เหตุการณ์วันนี้
- 06:00 พายุโซนร้อน NILOFAR ในทะเลอาราเบียน ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลน
- 07:05 ในภาพนี้คือค่าที่ Geofon วัดได้แล้วปรากฏบนเว็บกรมอุตุซึ่งเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวเดียวกัน จะเห็นว่ากรมอุตุก็ทราบดีว่าวัดได้ 5.3 ต่างจาก Geofon ถึง 0.5 (ทาง EMSC และ USGS ก็วัดได้ 4.8 เท่ากันหมด)
- 07:03 กราฟที่เขื่อนบางวาดแสดงแผ่นดินไหวยังไม่ทราบขนาดที่ภูเก็ต กรมอุตุคาดว่ามาจากแผ่นดินไหวที่สุมาตรา กดดู โดยวัดขนาดได้ 5.3 [ML] ขัดแย้งกับ Geofon ที่วัดได้เพียง 4.8 [mb] ค่อนข้างมาก (เกินค่าอนุโลมคือ M0.3)
- 07:02 Geofon รายงานแผ่นดินไหวขนาด 4.8 [mb] ลึก 50 กม ที่ทางเหนือของเกาะสุมาตรา
- 06:00 พายุโซนร้อน 04A ในทะเลอาราเบียนได้ชื่อเรียกเป็นทางการแล้วว่า NILOFAR เส้นทางพายุมีแนวโน้มไปขึ้นฝั่งด้านตะวันตกของประเทศอินเดียใน 96 ชม ข้างหน้า
- แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง / เจ็ดโมงเช้า / บ่ายโมง / หนึ่งทุ่ม
แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )
แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)
- 20:11 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 5.1 [mb] บริเวณ หมู่เกาะซานตาครูซ ที่ความลึก 132 กม.
- 16:54 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 5.1 [mb] บริเวณ หมู่เกาะแอนเดรียนอฟ กลุ่มเกาะอลูเชียน ที่ความลึก 45 กม.
- 15:34 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 5.3 [Mw] บริเวณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ความลึก 50 กม.
- 15:32 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 5.3 [Mw] บริเวณ เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ความลึก 50 กม.
- 15:26 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.6 บริเวณ CERAM SEA ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 51 กม.
- 13:36 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.8 [mb] บริเวณ ใกล้ชายฝั่งตะวันออกของหมู่เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 72 กม.
- 11:33 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.6 [mb] บริเวณ ใกล้ชายฝั่งตะวันออกของหมู่เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 95 กม.
- 10:50 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.9 บริเวณ หมู่เกาะฟิลิปปินส์ ที่ความลึก 10 กม.
- 09:11 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.3 [mb] บริเวณ ประเทศตองกา ที่ความลึก 253 กม.
- 08:05 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.7 [mb] บริเวณ ประเทศไอซ์แลนด์ ที่ความลึก 7 กม.
- 07:31 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.2 [mb] บริเวณ ทางทิศใต้ของมณฑลซินเจียง ประเทศจีน ที่ความลึก 1 กม.
- 07:02 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.8 บริเวณ เกาะสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 50 กม.
- 06:24 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.5 [mb] บริเวณ ทิศใต้ของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 45 กม.
- 05:20 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.5 [mb] บริเวณ ประเทศวานูอาตู ที่ความลึก 112 กม.
- 05:07 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.5 บริเวณ หมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย ที่ความลึก 10 กม.
- 02:47 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 5.0 [mb] บริเวณ เกาะนิวบริเต็น ประเทศปาปัวนิวกินี ที่ความลึก 60 กม.
- 02:35 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.7 [mb] บริเวณ ประเทศอิหร่าน-ประเทศอิรัค (ตรงพรมแดน) ที่ความลึก 2 กม.
สวัสดีครับ
ผมอ่านในเว็บพยากรณ์อากาศของฝรั่ง เค้าบอกว่าปีนี้มีพายุในทะเลแปซิฟิคค่อนข้างน้อย เพราะไม่มีเอลนิญโญ่ อุณหภูมิของน้ำทะเลจึงไม่สูง พายุจึงเกิดน้อยกว่าปีที่มีเอลนิญโญ่ (เช่นปี 2013)
อยากรบกวนสอบถามว่า
– เอลนิญโญ่ทำให้เกิดพายุมากขึ้นจริงไหมครับ
– เราจะทราบล่วงหน้าไหมครับ ว่าปีหน้าหรือปีไหน จะมีเอลนิญโญ่อีกครับ
ขอบคุณครับ
จำนวนพายุหมุนเขตร้อน ขึ้นกับน้ำทะเลที่อุ่น อันนี้ถูกต้องครับ
ปีนี้กำลังเข้าช่วงเอลนิญโญครับ ทำให้พายุในโซน W น้อยกว่าโซน E บ้านเราฝนน้อย แล้ง ฝั่งเม็กซิโก เปรู ฝนเยอะ น้ำท่วม
เราทราบการพยากรณ์เอลนิญโญ ลานิญญา ล่วงหน้ารายสัปดาห์ จาก http://www.cpc.ncep.noaa.gov/products/analysis_monitoring/enso_advisory/
ขอบคุณครับ