รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 12 ตุลาคม 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:30 พายุไซโคลนฮุดฮุด อ่อนกำลังขึ้นเป็นไซโคลนระดับ 3 อีกครั้ง หลังขึ้นฝั่งหมดกำลังสนับสนุนจากความอุ่นของน้ำทะเล 
  • 16:00 ยอดตายจากไซโคลนฮุดฮุดขึ้นฝั่งรัฐอานธรประเทศของอินเดีย 3 ราย
  • 13:00 ตำแหน่งของพายุโซนร้อนหว่องฟงจากภาพดาวเทียมของ JTWC 
  • 12:30 ไต้ฝุ่นหว่องฟง ลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนแล้วในเวลานี้ 
  • 12:20 ไทรโยคน้อย กาญจนบุรี ฝนตกหนัก
  • 12:30 พายุไซโคลนฮุดฮุด ทวีกำลังขึ้นเป็นไซโคลนระดับ 4 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุมากกว่า 213 กม/ชม 
  • 12:00 สภาพฝนหนักและลมแรงจากไซโคลนฮุดฮุดที่ขึ้นฝั่งเมืองวิสาขาปัทนัม เมื่อ 11 โมงที่ผ่านมา [wpvp_embed type=youtube video_code=wskgeOP59z4 width=560 height=315]
  • 11:01  จากภาพดาวเทียมแบบ FUNKTOP บ่งบอกถึงระดับปริมาณน้ำฝนของพายุบริเวณต่างๆ แสดงให้เห็นว่า พายุไซโคลนฮุดฮุด ขึ้นฝั่งของประเทศอินเดียแล้วในเวลานี้ 
  • 03:00 พายุไซโคลนฮุดฮุดทวีกำลังขึ้นเป็นไซโคลนระดับ 3 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุมากกว่า 203 กม/ชม ทิศทางยังมุ่งไปขึ้นฝั่งรัฐอานธรประเทศของอินเดีย
  • 02:00 ไต้ฝุ่นหว่องฟงอ่อนกำลังลงเหลือเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุลดเหลือ 120 กม/ชม แนวโน้มจะอ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อนก่อนขึ้นฝั่งคิวชู
  • 01:00 ไต้ฝุ่นหว่องฟงเคลื่อนผ่านเกาะหลักของ จ.โอกินาวาแล้ว ขณะนี้ศูนย์กลางพายุอยู่ในทะเล ตีหนึ่งของวันที่ 13 จะไปถึงจุดวงกลมขาวในภาพ และขึ้นจะฝั่งคิวชูช่วงเช้ามืดวันที่ 13 
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้ 

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 12 ตุลาคม 2557

  1. หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณปลายแหลมญวน จะทวีกำลังเป็นพายุ พัดเข้าไทยไหมครับ

    • แยกเป็น 2 คำตอบ
      1. จะเป็นพายุไหม ตอบว่าไม่ครับ
      2. จะเข้าไทยไหม อันนี้อยากชี้แจงคือ ไม่มีใครทราบ แม้ว่าเกิดเป็นพายุแล้วเลี้ยวออกไปเฉยๆก็เคยเกิดมาแล้ว และ ใน 52 ปีที่ผ่านมา มีพายุเข้าไทยจริงๆเพียง 4 ลูก เฉลี่ย 13 ปีต่อลูฏ คือ แฮเรียด เกย์ ลินดา และวิลมา

      ผมต้องขออภัยอย่างสูงที่ผิดพลาดตกพายุไปอีกหลายลูก จนมีข้อความด้านล่างจากคุณทศพล มาเพิ่มเติมให้

      ไต้ฝุ่นเว้ เราไม่ได้พูดถึงเพราะนับถอยหลังแค่ 52 ปี ไต้ฝุ่นเว้เกิดก่อนหน้านั้น ส่วนที่มีเพิ่มเข้ามาและเข้าไทยจริงคือ เบ็กกี้ 2533 ดอริส 2512 ฟอร์เรส 2535 เฟรด 2534 เลกิมา 2550 ทิลดา 2507 เซลลี 2515 ช้างสาร 2549

      ผลเฉลี่ย 4 ปี ต่อลูก

      • ขอความรู้ครับ พอดีเพิ่งหัดศึกษาข้อมูลครับ^^

        พายุโซนร้อน “เว้” (Vae) พ.ศ. ๒๔๙๕
        เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยด้านจังหวัดตราด

        พายุโซนร้อน “แฮร์เรียต” (Harriet) พ.ศ. ๒๕๐๕
        ขึ้นฝั่งที่บริเวณแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

        พายุโซนร้อน “รูท” (Ruth) พ.ศ. ๒๕๑๓
        ขึ้นฝั่งที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

        พายุโซนร้อน “แซลลี” (Sally) พ.ศ. ๒๕๑๕
        ขึ้นฝั่งที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

        พายุไต้ฝุ่น “เกย์” (Gay) พ.ศ. ๒๕๓๒
        ขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดชุมพร

        พายุโซนร้อน “ฟอร์เรสต์” (Forrest) พ.ศ. ๒๕๓๕
        ขึ้นฝั่งที่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช

        พายุโซนร้อน “ลินดา” (Linda) พ.ศ. ๒๕๔๐
        ขึ้นฝั่งที่บริเวณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

        ความรุนแรงระดับ ดีเปรสชั่น ยังไม่ถือว่าเป็นพายุใช่ไหมครับ
        ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับ^^
        http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=34&chap=7&page=t34-7-infodetail09.html

        • ต้องขอบคุณมากๆที่มาเพิ่มเติมชื่อพายุให้ครับ แต่บางลูกที่นำข้อมูลมาไม่ได้เข้าไทย เช่น พายุรูทปี 2513 ไม่ได้เข้าไทย สลายตัวปลายแหลมญวณ พายุเซลลี 2515 ไม่ได้ขึ้นฝั่งครับ

          พายุนี่นับตั้งแต่ดีเปรสชันขึ้นไปครับ
          “เข้าไทย” หรือ “เข้าที่ไหน” ต้องนับที่ศูนย์กลางพายุ ไม่เอาขอบๆพายุ
          หากสลายเป็นความกดอากาศต่ำแล้วความกดอากาศต่ำนั้นเคลื่อนเข้าไทย แบบพายุแกมี 2555 แบบนี้ไม่นับครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *