รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”black”]พายุไห่เยี่ยน ไม่เคยมาไทย อย่าเชื่อสื่อมั่ว ที่หลอกลวงท่าน[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:05 แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ลึก 10 กม บริเวณ ทะเลสคอเทีย ไม่มีการเตือนสึนามิ เนื่องจากแนวการเคลื่อนตัว เป็นแบบแนวนอน [USGSM7.8 - Scotia Sea 2013-11-17 09 04 55 UTC
  • 15:12 หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือจากดีเปรสชันพอดึล ยังปกคลุมภาคใต้ตอนบน 
  • 14:00 ศพจากพายุไห่เยี่ยนไม่สามารถจัดการได้ทัน ทางการฟิลิปปินส์ต้องฝังรวมในหลุมใหญ่ 48413
  • 13:00 ภาพดาวเทียมจาก JTWC พายุทุกลูกรอบบ้านเรา สลายตัวหมดแล้ว
  • 06:00 ฝนหนักตั้งแต่วันพุธที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำท่วมในกรุงริยาร์ด และอีกหลายเมืองในซาอุดิอาระเบีย (ถนนบางสายไม่มีท่อระบายน้ำ) เครดิตภาพจาก rt.com  BZOIkMeIQAASwAi
  • 05:00 ตำแหน่งดาวหางทั้ง 4 ดวงที่นะปรากฏก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ทางขอบฟ้าทิศตะวันออก เช้านี้ skymap
  • 03:00 ดาวหาง ISON ขณะนี้มีความสว่างแมกนิจูด +5.5 และมีหางที่ยาวมาก ยาวถึง 8 ล้านกิโลเมตร หรือ 21 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกถึงดวงจันทร์ tail_strip
  • ผู้ประสบภัยในฟิลิปปินส์ยังหิวโหย ต่างกรูเข้ารับอาหารจาก ฮ. กู้ภัยBZPiE3LCcAADoy-
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”info”]แมกนิจูด คือมาตราวัดความสว่างของดาว ยิ่งมีค่าน้อย ยิ่งสว่างมาก (ฟรานซิส ริกเตอร์ ก่อนจะมาเป็นนักแผ่นดินไหว ก็ชอบดูดาว จึงขอยืมคำว่าแมกนิจูดมาใช้กับขนาดแผ่นดินไหวด้วย[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:12 หย่อมความกดอากาศต่ำ ที่หลงเหลือจากการสลายตัวของพายุดีเปรสชัน TD32W หรือ โซไรดา หรือ พอดึล  หรือ ที่กรมอุตุออกเสียงว่า “โพดอล”  เคลื่อนตัวขึ้นไปทางตอนเหนือของเวียดนาม มีเพียงส่วนน้อยที่เคลื่อนมาทางอ่าวไทย ก่อให้เกิดฝนอ่อนไปทั่วภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน 
  • 16:13 หย่อมความกดอากาศต่ำ ที่หลงเหลือจากการสลายตัวของพายุดีเปรสชัน TD32W หรือ โซไรดา หรือ พอดึล  หรือ ที่กรมอุตุออกเสียงว่า “โพดอล” กลายเป็นกลุ่มฝนกระจายตัวกว้างปกคลุมเวียดนาม กัมพูชาและอ่าวไทย 
  • 16:00 อ.เมืองอุบล ฟ้าครึ้ม ฝนปรอยๆตลอดบ่าย
  • 13:00  ภาพดาวเทียมจาก JTWC  ลดระดับดีเปรสชันพอดึล หรือที่กรมอุตุออกเสียงว่า โพดอล ลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ (RMNTS)
  • 13.19 แผ่นดินไหวขนาด mb 5.5  ประเทศอาเจนตินา ลึก 19.3 กม แรงสั้นไหว 20%g หรือเมอคัลลี VII  รอรายงานความเสียหาย [USGS]
  • 11:00 กาชาดฟิลิปปินส์ตั้งเต็นท์ในเมือง Hilongos และ Mandaue เพื่อรองรับผู้ประสบภัยที่ไร้บ้านจากทาโคลบาน 
  • 10:30 ข่าวดีสำหรับนักดูดาวหาง เกิดการปะทุความสว่างขึ้นกับดาวหางไอซอน ISON คือเมื่อวันจันทร์ ดาวหางไอซอนสว่างแค่แมกนิจูด 8.5 วันพุธ สว่างเพิ่มมาที่ M7.3 อยู่ๆเมื่อวานนี้ ก็ปะทุ สว่างถึง M5.4 คือภายใน 3 วัน สว่างขึ้น 16 เท่า

    ISON-Mike-Hankey-Nov-14-580x458

    Mike Hankey ถ่ายภาพนี้จาก Monkton รัฐแมรีแลนด์เมื่อวานนี้ (14 พ.ย.56)

  • 10:30 อุตุนิยมเวียดนาม ถือว่าดีเปรสชันพอดึล หรือ ที่กรมอุตุออกเสียงว่า “โพดอล” สลายตัวแล้ว NATIONAL CENTRE FOR HYDRO-METEOROLOGICAL FORECASTING
  • 10:12 พายุดีเปรสชันพอดึล บนฝั่งเวียดนาม กำลังจะสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในไม่กี่ ชม นี้ 
  • 07:00 จากรายงานของ JMA พายุพอดึล หรือ ที่กรมอุตุออกเสียงว่า “โพดอล” อ่อนกำลังทันทีที่ขึ้นฝั่ง ล่าสุดเหลือความกดอากาศ 1006hPa ความเร็วลมรอบศูนย์กลางเหลือเพียง 15 น็อต JMA-20131115-0700
  • 06:13 พายุพอดึล หรือ โพดอล ขึ้นฝั่งเวียดนามแล้วเมื่อช่วง 05:30 ที่ผ่านมา พายุมีแนวโน้มอ่อนกำลังลง 
  • 00:15 เส้นทางพายุพอดึล (32W) จากสำนักอุตุ 6 ประเทศ พายุจะขึ้นฝั่งเวียดนามแล้วสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำก่อนเข้ากัมพูชา (กรมอุตุออกเสียงว่าโพดอล)
  • ยอดตายเป็นทางการจากไห่เยี่ยน 2,390 ราย (เฉพาะในฟิลิปปินส์ 2,360 ราย)
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

gfz2013wjmm

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 JMA หรืออุตุนิยมญี่ปุ่น ยกระดับดีเปรสชันพอดึล ให้เป็นพายุโซนร้อน โดยมีความเร็วลมศูนย์กลางพายุเวลานี้  35 น็อต (34.8 กม/ชม)
  • 20:00 TSR ยอมรับการก่อตัวของดีเปรสชันโซไรดาแล้ว ให้ชื่อเรียกตามตารางของ JTWC ว่า พอดึล  (버들 ภาษาเกาหลี แปลว่าต้นหลิว) โดยพายุจะขึ้นฝั่งเวียดนามพรุ่งนี้ช่วงเช้า 201332W
  • 16:00 ยอดตายจากเชื้อ A/H1N1 ในฮอนดูรัส เพิ่มมาที่ 4 ราย
  • 15:15 ดีเปรสชันโซไรดา (หย่อมความกดอากาศต่ำ 90W) เคลื่อนเข้าใกล้เวียดนามมากขึ้น ประเมินว่าจะขึ้นฝั่งพรุ่งนี้ช่วงเช้า 
  • 14:00 ยอดตายเป็นทางการจากมหาพายุไห่เยี่ยน เฉพาะในฟิลิปปินส์ 2,410 ราย บาดเจ็บ 3,853 ราย สูญหายหาย 77 ราย
  • 13:00 ภูเขาไฟซินาบุงของอินโดนีเซียปะทุพ่นเถ้าถ่านสูง 7,000 เมตร ทางการอินโดเร่งอพยพประชาชนราว 5,500 คน ดูกล้อง CCTV 5094138-3x4-340x453
  • 12:00 ดาวหาง ISON อยู่ที่ระยะ 0.651AU ผ่านวงโคจรดาวศุกร์แล้วในวันนี้ test9975
  • 11:00 ประกาศเตือนภัย- พายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้ ฉบับที่ 6 กดอ่าน 
  • 10:55 ฝนตกเขตจตุจักร พญาไท ดินแดง ห้วยขวาง วังทองหลาง สวนหลวง วัฒนา คลองเตย ทวีวัฒนา จ.นนทบุรี อ.เมืองสมุทรสาคร
  • 09:00 ทุ่นสึนามิไทย (ตัวบน) เสียมาตั้งแต่ 21 ส.ค. ป่านนี้ยังไม่ได้งบประมาณไปกู้ไปซ่อม ต้องอาศัยทุ่นอินเดีย (ตัวล่าง) ซึ่งบางครั้งก็ติดๆดับๆ23401-20131114
  • 08:40 ขณะที่ทั่วโลกกำลังรอคอยและดูเหมือนจะผิดหวังกับดาวหาง ISON ที่ไม่ค่อยสว่าง อยู่ดีๆดาวหางดวงใหม่ก็โผล่ขึ้นมาให้เห็น หลังผ่านวงโคจรโลก ดาวหาง Lovejoy  (C/2013 R1) ส่องแสงสว่างกว่า ISON ประมาณ 10 เท่า ภาพนี้ Rolando Ligustri ถ่ายเมื่อ 12 พ.ย. ในนิวเม็กซิโก lovejoy_striptest2298
  • 08:30 GFZ โมเดลแสดงให้เห็นการขึ้นฝั่งของดีเปรสชันโซไรดาซึ่งจะสลายตัว เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำผ่านอ่าวไทยตอนบนไปลงอันดามัน  [wpvp_embed type=youtube video_code=RNnQOL7bWbQ width=560 height=315]
  • 08:00 ตำแหน่งที่พายุดีเปรสชันจะขึ้นฝั่งพรุ่งนี้เช้า  คำนวนโดยอุตุนิยมเวียดนาม 
  • 07:13 พายุดีเปสชันโซไรดา (ทาง JTWC ยังคงเรียกว่าเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ 90W)  เคลื่อนมาใกล้ถึงฝั่งเวียดนามแล้วในเวลานี้ แนวพายุหลังขึ้นฝั่งจะทำให้เกิดฝนในอีสานล่าง ตะวันออก ภาคกลางตอนล่างและใต้ตอนบน (ส่วนอุตุไทยไม่ตั้งชื่อ ตามแบบ JMA คือมึนๆเรียกไปว่า ดีเปรสชันในทะเลจีนใต้ )
  • 06:08 เกิดการปะทุขนาด C9.8 ใกล้บริเวณจุดดับหมายเลข 1897 เวลา (ไม่มีผลกับเรา ท่องไว้ แค่เอาภาพมาให้ดูสวยๆ) nov13_2013_m1.4
  • 05.36 Geofon วัดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ นอกชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะสุมาตราเหนือ  ที่ความลึก 10 กมได้ แต่สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวของกรมอุตุที่อยู่ใกล้ๆ และมีผลโดยตรง กลับวัดไม่ได้
  • 01:00 ภาพพายุดีเปรสชัน BOB05 ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งทาง JTWC ระบุว่าเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (HIGH) ที่หลงเหลือ (RMNTS) จากพายุดีเปรสชัน 30W หรือวิลมาตามชื่อจากทาง PAGASA ที่ถล่มประจวบฯ และเพชรบุรีไปเมื่อช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยทาง JTWC ยังไม่ประกาศยกระดับเป็นพายุลูกใหม่
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:00 อุตุฯญี่ปุ่น หรือ JMA ประเมินเส้นทางซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนหลังลงสู่ทะเลจีนใต้ ไต้ฝุ่นจะมาที่ฝั่งเวียดนามในวันอาทิตย์ที่ 10 พ.ย. นี้
  • 15:30 ดาวหาง ISON ขณะนี้ผ่านวงโคจรของโลกแล้ว และกำลังมุ่งตรงไปทางดวงอาทิตย์ด้วยความเร็ว 46 กม/วินาที นักดูดาวต่างพยายามจับภาพไว้ และคลิปนี้มาจากประเทศโคลัมเบีย ถ่ายโดย Alberto Quijano Vodniza race_strip2
  • 15:05 อ.บ้านบึง ชลบุรี ฝนตกพรำๆ
  • 15:00 ประกาศฉบับที่ 17 ของทาง JTWC คาดว่า ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนหลังจากถล่มฟิลิปปินส์ จะลงสู่ทะเลจีนใต้แล้วมาขึ้นฝั่งเวียดนามราววันที่ 10 พ.ย. จากนั้นจะเข้าไปสลายตัวในลาว 
  • 14:30 ชาวฟิลิปปินส์บางส่วนเตรียมรับมือพายุโดยการปิดส่วนที่ลมจะชอนไชเข้าไป “ยก” บ้านให้สนิท นี่คือสิ่งที่พวกเค้าเรียนรู้ 
  • 13:57 ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 280 กม/ชม ขึ้นอันดับพายุที่แรงที่สุดในโลกของปีนี้ ทิศทางยังเคลื่อนไปขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ โดยเกาะมินดาเนาเริ่มประสบฝนหนักแล้วเมื่อหลาย ชม ที่ผ่านมา 
  • 13:00 JTWC ยืนยันการสลายตัวของพายุดีเปรสชัน 30W ในอ่าวไทยเช่นกัน แสดงเฉพาะภาพซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเท่านั้น 
  • 12:00 ทั่วโลกเวลานี้ เหลือซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนในทะเลฟิลิปปินส์ลูกเดียวเท่านั้น 
  • 11:05 ดีเปรสชัน 30W ในอ่าวไทย สลายตัวแล้ว จับตาดูซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่ฟิลิปปินส์ต่อไป 
  • 07:30 โมเดล GFS ของไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน จะเห็นเส้นทางหลังลงสู่ทะเลจีนใต้ พายุจะตรงไปเข้าอ่าวตังเกี๋ย ไม่มีผลกับไทย [wpvp_embed type=youtube video_code=l2y5mxk4QcM width=560 height=315]
  • 06:32 ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน เคลื่อนผ่านเกาะปาเลา ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเกิน 260 กม/ชม ทิศทางมุ่งตะวันตก เริ่มก่อให้เกิดฝนตกหลายพื้นที่ในฟิลิปปินส์
  • 06:30 ฝนตกหนักที่ประจวบ และตกปานกลาง เพชรบุรี ชุมพร 
  • 04:13 ดีเปรสชัน 30W เคลื่อนตัวจากกัมพูชาลงอ่าวไทย ขณะที่ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนยังคงตรงเข้าหาฟิลิปปินส์  
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 พายุโซนร้อนไห่เยี่ยน ทวีกำลังขึ้นเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 แล้วในเวลานี้ แนวโน้มยังคงทวีกำลังขึ้นต่อไป 201331W-20131105-1800
  • 17:00 กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉ.3 เตือนเรื่องพายุ 30W กดอ่าน
  • 15:00 พบเด็ก 3 ขวบในจีน ติดเชื้อ H7N9
  • 14:13 ตำแหน่งของฝนที่ตกภาคใต้เวลานี้ ดีเปรสชัน 30W ในทะเลจีนใต้ และพายุโซนร้อนไห่เยี่ยนในทะเลฟิลิปปินส์ ASIASAT-2013-11-05-1413
  • 13:30 ทุกเอเย่นต์ ยืนยันการสลายตัวของพายุกรอซาที่เวียดนามอย่างเป็นทางการแล้ว เหลือแค่ 30W และไห่เยี่ยน ที่ยังต้องจับตา 
  • 11:30 ไข้เลือดออกระบาดในเขต Davao ของฟิลิปปินส์ ยืนยันการตายแล้ว 60 ราย
  • 11:00 กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉ.2 เตือนเรื่องพายุ 30W กดอ่าน
  • 10:57 ภาพดาวเทียม พายุดีเปรสชัน 30W เคลื่อนออกจากฟิลิปปินส์ลงทะเลจีนใต้แล้ว กำลังตรงมาทางปลายแหลมญวณ และจะทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนในระหว่างทาง 
  • 10:00 เส้นทางพายุประเมินล่าสุดจาก TSR ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน จะทวีกำลังขึ้นถึงระดับ 3 และเข้ามาถึงชายฝั่งตอนเหนือของเวียดนาม 
  • 08:00 CFS โมเดลล่าสุดของพายุ 30W และ ไห่เยี่ยน [wpvp_embed type=youtube video_code=rLsJzPrZ9Iw width=560 height=315]
  • 07:30 TSR ยังคงประเมินเส้นทางพายุ 30W ว่าจะเข้าเวียดนามผ่านกัมพูชาลงอ่าวไทยขึ้นประจวบฯ-เพชรบุรี จากนั้นไปลงอันดามัน 
  • 07:00 กทม 26°C แม่สอด 20°C ท่าวังผา 18°C อุดร20°C ขอนแก่น 21°C ลำปาง 20°C พิษณุโลก 20°C น่าน 18°C เชียงราย 17°C หนองคาย 20°C เชียงใหม่ 22°C
  • 04:00 กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉ.1 เตือนเรื่องพายุ 30W กดอ่าน (กรมอุตุไทยเลียนแบบ JMA โดยไม่เรียกชื่อดีเปรสชันตามระบบของฝรั่ง บางลูกเลยไม่มีชื่อเรียก ถ้ามา 2 ลูกพร้อมกันก็น่าจะสับสน)
  • 01:00 พายุหมุนเขตร้อนทั้ง 4 ลูกทั่วโลกเวลานี้จาก TSR ( บางเอเยนต์ถือว่ากรอซาที่เวียดนามและโซเนียที่เม็กซิโก สลายตัวแล้ว)
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”black”]เรื่องรังสีจักวาลคอสโม จากดาวอังคาร ให้ปิดมือถือ เป็นโจ๊กตลกที่ฝรั่งอำเล่นในวันเมษาหน้าโง่ April Fools’ Day ประจำปี 2008 และเลิกเล่นกันไปนานแล้วทั่วโลก เหลือแต่เมืองไทย ที่ยังนิยมแชร์เรื่องแย่ๆนี้กันต่อไปไม่จบสิ้น[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 อุตุญี่ปุ่นและ JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุกรอซาที่เวียดนามแล้ว 
  • 17:00 ตำแหน่งล่าสุดวันนี้ของดาวหางไอซอน ระยะห่างดวงอาทิตย์ 0.923AUtest5726
  • 15:00 ตำแหน่งล่าสุดของพายุทั้ง 3 ลูกใกล้บ้านเรา ดีเปรสชันกรอซา กำลังจะสลายตัวแถวเวียดนาม พายุโซนร้อนไห่เยี่ยน ทวีกำลังเข้าหาฟิลิปปินส์ และดีเปรสชัน 30W ที่คาดว่าจะมีเส้นทางผ่านอ่าวไทย ค่อยๆทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนแบบช้าๆ 
  • 13:30 ทางการอินโดฯอพยพประชาชนหลายร้อยคน หลังภูเขาไฟ ซินาบัง ในสุมาตราปะทุอีกรอบ 
  • 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุกรอซา (ให้เป็น RMNTS) และให้พายุ 31W เป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า ไห่เยี่ยน (海燕 ภาษาจีน หมายถึงนกนางแอ่น) 
  • 11:00 พายุโซนร้อนกรอซา อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน คาดว่าจะสลายตัวในเวียดนาม ไม่เกิน 24 ชม ข้างหน้านี้  201329W
  • 07:30 โมเดล GFS ของพายุ 30W และ 31W (ในภาพยังมีเส้นทางเดิมของ 29W อยู่) แสดงให้เห็นพายุ 30W จะเคลื่อนไปขึ้นฝั่งทางใต้ของเวียดนามผ่านกัมพูชา ลงอ่าวไทยและข้ามภาคใต้ของไทยออกไปทางอันดามัน ส่วน 31W (ไห่เยี่ยน) จะเอียงขึ้นไปทางอ่าวตังเกี๋ย [wpvp_embed type=youtube video_code=lXleL4fIt8s width=560 height=315]  
  • 06:30 ภาพดาวเทียมของดีเปรสชัน 30W ปกคลุมเหนือน่านฟ้าฟิลิปปินส์ในเวลานี้ 
  • 05:00 ไต้ฝุ่นกรอซา นอกชายฝั่งเวียดนาม ลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนแล้วในเวลานี้
  • 04:00 เส้นทางของดีเปรสชัน 30W คำนวนล่าสุดจาก TSR พายุจะขึ้นฝั่งเวียดนามผ่านกัมพูชาลงอ่าวไทยและผ่านภาคใต้ตอนบนไปถึงอันดามัน201330W-20131104-0400
  • 01:30 ดีเปรสชัน 30W ขึ้นสู่ฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ 
  • ทางการอินโดฯ อพยพคน 1,300 คนหนีการปะทุของภูเขาไฟชินนาบังในเากะสุมาตรา
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

[stextbox id=”black”]ไม่มีคำว่า “ริกเตอร์”  ในข่าวแผ่นดินไหวของ CNN BBC หรือญี่ปุ่น ไม่มีทั้งนั้น เพราะมันผิดหลัก มีแต่คนไทยที่ใช้ [/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 27 ตุลาคม 2556

