รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 JMA หรืออุตุนิยมญี่ปุ่น ยกระดับดีเปรสชันพอดึล ให้เป็นพายุโซนร้อน โดยมีความเร็วลมศูนย์กลางพายุเวลานี้  35 น็อต (34.8 กม/ชม)
  • 20:00 TSR ยอมรับการก่อตัวของดีเปรสชันโซไรดาแล้ว ให้ชื่อเรียกตามตารางของ JTWC ว่า พอดึล  (버들 ภาษาเกาหลี แปลว่าต้นหลิว) โดยพายุจะขึ้นฝั่งเวียดนามพรุ่งนี้ช่วงเช้า 201332W
  • 16:00 ยอดตายจากเชื้อ A/H1N1 ในฮอนดูรัส เพิ่มมาที่ 4 ราย
  • 15:15 ดีเปรสชันโซไรดา (หย่อมความกดอากาศต่ำ 90W) เคลื่อนเข้าใกล้เวียดนามมากขึ้น ประเมินว่าจะขึ้นฝั่งพรุ่งนี้ช่วงเช้า 
  • 14:00 ยอดตายเป็นทางการจากมหาพายุไห่เยี่ยน เฉพาะในฟิลิปปินส์ 2,410 ราย บาดเจ็บ 3,853 ราย สูญหายหาย 77 ราย
  • 13:00 ภูเขาไฟซินาบุงของอินโดนีเซียปะทุพ่นเถ้าถ่านสูง 7,000 เมตร ทางการอินโดเร่งอพยพประชาชนราว 5,500 คน ดูกล้อง CCTV 5094138-3x4-340x453
  • 12:00 ดาวหาง ISON อยู่ที่ระยะ 0.651AU ผ่านวงโคจรดาวศุกร์แล้วในวันนี้ test9975
  • 11:00 ประกาศเตือนภัย- พายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้ ฉบับที่ 6 กดอ่าน 
  • 10:55 ฝนตกเขตจตุจักร พญาไท ดินแดง ห้วยขวาง วังทองหลาง สวนหลวง วัฒนา คลองเตย ทวีวัฒนา จ.นนทบุรี อ.เมืองสมุทรสาคร
  • 09:00 ทุ่นสึนามิไทย (ตัวบน) เสียมาตั้งแต่ 21 ส.ค. ป่านนี้ยังไม่ได้งบประมาณไปกู้ไปซ่อม ต้องอาศัยทุ่นอินเดีย (ตัวล่าง) ซึ่งบางครั้งก็ติดๆดับๆ23401-20131114
  • 08:40 ขณะที่ทั่วโลกกำลังรอคอยและดูเหมือนจะผิดหวังกับดาวหาง ISON ที่ไม่ค่อยสว่าง อยู่ดีๆดาวหางดวงใหม่ก็โผล่ขึ้นมาให้เห็น หลังผ่านวงโคจรโลก ดาวหาง Lovejoy  (C/2013 R1) ส่องแสงสว่างกว่า ISON ประมาณ 10 เท่า ภาพนี้ Rolando Ligustri ถ่ายเมื่อ 12 พ.ย. ในนิวเม็กซิโก lovejoy_striptest2298
  • 08:30 GFZ โมเดลแสดงให้เห็นการขึ้นฝั่งของดีเปรสชันโซไรดาซึ่งจะสลายตัว เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำผ่านอ่าวไทยตอนบนไปลงอันดามัน  [wpvp_embed type=youtube video_code=RNnQOL7bWbQ width=560 height=315]
  • 08:00 ตำแหน่งที่พายุดีเปรสชันจะขึ้นฝั่งพรุ่งนี้เช้า  คำนวนโดยอุตุนิยมเวียดนาม 
  • 07:13 พายุดีเปสชันโซไรดา (ทาง JTWC ยังคงเรียกว่าเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ 90W)  เคลื่อนมาใกล้ถึงฝั่งเวียดนามแล้วในเวลานี้ แนวพายุหลังขึ้นฝั่งจะทำให้เกิดฝนในอีสานล่าง ตะวันออก ภาคกลางตอนล่างและใต้ตอนบน (ส่วนอุตุไทยไม่ตั้งชื่อ ตามแบบ JMA คือมึนๆเรียกไปว่า ดีเปรสชันในทะเลจีนใต้ )
  • 06:08 เกิดการปะทุขนาด C9.8 ใกล้บริเวณจุดดับหมายเลข 1897 เวลา (ไม่มีผลกับเรา ท่องไว้ แค่เอาภาพมาให้ดูสวยๆ) nov13_2013_m1.4
  • 05.36 Geofon วัดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ นอกชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะสุมาตราเหนือ  ที่ความลึก 10 กมได้ แต่สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวของกรมอุตุที่อยู่ใกล้ๆ และมีผลโดยตรง กลับวัดไม่ได้
  • 01:00 ภาพพายุดีเปรสชัน BOB05 ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งทาง JTWC ระบุว่าเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (HIGH) ที่หลงเหลือ (RMNTS) จากพายุดีเปรสชัน 30W หรือวิลมาตามชื่อจากทาง PAGASA ที่ถล่มประจวบฯ และเพชรบุรีไปเมื่อช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยทาง JTWC ยังไม่ประกาศยกระดับเป็นพายุลูกใหม่
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

6 ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556

  1. พอดีต้องบินไปฟิลลิปปินส์ วันอาทิตย์นี้ เลยได้มีโอกาสเข้ามาเชคสภาพอากาศในเวปนี้
    แล้วอยากชื่นชมเวปนี้มากค่ะ อัพเดทและสรุปข้อมูลให้ เข้ามาหลายวันแล้ว ก็พบกับข้อมูลใหม่ๆ เสมอ
    ขอบคุณมากนะคะ ที่ทำเวปดีๆแบบนี้ให้ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

      • จริงค้าบ T_T
        ไปเรื่องงานอ่ะ ไม่ไปไม่ได้ กำหนดการมีมาก่อนหน้าเกิดภัยแล้ว
        แต่ไปที่มะนิลา ห่างจากทาโคบัลหลายอยู่ เชคแล้ว800กว่ากิโล ต้องข้ามเรือเฟอรรี่ด้วย…..จะห่วงอย่างเดียวก็เรื่องสภาพอากาศตอนบินไปนี่แหละ….ก็เลยต้องดูเวปนี้ทุกวันเลย…ลุ้นให้พายุต่างๆผ่านไปสักที

  2. ขอข้อมูลดาวหาง Lovejoy หน่อยครับ มองยังไง ทิศไหน เวลา ครับ ผิดหวังกับ ison สุดๆ

ส่งความเห็นที่ mrvop ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *