รายงานภัยพิบัติประจำอาทิตย์ 11 พฤศจิกายน 2561

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 พายุโซนร้อน “คชะ” Gaja ในมหาสมุทรอินเดีย มีแนวโน้มจะกลายเป็นพายุไซโคลน ไปขึ้นฝั่งเขตปกครองปุทุจเจรี (Puducherry) ของอินเดีย 
  • 22:00 พายุโซนร้อน  Alcide และ Bouchra ในมหาสมุทรอินเดียโซนซีกโลกใต้ ยังเคลื่อนตัวอยู่ในทะเบ ไม่มีแนวโน้มจะไปขึ้นฝั่งประเทศใด 
  • 19:00 พบการก่อตัวใหม่ของหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ในทะเลฟิลิปปินส์ 
  • 19:00 แผนที่ลมระดับพื้นผิวแสดงให้เห็นพายุโซนร้อน 07B ที่เวลานี้ได้ชื่อเรียกว่า “คชะ” Gaja กำลังมุ่งหน้าไปขึ้นฝั่งประเทศอินเดีย 
  • 15:30 กทม.มีฝนเล็กน้อยเขตหนองแขม บางบอน / ฝนปานกลางถึงหนัก จ.นครปฐม เคลื่อนตัวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
  • 10:00 ไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ในแคลิฟอร์เนียตั้งแต่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา ล่าสุดเวลานี้เสียชีวิตแล้ว 23 ราย บ้านเรือนถูกเผาเกือบ 7,000 หลัง
  • 09:50 ขณะนี้มีน้ำท่วมบนผิวจราจร ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ตอน บางสะพาน – น้ำรอด ที่กม.403+000 บริเวณบ้านช่องลมในช่องซ้าย สามารถสัญจรได้ปกติได้เฉพาะช่องขวา via 
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
  • 01:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 90W ในมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกของหมู่เกาะอันดามัน (ที่เคยถล่มภาคใต้ของไทย) ทวีกำลังเป็นพายุดเปรสชัน 07B จากนั้นกลายเป็นพายุโซนร้อน เส้นทางมุ่งไปขึ้นฝั่งรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย 
  • เกิดพายุลูกเห็บขนาดโตกว่าไข่ไก่ตกในเมือง tilisarao จังหวัดซานลูอิส อาร์เจนตินา 
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้า บ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี SRDT เขื่อนศรีนครินทร์ ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “รายงานภัยพิบัติประจำอาทิตย์ 11 พฤศจิกายน 2561

  1. สวัสดีคะ
    ขอสอบถามแนวโน้มคะ​ คื​อตอนนี้ในไลน์มีการแชร์ว่าจะมีพายุโซนร้อนซึ่งอาจจะรุนแรงเท่าพายัไต้ผุ่น​จะพัดกระหน่ำทางใต้ช่วง​ วันที่​ 19-21/11​ ไม่ทราบว่ามีแนวโน้มตามนั้นมั๊ยคะ​

    ขอบคุณคะ
    สมใจ

    • ปกติในการพยากรณ์อากาศ มันมีหลักอยู่ว่า “ยิ่งใกล้วันก็ยิ่งแม่น” เราจะไม่ใช้โมเดลระยะกลางซึ่งมีระยะวันที่ค่อนข้างไกลในภาคการแจ้งเตือนภัย
      โมเดลระยะกลางมีหลายโมเดล เช่น GFS ECMWF NEMS หรือ ICON-EU แต่ละตัวก็ใช้ต่างกันไป ไม่มีตัวใดแม่นยำเท่าโมเดลระยะใกล้

      กรณีนี้หากดูเพื่อความสนใจก็ไม่มีปัญหา แต่หากจะนำไปแชร์เพื่อความน่าเชื่อถือหรือแจ้งเตือนภัย “ควรนรอโมเดลระยะใกล้ที่จะออกในวันที่ 15-16 พ.ย. เป็นต้นไป” จะแม่นยำกว่า

      ซึ่งทางเว็บเราจะประกาศอีกที

ส่งความเห็นที่ mrvop ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *