัยพิบัติประจำอาทิตย์ 23 ธันวาคม 2561

เหตุการณ์วันนี้

  • ผลสรุปการวิเคราะห์ พบว่า สึนามิที่อินโดฯครั้งนี้ เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า Flank collapse  หรือการพังถล่มของมวลหินด้านข้างภูขาไฟ โดยเปรียบเทียบภาพดาวเทียมของวันที่ 19 ธ.ค. กับ วันที่ 22 ธ.ค. จะพบส่วนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของภูเขาไฟอานัก กรากะตัว หายไป นั่นคือการถล่มลงทะเลช่วงเวลาประมาณ 21.00 เมื่อคืนนี้ตามเวลาท้องถิ่น (ภาพจาก volcanodiscovery.com และ thinglink.com) ก่อให้เกิดดินถล่มใต้ทะเล การแทนที่มวลน้ำ และเกิดคลื่นสึนามิตามมา อ่านบทวิเคราะห์ สำหรับยอดผู้เสียชีวิตสุดท้ายอยู่ที่ 437 ราย บาดเจ็บนับหมื่น อ้างอิง
  • 21:03 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.0 ลึก​ 109 กม. พิกัด​ 99.66°E  0.56°S นอก​ชายฝั่ง​ทาง​ตะวันตก​ของ​เกาะ​สุมาตรา
  • 19:00 ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุสึนามิในอินโดนีเซียล่าสุด 222 ราย บาดเจ็บ 843 ราย สูญหาย 28 ราย บ้านเรือน ปชช เสียหาย 556 หลัง โรงแรมเสียหาย 9 แห่ง เรือเสียหาย 350 ลำ ข่าวเดอะการ์เดี้ยน
  • 12:00 พายุไซโคลน Cilida ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย ที่เคยทวีกำลังถึงระดับ เวลานี้อ่อนกำลังเป็นพายุไซโคลนระดับ 3  แนวโน้มอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ ทิศทางมุ่งตะวันออกเฉียงใต้ ยังไม่มีแนวโน้มขึ้นฝั่ง ขณะที่พายุไซโคลน Kenanga อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน  ทิศทางมุ่งตะวันตกเฉียงใต้ ใกล้สลายตัว ยังไม่มีแนวโน้มขึ้นฝั่งเช่นเดียวกัน
  • 10:00 ดัชนี​คุณ​ภาพอากาศ​ของกรุงเทพฯ​ (AQI)​ อยู่ที่ 129 อยู่ในเกณฑ์สีส้ม คนป่วย เด็ก คนชรา ยังไม่ควรออกกลางแจ้ง
  • 07:00  ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 43 ราย มีผู้บาดเจ็บ 584 คน และผู้สูญหาย 2 ราย อาคารที่เสียหาย 430 แห่ง โรงแรม 9 แห่ง เรือ 10 ลำ จากคลื่นสึนามิในช่องแคบซุนดรา นักวิชาการเชื่อว่าต้นเหตุมาจากดินถล่มใต้ทะเลโดยมีผลสืบเนื่องมาจากการระเบิดย่อยๆของภูเขาไฟกรากะตัว ข่าว 9News
  • 07:00 ดัชนี​คุณ​ภาพอากาศ​ของกรุงเทพฯ​ (AQI)​ อยู่ที่ 151 ปริมาณ​ฝุ่นขนาด 2.5 ไมครอน​อยู่ที่ 57 µg/m³ ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง ควรสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 เมื่อออกนอกเคหสถาน
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา

  • 04:00 ดัชนี​คุณ​ภาพอากาศ​ของกรุงเทพฯ​ (AQI)​ อยู่ที่ 149 ปริมาณ​ฝุ่นขนาด 2.5 ไมครอน​อยู่ที่ 55 µg/m3 คนป่วย เด็ก คนชรา ควรอยู่ในอาคาร หรือสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 เมื่อออกนอกเคหสถาน 
  • กรณีสึนามิอินโดฯ จุดที่น่าจะเกิดดินถล่ม/ลาวาถล่มอยู่ทางทิศใต้ของเกาะกรากะตัว ในภาพจาก CATNews แสดงความสูงคลื่นและระยะเวลาของคลื่นสึนามิในหน่วยนาทีด้วย คาดว่าการถล่มของดิน/ลาวา น่าจะเป็นช่วงเวลา 20:50-21:00 คืนวันที่ 22 ธ.ค. 61 เครดิตภาพ 
  • สึนามิอินโดครั้งนี้ เกิดโดยไม่มีใครตั้งตัวได้ทัน ทุ่นเตือนสึนามิบริเวณนั้นไม่มี และถึงมีก็จะไม่ทำงานเนื่องจากทุ่นเตือนสึนามิแบบ DART จะเริ่มทำงานเมื่อมีแผ่นดินไหว M≥6.5 ส่วนภูเขาไฟที่ระเบิดแล้วก่อสึนามิได้เองนั้นต้องเป็นการระเบิดระดับ VEIุ 6 ขึ้นไป แต่รอบนี้ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิดแค่ระดับ VEI 1 แต่กลับส่งแรงไปทำให้เกิดดินถล่มใต้ทะเลจนเกิดคลื่นสึนามิ (กรากะตัวเคยระเบิดหรือปะทุลาวาเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 61 ตามคลิปนี้ แต่ครั้งนั้นไม่ก่อให้เกิดดินถล่มใต้ทะเลที่เป็นเหตุให้เกิดสึนามิ)
  • จุดที่เสียหายหนักสุดจากสึนามิอินโดฯครั้งนี้คือเมืองชายฝั่ง ปันเดอกลัง (Pandeglang) จังหวัดบันเติน อินโดนีเซีย ซึ่งมีลักษณะเป็นอ่าวและอยู่ใกล้เกาะภูเขาไฟกรากะตัวมากกว่าบริเวณอื่น เครดิตภาพ เดอะกาเดี้ยน
  • มีผู้เสียชีวิต 20 เจ็บ 165 ราย สูญหาย 2 ราย ที่ชายฝั่งตะวันตกของเกาะชวา จากปรากฏการณ์ที่ จนท.อินโดเชื่อว่าเป็นคลื่นสึนามิในช่องแคบซุนดาจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากระตัว เรื่องยังอยู่ในระหว่างการสอบสวน (ภาพโดย Øystein L. Andersen) ดุคลิป
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้า บ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง (LAMP) ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “รายงานภัยพิบัติประจำอาทิตย์ 23 ธันวาคม 2561

  1. Pingback: ดาวเทียมฟินแลนด์ โชว์ภาพชัดเจนของภูเขาไฟอนักกรากะตัว หลังพังถล่มก่อสึนามิไปเมื่อเร็วๆนี้ | STEM.in.th

  2. Pingback: การพังทลายครั้งยิ่งใหญ่ของภูเขาไฟอนัก กรากะตัว | STEM.in.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *