รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 10 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 กราฟแผ่นดินไหวที่เขื่อนศรีนครินทร์บันทึกสัญญาณได้ดังภาพด้านล่าง และจนเที่ยงคืนแล้วทางกรมอุตุยังไม่มีคำตอบเรื่องนี้ พบที่มาว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาด 5.8 บริเวณ เกาะสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 35.10 กม. เมื่อ 20.47 ตามเวลาไทย คลื่นส่งแรงมาถึงตัววัดที่เมืองกาญจน์ ทางกรุมอุตุ ได้ใช้รายงานจาก Geofon แสดงผลในส่วนของแผ่นดินไหวทั่วโลกไปแล้ว จึงไม่ได้มาขึ้นในรายงานแผ่นดินไหวของไทยและใกล้เคียง (ซึ่งควรจะขึ้น เพราะสุมาตรากับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีผลต่อกันแน่นอน)
  • 19:00 พายุไซโคลน Naraelle ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางล่าสุด 75 น็อต เส้นทางพายุที่ได้รับการคาดการณ์ล่าสุดโดย TSR จะไปสลายตัวใกล้เมืองเพิร์ชของออสเตรเลีย 
  • 15:00 ยาน SDO ถ่ายภาพกลุ่มจุดดำหมายเลข 1654 ทางฝั่งตะวันออกของดวงอาทิตย์ ที่ขณะนี้กำลังหันหน้ามายังโลก กลุ่มจุดดำนี้ประกอบด้วยจุดดำขนาดใหญ่กว่าโลก 4 เท่าจำนวน 2 กลุ่ม เชื่อมต่อกันด้วยแม่เหล็กความเข้มสูง มีโอกาส 40% ที่จะปะทุที่ระดับ M ซึ่งไม่ส่งผลร้ายใดต่อโลกแต่เป็นที่คาดหวังของนักดูแสงออโรราในแถบซีกโลกเหนือที่จะได้เห็นแสงเหนือสวยๆ
  • 05:00 พายุไซโคลนนาเรลเล Narelle ยังคงเคลื่อนตัวลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลียอย่างช้าๆด้วยความเร็วในการเคลื่อนที่ราว 8 น็็อต
  • 04:00 พายุโซนามูสลายตัวแล้ว
  • 01:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 94W ที่ฟิลิปปินส์ กำลังจะฟอร์มตัวเป็นพายุ ล่าสุดความกดอากาศลดลงเหลือ 1002 hPa
  • ดาวเคราะห์น้อย (99942 Apophis หรือ 2004MN4) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 38 เท่าของดวงจันทร์: ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 270 เมตร ความเร็ว 4.09 กม./วินาที พลังงาน 62 เมกกะตัน .

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 9 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 ฝนหนักถล่มเท็กซัส มีถนนอย่างน้อย 18 สายในซานแอนโตนิโอ ที่ต้องปิดเพราะน้ำท่วม
  • 17:00 พายุโซนร้อน  NARELLE ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไซโคลน มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุ 65  น็อต
  • 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุดีเปรสชันโซนามูแล้ว โดยให้เป็นส่วนที่หลงเหลือ หรือ RMNTS 
  • 06:30 กราฟ SN ล่าสุดออกมาแล้ว จุดสุดท้ายของกราฟที่เว้นว่างไว้ท้ายปี 2012 ได้รับการเติมเต็ม จะเห็นว่าจำนวนจุดดับบนดวงอาทิตย์ปลายปี 2012 ลดต่ำลงอย่างไม่น่าเชื่อเหลือไม่ถึง 40 จุด  ซึ่งขัดแย้งกับคำทำนายเรื่องวันสิ้นโลกเป็นอย่างมาก และต่ำกว่าการประเมิณของนาซาเองอีกด้วย (เส้นสีแดงคือการประเมินจำนวนจุดดับที่ควรเป็น ) ซึ่งการลดต่ำมากๆของจุดดับไม่ใช่เรื่องดี เพราะหากมีผลไปจนลมสุริยะลดความเร็วลงต่ำเป็นเวลานาน อาจทำให้เกราะป้องกันระบบสุริยะหรือ heliosphere ลดกำลังลง เปิดโอกาสให้อนุภาคแปลกปลอมจากภายนอกระบบสุริยะ หลุดเข้ามาได้มากกว่าปกติ อนุภาคพวกนี้คือสิ่งที่เรียกรวมๆกันว่ารังสีคอสมิค ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตหากทะลุเกราะป้องกันด่านที่สองและสามคือสนามแม่เหล็กและชั้นบรรยากาศโลกลงมาได้
  • 04:10 พายุดีเปรสชันโซนามูอาจสลายตัวก่อนขึ้นฝั่งเกาะบอร์เนียว ล่าสุดลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเหลือเพียง 20 น็อต
  • วันนี้ กรมชลฯ ระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล 313 ลบ.ม./วิ สิริกิติ์ 294 ลบ.ม./วิ  แควน้อย 39 ลบ.ม./วิ นเรศวร 180  ลบ.ม./วินครสวรรค์ 483 ลบ.ม./วิ เจ้าพระยา 64 ลบ.ม./วิ บางไทร 142 ลบ.ม./วิ ป่าสัก 40 ลบ.ม./วิ พระรามหก 8 ลบ.ม./วิ
  • ออสเตรเลีย – ขณะนี้เป็นหน้าร้อน สภาพอากาศร้อนจัดกว่า 40.3°C อากาศแล้งและลมแรง ทำให้ทั่วออสเตรเลียเผชิญไฟป่าที่ลุกลามไปในหลายพื้นที่ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6  โดยได้เกิดไฟป่าเพิ่มขึ้นในรัฐนิวเซาท์เวลล์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย รวมเกิดไฟป่าแล้ว 130 จุด และยังไม่สามารถควบคุมได้กว่า 40 จุด
  • เชียงใหม่   ประกาศพื้นที่ภัยหนาว 18 อำเภอ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD) (วัดความลึกไม่ได้)

  • 08:41 แผ่นดินไหว พรมแดนพม่า-อินเดีย (25.49,94.79) ขนาด 5.9 

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 8 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]ดวงอาทิตย์ปะทุขนาด X6.9 ครั้งสุดท้ายเมื่อ 11:05 เวลาไทย ของวันที่ 9 สิงหาคม 2554 จากจุดดับหมายเลข 1263 ถือว่าแรงที่สุดในรอบหลายปี แต่ไม่ปรากฏมีอะไรบนโลกเสียหาย ไม่มีแผ่นดินไหวสำคัญในวันนั้นหรือช่วงเวลาของวันที่เกี่ยวข้องกับวันนั้น นอกจากแผ่นดินไหวที่เกิดตามปกติทุกวัน [/stextbox]

  • 19:30 พายุโซนร้อนโซนามู ลดกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันรอบที่ 2 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุเหลือ 30 น็อต
  • 16:00 พายุโซนร้อน 08S ทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ได้ชื่อเรียกแล้วว่า NARELLE ทิศทางเลื่อนตัวลงใต้ ยังไม่มีแนวโน้มจะขึ้นฝั่ง
  • 13:30 พายุดีเปรสชันโซนามู ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนอีกครั้งแล้วเลี้ยวเข้าหาประเทศมาเลเซียทางด้านเกาะบอร์เนียว หลังจากทำท่าจะสลายตัวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา 
  • 11:00 จับตาหย่อมความกดอากาศต่ำ 94W ที่ฟิลิปปินส์ อาจทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน
  • 08:05 ภาพดวงอาทิตย์ล่าสุดจากยาน SDO ในย่านแสง AIA 171 แสดงจุดดับล่าสุดทั้งหมดพร้อมการระบุว่าบริเวณในเป็นแม่เหล้กขั้วเดียว (alpha) แม่เหล็กสองขั้ว (beta) หรือ กลุ่มจุดดับแบบแม่หล็กขั้วผสมภายใต้อิทธิพลแม่เหล็กสองขั้ว (BG)
  • 08:00 กรุงเทพ 25°C มุกดาหาร 20°C สกลนคร 20°C อุบล 22°C น่าน 17°C ลำปาง 16°C

[stextbox id=”info”]วัฏจักรของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ มีอายุเป็นสองเท่าของวัฏจักรของจุดดำ คือประมาณ 22.2 ปี[/stextbox]

  •  07:30  พายุดีเปรสชั่นโซนามู แนวโน้มจะขึ้นฝั่งที่เกาะ Bunguran Barat และสลายตัวใน 24 ชม ข้างหน้านี้
  • 03:00 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลียก่อตัวเป็นพายุโซนร้อน 08S ทิศทางมุ่งลงใต้ไปทางเมือง Onslow 
  • 00:10  พายุโซนร้อนโซนามู ลดความเร็วลมเหลือ 30 น็อต กลายเป็นพายุดีเปรสชั่น แนวโน้มสลายตัวใน 36 ชม 
  •  จีน – อุณหภูมิเฉลี่ยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลดลงอีก สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 43 ปีที่ – 15.3°C ในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมานี้
  •  เลบานอน -เกิดพายุฝน กระแสลมแรงจัด ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ต้นไม้หักโค่นเป็นจำนวนมาก ไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่ การจราจรกลายเป็นอัมพาต โดยเฉพาะในกรุงเบรุต
  • พื้นที่ภูเขาเส้นทางที่จะไปยังกรุงดามัสกัสของซีเรีย ต้องปิดใช้งาน เพราะมีหิมะตกหนัก

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 7 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 17:00 พายุโซนร้อนโซนามู ลดความเร็วลมเหลือ 35 น็อตและเปลี่ยนทิศทางลงใต้กระทันหัน รูปแบบนี้จะส่งผลต่อไทยน้อยลงมาก
  • 11:00 ภาพจากดาวเทียม MTSAT-2 แสดงลักษณะพายุโซนร้อนโซนามู เคลื่อนมาถึงใต้แหลมญวนแล้ว ส่งผลให้มีฝนตกทั่วไปในเวียดนาม
  • 07:45 JMA คาดการณ์ว่าพายุโซนามูจะสลายตัวในวันที่ 9 มกราคมนี้ ล่าสุดศูนย์กลางพายุอยู่ที่พิกัด N6°40′(6.7°) E108°25′(108.4°) ความกดอากาศ 994hPa เคลื่อนตัวในทิศแปดนาฬิกาช้าๆ
  • 06:30 พายุโซนร้อนโซนามู ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 40 น็อต แนวโน้มอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ 
  • ดวงอาทิตย์ สิวเพียบ กลุ่มของจุดดับยังคงทวีจำนวนขึ้น แต่ปฏิกิริยาถือว่าต่ำมากหากเทียบกับจำนวนจุดดับมากขนาดนี้ เหมือนเป็นสิวผด  ไม่อักเสป ไม่แตก หลังกลุ่มของจุดดับเกิดใหม่ทางขอบตะวันออกเช่น 1652 1653 ยังมีจุดอื่นอีก แต่ที่จับตาดู คือสิวอักเสปหมายเลข1650 ที่ปะทุระดับกลางๆไปวานนี้
  • หมอกลงหนาจัด ปกคลุมพื้นที่มณฑลเสฉวน ทางตอนใต้ของประเทศจีนตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ต้องยกเลิกเที่ยวบินกว่า 180 เที่ยว ผู้โดยสารตกค้างกว่า 15,000 คน

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 6 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:00 พายุโซนามู ลดความเร็วลมจาก 45->40 น็อต แนวโน้มอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ
  • 18:00 พายุ Dumile ดูไมล์ ในมหามุทรอินเดีย สลายตัวแล้ว
  • 13:30 TSR ประเมิณเส้นทางล่าสุดของพายุโซนร้อนโซนามุ พายุจะสลายตัวเร็วกว่าเดิม คือในวันที่ 9 มกราคม 
  • 13:00 JTWC พบหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดใหม่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย มีโอกาสก่อตัวเป็นพายุ 
  • 12:00 PAGASA จับตาการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ 94W ใกล้เกาะมินดาเนา ซึ่งมีแนวโน้มพัฒนาเป็นดีเปรสชันลูกต่อไป
  • 11:40 ภาพจากกล้องชายหาดที่หลังสวน จ.ชุมพร (AWS11) ทะเลสงบ และที่เกาะตะเภาน้อย (AWS14 ) ก็สงบเช่นกัน 
  • 11:00 พายุโซนามู ความเร็วลมยังอยู่ที่ 45 น็อต เคลื่อนตัวมาทางตะวันตกเล็กน้อย การประเมิณทิศทางล่าสุดของ TSR พายุจะไม่ขึ้นฝั่งประเทศใด แต่จะสลายตัวในทะเลทางตะวัยออกของมาเลเซียในช่วงวันที่ 11 มกราคมนี้
  • จุดดับบนดวงอาทิตย์เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ล่าสุดอยู่ที่ 12 กลุ่มจุดคือหมายเลข 1640 ถึง 1651 มี แต่ละกลุ่มจุดมีหน่วยย่อยรวมแล้วทั้งหมด 181 จุด (SN
  • 00:10 พายุโซนร้อนดูไมล์ทางตะวันออกของมาดากัสการ์ลดกำลังลงเรื่อยๆ มีแนวโน้มว่าจะสลายตัว
  • ภาพการปะทุ M1.7 ครั้งแรกของปี 2013 เมื่อเวลา 16:34 วานนี้ ซึ่งทางฝั่งยุโรปสามารถตรวจจับคลื่นในบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ของโลกได้ ตามนี้

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • 22:08 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (20.23,95.73) ขนาด 3.3 ห่าวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 256 กม.

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 5 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]เส้นทางพายุจะเปลี่ยนทุก 3-6 ชั่วโมง โปรดติดตามข้อมูลบ่อยๆ อย่าปักใจเชื่อว่าจะมีเส้นทางตามเดิมตลอดไป[/stextbox]

  • 22:00 พายุโซนร้อนโซนามุ ทวีความเร็วลมขึ้นจาก 40 เป็น 45 น็อต และทิศทางพายุล่าสุดจาก TSR พายุจะหันหัวออก ไม่ขึ้นฝั่งไทย หรือมาเลเซีย 
  • 18:40 พายุโซนร้อนโซนามุ เคลื่อนออกมาทางตะวันตกอีกเล็กน้อย แนวทางเดินพายุปรับล่าสุดจากทาง TSR ยังคงไปขึ้นฝั่งที่นราธิวาส 
  • 17:58 WCATWC ยกเลิกการเฝ้าระวังสึนามิทั้งหมดแล้ว ตามเอกสารนี้
  • 17:08 USGS ปรับลดขนาดแผ่นดินไหวที่อลาสกาจาก 7.7->7.5
  • 17:01 WCATWC ออกประกาศเตือนสึนามิบริเวณบริติซโคลัมเบีย ตามเอกสารนี้
  • 16:55 คลื่น Body Wave จากแผ่นดินไหวที่อลาสกา เดินทางมาถึงสถานีวัด CHTO ของ IRIS ที่เชียงใหม่ 
  • 16:50 เกิดการปะทุขนาด M1.7 บนดวงอาทิตย์ จากจุดดับใหม่ล่าสุดหมายเลข 1650 ทิศทางไม่ตรงกับโลก (บางสถานีบันทึกได้เวลา 16:34)
  • 16:46 PTWC ออกเอกสารเตือนไปที่ฮาวาย กดอ่าน ระดับของสึนามิที่เกิดจะไม่แตกต่างจากความสูงปกติของน้ำทะเล
  • 16:43 PTWC ออกเอกสารเตือนสึนามิแปซิฟิกฉบับที่ 2 กดอ่าน ระบุว่ามีสึนามิเกิดขึ้นแล้วหลังจากพบระดับน้ำทะเลผิดปกติเล็กน้อยจากทุ่น DART เช่นหมายเลข 46410  โดยเอกสารได้เตือนไปที่ชายฝั่งใกล้เคียงให้ระวังคลื่นขนาดเล็ก  ขนาดราว 13 ซม. อย่างไรก็ตาม เอกสารนี้ไม่หมายรวมไปถึงคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ (เมเจอร์) ใดๆ
  • 15.58 แผ่นดินไหวขนาด 7.7 บริเวณ ทิศใต้ของทางตะวันออกของ อลาสกา ที่ความลึก 9.60 กม. เบื้องต้น PTWC ไม่เตือนสึนามิ ตามเอกสารนี้ 
  • 10:30 พายุโซนร้อนโซนามู ทวีความเร็วลมขึ้นเป็น 40 น็อต ทิศทางเปลี่ยนไปเล็กน้อย โดยทาง TSR คาดการล่าสุดว่าอาจจะเข้านราธิวาสในสภาพดีเปรสชัน
  • 10:00 โมเดลเส้นทางพายุจากอุตุฯญี่ปุ่น JMA (อุตุไทยมักใช้ข้อมูลจากที่นี่) คาดว่าพายุโซนร้อนโซนามุจะไปถึงมาเลเซียในวันที่ 8  (เวลาดูโมเดลพายุ เส้นประวงๆที่เห็นคือ “ความเป็นไปได้” ที่พายุจะเปลี่ยนทางไป ไม่ใช่ขนาดของพายุ โปรดระวังการใช้งาน
[stextbox id=”info”]ลำดับการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อน เรียงจากความเร็วลม เบาไปแรง ดังนี้ 1.หย่อมความกดอากาศต่ำ -> 2.พายุดีเปรสชัน -> 3.พายุโซนร้อน -> 4.พายุไต้ฝุ่นหรือไซโคลนหรือเฮอริเคนแล้วแต่เกิดโซนไหนของโลก[/stextbox]
  • 07:00 กรุงเทพ 23°C จันทบุรี 21°C สุราษฎ์ 23°C เชียงใหม่ 20°C ชัยภูมิ 20°C พะเยา 19°C  อุบล 18°C สกลนคร 17°C ขอนแก่น 17°C ลำปาง 17°C แพร่ 17°C แม่ฮ่องสอน 17°C เลย 16°C มุกดาหาร 16°C นครพนม 15°C
  • 06:45 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำ ความเร็วลมสุริยะ 341  km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 05:30 พายุโซนร้อนโซนามุ หันลงใต้เล็กน้อย ตำแหน่งล่าสุดอยู่เกือบกลางทะเลจีนใต้ ทิศทางยังคงมุ่งไปที่ประเทศมาเลเซีย 
  • 04:00 พายุไซโคลนดูไมล์ที่เกาะมาดากัสกา ลดความเร็วลมลงเป็นพายุโซนร้อน 
  • นราธิวาส – ปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมในพื้นที่ 13 อำเภอ ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายหลักมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่แม่น้ำโก-ลก ซึ่งรับน้ำป่ามาจากคลองบูเก๊ะตา อ.แว้ง ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.50 เมตร ทำให้ขณะนี้ประชาชนในชุมชนท่าก่อไผ่ ชุมชนหัวสะพาน และชุมชนบ้านบือเร็ง จำนวน 8 ครัวเรือน รวม 32 คน ต้องอพยพไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยโรงเรียนเทศบาล 4 เป็นการชั่วคราว
  • บราซิล– มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ไร้ที่อยู่อาศัยหลายร้อยคนจากฝนที่ตกหนักมากในหลายวันที่ผ่านมา
  • ออสเตรเลีย – มีผู้เสียชีวิต 1 รายจากไฟป่าในเขตทาสมาน 
  • ภาพผิวดวงอาทิตย์ EUVI/AIA ในช่วงแสง 195A แสดงกลุ่มของจุดดับในด้านหน้าของดวงอาทิตย์ (ลองติจูด -90 ถึง +90) และด้านหลัง (ลองติจูด +-90 ถึง +-180) ปฏิกิริยาที่มีทิศทางตรงกับโลก (เฉพาะพวกที่เดินทางด้วยความเร็วแสง) จะอยู่ในช่วงลองติจูด -30 ถึง +30 (ในจุดดับ 1 หมายเลขจะมีจุดดับย่อยๆตั้งแต่ 1 ถึงหลายสิบจุด) ปฏิกิริยาอื่นในส่วนของ CME ให้ระวังจุดดับด้านซ้ายของภาพมากกว่าด้านขวา เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์
  • ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคายลดต่ำ ทำให้มองเห็นฐานขององค์พระธาตุกลางน้ำแล้วเกือบ 2 เมตร

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

[stextbox id=”info”]มาตราริกเตอร์ เป็นหนึ่งในหลายๆมาตราที่ใช้วัดแผ่นดินไหว แต่ไม่ใช่หน่วยแบบกิโลกรัมหรือเมตร การพูดว่า 4.5 ริกเตอร์ หรือ 5 ริกเตอร์ เป็นการพูดที่ผิด เราควรใช้คำว่า แผ่นดินไหวขนาด 4 ตามมาตราริกเตอร์ วิธีเขียนคววรเขียน แผ่นดินไหวขนาด 4.5 หรือ M4.5 เฉยๆถ้าไม่แน่ใจว่าขณะนั้นอ้างมาตราไหน[/stextbox]