[stextbox id=”info”]ขนาด กับ ความรุนแรง แตกต่างกันในวิชาแผ่นดินไหว ขนาด ก็เหมือนเบอร์หลอดไฟ
ความรุนแรง ก็เหมือนความสว่าง ซึ่งขึ้นกับว่าเราอยู่ห่างหลอดไฟแค่ไหน
ขนาด ของแผ่นดินไหว มีหลายมาตรา เช่น โมเมนต์,ริกเตอร์,คลื่นผิว ฯลฯ
ความรุนแรง ของแผ่นดินไหว ก็มีหลายมาตรา เช่น ชินโดะ,เมอคัลลีย์ ฯลฯ[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 JMA ประกาศการก่อตัวของดีเปรสชันลูกใหม่ทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ (ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 96W) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเวลานี้ 30 น็อต 
  • 18:30 ซีกโลกใต้ปรากฏพายุลูกแรกของปีหลังดวงอาทิตย์ย้ายลงใต้ พายุโซนร้อน 01S ในมหาสมุทรอินเดีย ทิศทางไปมาดากัสกา 201301S
  • 18:10 ฝนตกนครศรี หาดใหญ่ เชียงราย เชียงใหม่
  • 18:00 สำนักอวกาศอินเดีย จะส่งยานโคจรไปดาวอังคาร บรรทุกไปกับจรวด PSLV (โครงการ C25) โดยมีกำหนดการปล่อยจรวดในวันที่ 6 พ.ย. 56 นี้ เวลา 16:06 ตามเวลาในประเทศไทย หากไม่มีการเลื่อนส่ง  ซึ่งจรวดขับดันรุ่นนี้ จะมีชิ้นส่วนที่ปล่อยทิ้งจำนวน 5 ชิ้น ซึ่งจุดสุดท้ายจะอยู่ใกล้มาทางภาคใต้ ห่างจากพังงาไปทางตะวันตกราว 340 กม เรือและสายการบินโปรดระวัง (เครดิตภาพจาก GISTDA)20131026-pslv-c25
  • 17:29 ฝนยังตกต่อเนื่องแถบ อ.แม่จัน จ.เชียงราย
  • 17:00 JTWC พบการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ 96W แนวโน้มมวีกำลังขึ้น 
  • 14:00 ยืนยันการเปล่งแสงสว่างคล้ายการระเบิดตัวเองของดาวหาง  C/2012 X1 (LINEAR) ในวันที่ 20 ต.ค. 56 ที่ผ่านมา ที่ระยะราว 450 ล้าน กม จากโลก ความสว่างของดาวหางเพิ่มจากแมกนิจูด 14 ไปที่แมกนิจูด 8.5 ในเวลานี้ (สว่างขึ้น150 เท่า วัดค่าโดยฮิเดกาตะ ซาโตะ และไซอิจิ โยชิดะ) ภาพด้านล่างนี้ถ่ายวันที่ 21 ต.ค. 56 ด้วยกล้อง 0.5 เมตรในนิวเม็กซิโก โดย Ernesto Guido, Nick Howes และ Martino Nicolini C_2012 X1_H06_21_October_2013
  • 13:00 พายุหมุนเขตร้อนทุกลูกในแปซิฟฟิคตะวันตก สลายตัวหมดแล้ว 
  • 12:00 ทุ่นสึนามิเฝ้าระวังด้านอันดามัน หมายเลข 23227 ของอินเดียกลับมาทำงานตามปกติแล้ว ของไทยก็ยังเสียต่อไป  23401-23224-20131027
  • 07:50 แม่จัน เชียงราย ฝนปรอย
  • 07:30 ขณะนี้ดาวหาง ISON อยู่ที่ระยะห่าง 1.374 AU จากโลก กำลังตรงไปหาดวงอาทิตย์ test7063
  • 06:00 เขื่อนป่าสักฯลดการระบายน้ำลงจนเกือบหมด เพื่อกักน้ำไว้ใช้หน้าแล้งปีหน้า โดยน้ำในเขื่อนยังสูงกว่าปกติถึง 123%PSKDAM-27OCT13-0600
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • 01:06 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (16.16,97.77) ขนาด 3.7
  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

[stextbox id=”black”]แผ่นดินไหวแมกนิจูดน้อยกว่า 3.9 เทียบได้กับระดับ II ถึงระดับ III ตามมาตราเมอร์คัลลีย์ เต็มที่แค่สะเทือนเหมือนรถบรรทุกวิ่งผ่าน ไม่ควรประโคมข่าวเป็นปัญหาใหญ่โต[/stextbox]

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 12:00 เขื่อนป่าสักฯสามารถรับน้ำได้ 960 ล้าน ลบม หรือ 122% (ไม่รวมที่เผื่อไว้อีกหลาย %) ตามกราฟจะเห็นว่าตอนน้ำท่วมใหญ่ปี 54 (สีเขียว) เขื่อนรับน้ำสูงกว่าขณะนี้อีกมากPSKDAM-01OCT13
  • 11:30 ปริมาณน้ำอ่างขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 33 อ่าง จาก ศูนย์ประมวลฯสชป.12 BVdxDXOCUAEjmnG
  • 11:01 ระดับน้ำที่สถานีวัด N67 ปากแม่น้ำน่าน เพิ่มสูงใกล้คอสะพาน 
  • 11:00 หวู่ติ๊บหมดสภาพเร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดไว้ น่าจะเพราะอากาศเย็นจากจีนที่ลงมาช่วยไว้ทัน ขณะที่ฟิโทว์ที่ฟิลิปปินส์เริ่มทวีกำลังขึ้น
  • 10:38 แผ่นดินไหวขนาด 6.5 บริเวณ Sea of Okhotsk  ที่ความลึก 573 กม.
  • 09:13 กลุ่มเมฆฝนจากพายุหวู่ติ๊บเหนือไทย หายไปแล้ว
  • 08:00 ดาวหางไอซัน เข้ามาถึงระยะดาวอังคารแล้ว (1.651AU) แต่ความสว่าง ไม่ประทับใจเหมือนที่นาซาจั่วหัวไว้ก่อนหน้านี้ test5589
  • 06:00 เขื่อป่าสักฯเพิ่มอัตราการระบายมาที่ 400 ลบม./วินาที PSK-01OCT13-0600
  • 06:00 ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญทั่วไทยเวลานี้ 
  • 04:00 พายุโซนร้อนหวู่ติ๊บอยู่ที่พิกัด N18°25′ E103°10′ ในเขตลาว ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 64 กม/ชม หรือ 35 น็อต (อุตุญี่ปุ่น) JMA-WUTIP-20131001-0400JMA-WUTIP-20131001-0510
  • 03:00 ดีเปรสชัน 22W ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า ฟิโทว์
  • 01:00 พายุโซนร้อนหวู่ติ๊บอยู่ที่พิกัด 17.9,104.4 ในเขตลาว ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 65 กม/ชม (อุตุเวียดนาม)VN-WUTIP-FINAL
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้า / บ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 JMA รายงานพิกัดล่าสุดของพายุดีเปรสชันทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ที่ N14° E128° 
  • 11:40 ทาง ปภ. ให้เหตุผลที่ทุ่น 23401 หยุดส่งสัญญาณว่า เป็นเพราะเสาอากาศของทุ่นหลุดลอยหายไป ตอนนี้กำลังประสานงานให้ทางอินเดียหรืออเมริกาช่วยตามหา เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงและอยู่ไกลฝั่งมาก เบื้องต้นเราจะตามสัญญาณจากทุ่นเตือนสึนามิของอินเดียหมายเลข 23227 ซึ่งอยู่ใกล้เคียงไปก่อน (ทุ่นตัวนี้ก็ส่งสัญญาณขาดๆหายมาตั้งแต่เดือนก่อนเหมือนกัน) 23227
  • 11:30 ทุ่นเตือนสึนามิ 23401 ในความรับผิดชอบของไทย หยุดส่งสัญญาณเป็นวันที่ 4 23401-20130825
  • 11:00 ทั้งพายุพีวา และอีโว ลดกำลังลงเป็นดีเปรสชัน มีแนวโน้มจะสลายตัว TSR-20130825-1100
  • 10:00 อุตุนิยมญี่ปุ่นหรือ JMA ประกาศการก่อตัวของพายุดีเปรสชันจากหย่อมความกดอากาศต่ำทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ (91W) แล้ว  
  • 09:30 หย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ที่ฟิลิปปินส์ทวีกำลังขึ้นเป็น HIGH มีแนวโน้มจะกลายเป็นพายุดีเปรสชันลูกต่อไป (14W) 
  • ขณะนี้ ดาวหาง ISON อยู่ที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 2.291 AU ISON-20130525
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง /
    หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก USGS (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณอเมริกาและใกล้เคียง)

  • เมื่อ 23.33 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ นอกชายฝั่ง ทางเหนือของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 16.60 กม.
  • เมื่อ 23.07 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.4 บริเวณ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสันเขากลางมหาสมุทรอินเดีย ที่ความลึก 14.60 กม.
  • เมื่อ 21.25 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ ใกล้ชายฝั่งตะวันออกของ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 52.90 กม.
  • เมื่อ 20.56 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.2 บริเวณ ทางตะวันออกของ ประเทศอิหร่าน ที่ความลึก 34.40 กม.
  • เมื่อ 20.33 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.7 บริเวณ New York ที่ความลึก 10.20 กม.
  • เมื่อ 19.33 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ Spain ที่ความลึก 1.30 กม.
  • เมื่อ 19.00 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ ทางใต้ของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 6.50 กม.
  • เมื่อ 16.58 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.3 บริเวณ United Kingdom ที่ความลึก 5.00 กม.
  • เมื่อ 16.34 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ เปอร์โตริโก ที่ความลึก 29.00 กม.
  • เมื่อ 16.18 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ ใกล้ชายฝั่งตะวันออกของ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 57.80 กม.
  • เมื่อ 15.28 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.1 บริเวณ ทางเหนือของ ประเทศโคลอมเบีย ที่ความลึก 176.10 กม.
  • เมื่อ 14.39 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 บริเวณ ตอนกลางของ อลาสกา ที่ความลึก 108.50 กม.
  • เมื่อ 14.35 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7 บริเวณ สาธารนรัฐโดมินิกัน ที่ความลึก 113.00 กม.
  • เมื่อ 14.17 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.3 บริเวณ ทางใต้ของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 5.10 กม.
  • เมื่อ 13.32 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ ทางเหนือของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 3.40 กม.
  • เมื่อ 13.32 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.4 บริเวณ ทิศใต้ของ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 9.90 กม.
  • เมื่อ 11.00 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 บริเวณ นอกชายฝั่งด้านตะวันตกของ เกาะสุมาตราเหนือ ที่ความลึก 28.80 กม.
  • เมื่อ 10.47 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.7 บริเวณ ตอนกลางของ อลาสกา ที่ความลึก 61.20 กม.
  • เมื่อ 10.08 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ นอกชายฝั่ง ประเทศกัวเตมาลา ที่ความลึก 34.30 กม.
  • เมื่อ 09.16 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ Luzon ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ความลึก 35.00 กม.
  • เมื่อ 08.01 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.2 บริเวณ ทิศเหนือของทิศตะวันออกของ ประเทศไต้หวัน ที่ความลึก 10.00 กม.
  • เมื่อ 07.04 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ ทางตะวันออกของ เกาะนิวกินี ประเทศปาปัวนิวกินี ที่ความลึก 108.90 กม.
  • เมื่อ 06.25 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.1 บริเวณ ทางใต้ของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 9.10 กม.
  • เมื่อ 05.00 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ Primor’ye ประเทศรัสเซีย ที่ความลึก 361.20 กม.
  • เมื่อ 03.19 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.7 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 0.00 กม.
  • เมื่อ 02.31 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ หมู่เกาะเวอร์จิน ที่ความลึก 26.00 กม.
  • เมื่อ 01.59 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ Honduras ที่ความลึก 5.80 กม.
  • เมื่อ 01.55 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ ตอนกลางของ อลาสกา ที่ความลึก 0.00 กม.
  • เมื่อ 01.48 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ ตอนกลางของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 0.90 กม.
  • เมื่อ 00.47 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.0 บริเวณ เปอร์โตริโก ที่ความลึก 23.00 กม.
  • เมื่อ 00.20 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.6 บริเวณ ตอนกลางของ อลาสกา ที่ความลึก 35.10 กม.
  • เมื่อ 00.18 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.4 บริเวณ Sicily ประเทศอิตาลี ที่ความลึก 10.00 กม.

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 24 กรกฎาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:30 ระดับน้ำในคลองใหญ่ตอนกลาง บ้านศรีบัวทอง อ.เขาสมิง จ.ตราด สถานี Z10 ล้นตลิ่งแล้วในเวลานี้
  • 23.25 ระดับ ถ.มหาราช เทศบาลเมืองจันท์ น้ำลดลงทีละนิด ถนนบางสายแห้งแล้ว น้ำในแม่น้ำจันท์ทรงตัว 
  • 23:00 พายุดีเปรสชัน 04N ในมหาสมุทรแอตแลนติก ยกระดับเป็นพายุโซนร้อนได้ชื่อเรียกว่า ดอเรียน Dorian กำลังเคลื่อนไปทางเหนือของเวเนซูเอลา 201304N
  • 17:07 เมืองเชียงราย ฝนตก
  • 15:30 หย่อมความกดอากาศต่ำ 98L ในมหาสมุทรแอตแลนติค ก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชัน 04N 
  • 15:00 ระดับน้ำที่ทางเข้าตลาดน้ำพุ อ.เมือง จันทบุรี (เครดิตภาพ @eakkasit
  • 14:30 มีหย่อมความกดอากาศต่ำ 3 หย่อมเลขเดียวกันที่อยู่ในการจับตามมองของนักอุตุทั่วโลกเวลานี้ คือ 98W แถวเวียดนาม ที่ตอนนี้หายไปแล้ว 98E ทางตะวันตกของเม็กซิโก และ 98L ในแอตแลนติก โดย 2 หย่อมหลังมีโอกาสพัฒนาเป็นพายุดีเปรสชันสูงมาก
  • 14:00 จุดวัดระดับน้ำ Z57 สะพานวัดจันทนาราม อ.เมืองจันทบุรี ระดับน้ำล้นตลิ่งมากกว่า 37 cm ท่วมถนน
  • 13:30 เขตเทศบาลเมืองจันทบุรี ฝนตก | น้ำท่วมขังลดลงไปต่ำกว่าทางเดินเท้าแล้ว
  • 12:00 จุดวัดระดับน้ำ Z57 สะพานวัดจันทนาราม อ.เมืองจันทบุรี ระดับน้ำล้นตลิ่งมากกว่า 34 cm ท่วมถนน
  • 11:50 ระดับน้ำสามแยกโรงเรียนบุญสมทางไปสุขุมวิทสายใหม่ยังสูงอยู่ 
  • 10:18 ระดับน้ำในเขตเทศบาลเมืองจันท์ ย่านตลาดการค้า เริ่มลดลงแล้ว (เครดิตภาพ @Pacharapapon)
  • 10:13 ระดับน้ำบริเวณถ.เทศบาล 3 อ.เมือง จันทบุรี  (เครดิตภาพ @Pacharapapon)
  • 08:00 จุดวัดระดับน้ำ Z57 สะพานวัดจันทนาราม อ.เมืองจันทบุรี ระดับน้ำล้นตลิ่งมากกว่า 21 cm ท่วมถนน
  • 07:00 หน้าโรงเรียนเบญจมานุสรณ์  ต.ตลาด, อ.มือง จันทบุรี  (เครดิตภาพ คุณ New Newnew) 
  • 05:00 โรงเรียนที่ปิดวันที่ 24 ก.ค.56 จากน้ำท่วมใน จ.จันทบุรี
    • โรงเรียนตังเอ็ง
    • โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 1 และ 2
    • โรงเรียนเบญจมราชูทิศจันทบุรี
    • โรงเรียนศรียานุสรณ์ (แจ้งนักเรียนชั้น ม.1 , ม.4 , ม.5 ตารางสอบวันที่ 24 ก.ค.56 เปลี่ยนเป็นวันที่ 31 ก.ค.56 แทน )
    • โรงเรียนสฤษดิเดช
    • โรงเรียนอำนวยวิทย์
    • วิทยาลัยออมสินจันทบุรี
    • โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า
    • มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี
    • โรงเรียนลาซาล
    • โรงเรียนอำนวยวิทย์ , โรงเรียนอำนวยวิทย์พัฒน์
    • โรงเรียนยอแซฟวิทยา อ.ท่าใหม่
    • วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี
    • สถานรับเลี้ยงเด็กบ้านยอเซฟพิทักษ์
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่าคลองกุ้ง
    • วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี ปิดเรียน 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 24-26 ก.ค. 56
    • โรงพยาบาลเมือง สาขาโรงพยาบาลพระปกเกล้า ตรงสี่แยกไฟแดงศาลากลางของดให้บริการในวันที่ 24 ก.ค 56 ตั้งแต่เวลา 8.00-12.00 น. หากเหตุการณ์เข้าสู่สภาวะปกติจะเปิดให้บริการ
    • สพป.จบ. เขต 1 เลื่อนการอบรมการใช้แท็บเล็ต ของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากเดิมวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2556 ณ โรงแรมมณีจันทร์รีสอร์ทออกไปอย่างไม่มีกำหนด
  • 04:00 ระดับน้ำในตัวเมืองตราด ลดลงสู่ภาวะปกติแล้ว แต่พื้นที่รอบนอกยังมีปัญหา
  • 01:30 จุดวัดระดับน้ำ Z57 สะพานวัดจันทนาราม อ.เมืองจันทบุรี ระดับน้ำเข้าสู่สถานการณ์วิกฤต ทางจังหวัดจันทบุรีได้ปรับเปลี่ยนธงเป็นสีแดงแล้วแล้วในขณะนี้ ส่วนในบริเวณย่านริมน้ำจันทบูร ย่านวัดโรมัน ระดับน้ำท่วมผิวจราจรแล้ว Z57-24071312.6135158327467 102.114207744598 - Google Maps
