รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 17:15 ท่ามกลางซากปรักหักพังจากพายุไห่เยี่ยนในฟิลิปปินส์ ผู้คนที่หิวโหยออกมาฉกชิงขโมยอาหารและสิ่งของตามร้านค้าข่าวระบุมีกลุ่มคนโจมตีรถขนของของกาชาด จนปธน.ต้องส่งทหารไปควบคุม BY3VmVaCQAAyV9c
  • 16:50 ตามความเห็นของ TSR พายุหมุนเขตร้อนทุกลูกในโลก สลายตัวหมดแล้วในเวลานี้ current
  • 14:50 ฟิลิปปินส์ ยกเลิกสัญญาณเตือนภัย หลังดีเปรสชันโซไำรดา สลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
  • 14:03 แผ่นดินไหว ขนาด 6.6 ลึก 47.2 กม. ที่ชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรกัมชัดกา รัสเซีย [USGS]  ไม่เตือนสึนามิจาก PTWC
  • 13:20 มีฝนหนักในฮ่องกง ผลจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือของไห่เยี่ยน 
  • 11:00 โมเดล GFS แสดงทางเดินพายุโซไรดา หลังผ่านฟิลิปปินส์ลงทะเลจีนใต้ พายุจะทวีกำลังแล้วเคลื่อนตรงมาทางเวียดนาม [wpvp_embed type=youtube video_code=cheTuxfemuk width=560 height=315]
  • 10:00 ยอดตาย 11 รายในเวียดนาม จากพายุไห่เยี่ยน
  • 09:30 พายุดีเปรสชัน โซไรดา ขึ้นฝั่งที่เมืองดาเวา เกาะมินดาเนาของฟิลิปปินส์แล้วในขณะนี้ 
  • 09:00 ทางค่ายฝรั่ง ไม่ยอมรับการก่อตัวของดีเปรสชันโซไรดาในทะเลฟิลิปปินส์ ให้เป็นเพียงหย่อมความกดอกาศต่ำกำลังแรง โมเดลพายุของทางฝรั่งเลยว่างเปล่า gl_sst_mm
  • 05:00 พายุไห่เยี่ยนใกล้สลายตัว (ทาง JTWC ออก Final Warning แล้ว) พายุเคลื่อนเข้าใกล้ฮ่องกงจากด้านในแผ่นดินจีน ขณะที่ดีเปรสชันที่ก่อตัวจาก LPA90W ในทะเลฟิลิปปินส์ (ทางอุตุฟิลิปปินส์ หรือ PAGASA เรียกพายุลูกนี้ว่า โซไรดา Zoraida) ได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะมินดาเนา ซึ่งจะส่งผลให้มีฝนหนักลมแรงซ้ำเติมสภาพเลวร้ายที่เป็นอยู่จากการทำลายของไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเมื่อหลายวันก่อน 
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556

  1. ต้องการทราบเรื่อง -minute sustained ครับ
    เช่น
    Haiyan Typhoon
    10-minute sustained: 230 km/h (145 mph)
    1-minute sustained: 315 km/h (195 mph)
    gust up to 378 km/h (235 mph)

    ที่ผมเดาไว้น่าจะเป็น ความเร็วลมที่คงที่ใน 10 นาที
    ตัว gust up นี่น่าจะเป็นลมกระโชกที่พัดช่วงสั้นๆ
    ชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

    • มาตราวัดลมพายุ RSMC Tokyo (วัดความเร็วลมสูงสุดคงที่ 10 นาที เพื่อจัดลำดับ)
      มาตราวัดลมพายุ ซัฟเฟอร์ – ซิมป์สัน (วัดความเร็วลมสูงสุดคงที่ 1 นาที เพื่อจัดลำดับ)
      ตัง 10-minute sustained: กับ 1-minute sustained ก็เลยต้องมีให้เห็นครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *