ให้ความจริง ให้ความรู้ ทางภัยพิบัติ เพื่อสู้ข่าวลือ ลดความตื่นกลัว
เมนูหลัก
เมนูนำทางเรื่อง
← ก่อนหน้า
ต่อไป →
เหตุการณ์วันนี้
21:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 99B ในทะเลอันดามัน ทวีกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง
20:49 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 6.0 บริเวณ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่ความลึก 10 กม. ตาย 2+ ราย เจ็บ 324+ ประชาชนบางส่วนอพยพออกมาอยู่ในเต๊นท์ (ภาพจากสื่อจีน)
16:00 ไต้ฝุ่นหว่องฟง ในทะเลฟิลิปปินส์ ทวีกำลังขึ้นเป็นระดับ 4 (แรงกว่าฟานทอง) แล้วในเวลานี้
10:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 99B ในทะเลอันดามัน ทวีกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังปานกลาง
07:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 99B ในทะเลอันดามัน ทำฝนหนักในภาคใต้ และดึงลมหนาวเข้าด้านบนของประเทศ
03:00 พายุเฮอริเคนไซมอน นอกชายฝั่งตะวันตกของเม็กซิโก อ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อนยังคงมีแนวโน้มจะขึ้นฝั่งบาจาแคลิฟอร์เนียในอีก 36 ชม จากนี้
แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง / เจ็ดโมงเช้า / บ่ายโมง / หนึ่งทุ่ม
แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )
คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้
แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)
เรื่องนี้ถูกเขียนใน พายุ , เหตุการณ์ประจำวัน , แผ่นดินไหว และติดป้ายกำกับ 201418W , 201419E , 201419W , Phanfone , SIMON , Vongfong , ประเทศญี่ปุ่น , พันฝน , พายุไต้ฝุ่น , ฟานทอง , ยูนนาน , สรุปรายงานแผ่นดินไหวทั่วโลก , หว่องฟง , ຟານທອງ , 黃蜂 โดย mrvop คั่นหน้า ลิงก์ถาวร
ขอบคุณครับ รบกวนถามเพื่อเป็นความรู้ต่อนะครับ
ความกดอากาศต่ำที่เกิดในทะเลอันดามันตอนนี้ ส่งผลอะไรต่อพายุ Vongfong ไหมครับ ผมดูในแผนที่ลม เห็นความกดอากาศต่ำดึงลมมาจากด้านบน มันจะดึง Vongfong ให้เปลี่ยนทิศได้ไหมครับ
แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ไหลวนกลับไปเสริม Vongfong อีกทางนึง แบบนี้จะเสริมให้ Vongfong แรงขึ้นด้วยไหมครับ
ขอบคุณครับ
ตัวพายุไม่มีผลต่อกันครับ หย่อม 99B และหว่องฟง จะเคลื่อนไปด้วยแรงคอลิออริส ไปทางตะวันตกแล้วเลี้ยวขึ้นเหนือ
พอจะทราบมั๊ยคะว่าความกดอากาศต่ำแถวทะเลอันดามันจะหมดฤทธิ์เมื่อไหร่ ตอนนี้ฝั่งนครศรธรรมราช ฝนตกทุกวันเลย ไม่เห็นดวงอาทิตย์มาเกือบอาทิตย์แล้วคะ
ขอบคุณคะ
สมใจ
มันกำลังขยับออกไปทางอินเดียครับ แต่คงอีกหลายวัน
สวัสดีครับ
ขอบคุณสำหรับการจัดทำเว็บภัยพิบัติขึ้นมานะครับ มีประโยชน์มากๆครับ ขอเป็นกำลังใจในการทำเว็บนะครับ
ผมอยากขอความรู้เกี่ยวกับพายุดังนี้ครับ
– หย่อมความกดอากาศต่ำ สามารถพัฒนาเป็นพายุได้ไหมครับ (เห็นหมุนๆเหมือนกัน)
– คำว่า PAR ที่เว็บเฝ้าระวังพายุของฟิลิปปินส์กล่าวถึง หมายถึงอะไรครับ
ขอบคุณครับ
ตอบข้อแรก – พายุดีเปรสชัน พัฒนามาจากหย่อมความกดอากาศต่ำบนผิวทะเลเสมอครับ
ตอบข้อสอง – คำว่า PAR ย่อมาจาก Philippine Area or Responsibility แปลว่า เขตท้องทะเลในความรับผิดชอบของฟิลิปปินส์ครับ