  • เยอรมนีร้อนจัด โดยอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศ 30°C ขณะที่นครแฟรงก์เฟิร์ต โคโลญ และมิวนิก อุณหภูมิสูง 35°C ปชช.หลายคนล้มป่วย
  • NASA ปล่อยภาพดาวหาง ISON จากกล้อง Spitzer Space Telescope ของ NASA  ถ่ายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ที่ระยะ 502 ล้าน กม. จากดวงอาทิตย์ให้ได้ชม โดยแสดงภาพเป็น 2 ช่วงคลื่นแสง ด้านซ้ายแสดงให้เห็นหางฝุ่น ซึ่งเริ่มยืดออกตามแรงของลมสุริยะ ด้านขวาแสดงให้เห็นกลุ่มแก้สที่หุ้มหัวของดาวหาง ซึ่งเป็นน้ำแข็งแห้งหรือ CO2 ที่ระเหิดออกราว 1 ล้านกิโลกรัมต่อวัน (เครดิตภาพ Credit: NASA/JPL-Caltech/JHUAPL/UCF )comet-ison-spitzer-images
  • ดาวเคราะห์น้อย 2013 NE19 ขนาดราว 93 เมตร กำลังเข้าใกล้โลกที่ระยะ 11 เท่าของระยะระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ด้วยความเร็ว 28.57 กิโลเมตร/วินาที แรงปะทะ 123 เมกกะตัน 
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้  ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี PKDT ภูเก็ค  (CMMT เชียงใหม่เสีย ) ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

  • เมื่อ 23.46 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ ตอนกลางของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 3.00 กม.
  • เมื่อ 23.33 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ เปอร์โตริโก ที่ความลึก 35.00 กม.
  • เมื่อ 22.32 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 บริเวณ ประเทศไต้หวัน ที่ความลึก 2.50 กม.
  • เมื่อ 21.56 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.6 บริเวณ กลุ่มเกาะแอนเดรียน หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 22.20 กม.
  • เมื่อ 21.47 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.0 บริเวณ ประเทศไต้หวัน ที่ความลึก 6.80 กม.
  • เมื่อ 20.59 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.6 บริเวณ กลุ่มเกาะแอนเดรียน หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 55.00 กม.
  • เมื่อ 18.52 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 บริเวณ โอกลาโฮมา ที่ความลึก 5.00 กม.
  • เมื่อ 18.03 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0 บริเวณ Cook Strait ประเทศนิวซีแลนด์ ที่ความลึก 17.60 กม.
  • เมื่อ 17.00 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.2 บริเวณ Michoacan ประเทศเม็กซิโก ที่ความลึก 35.30 กม.
  • เมื่อ 11.45 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ ทางใต้ของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 13.60 กม.
  • เมื่อ 10.57 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ ตอนกลางของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 6.30 กม.
  • เมื่อ 10.32 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 บริเวณ ทิศใต้ของ หมู่เกาะฟิจิ ที่ความลึก 166.90 กม.
  • เมื่อ 09.24 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 บริเวณ สาธารนรัฐโดมินิกัน ที่ความลึก 97.00 กม.
  • เมื่อ 08.47 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 บริเวณ หมู่เกาะริวกิว ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 27.60 กม.
  • เมื่อ 07.30 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.9 บริเวณ ประเทศวานูอาตู ที่ความลึก 35.30 กม.
  • เมื่อ 07.13 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ ทางเหนือของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 9.60 กม.
  • เมื่อ 05.36 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ นอกชายฝั่ง Tarapaca ประเทศชิลี ที่ความลึก 33.70 กม.
  • เมื่อ 04.30 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.4 บริเวณ นอกชายฝั่ง Tarapaca ประเทศชิลี ที่ความลึก 21.90 กม.
  • เมื่อ 04.12 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ นอกชายฝั่ง Tarapaca ประเทศชิลี ที่ความลึก 33.00 กม.
  • เมื่อ 03.16 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ นอกชายฝั่ง Tarapaca ประเทศชิลี ที่ความลึก 30.90 กม.
  • เมื่อ 02.35 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 บริเวณ Kepulauan Babar ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 30.80 กม.
  • เมื่อ 01.41 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.6 บริเวณ รัฐเนวาดา ที่ความลึก 9.50 กม.
  • เมื่อ 00.27 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 บริเวณ นอกชายฝั่ง Tarapaca ประเทศชิลี ที่ความลึก 19.20 กม.