รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 17:50 ทั่วโลกยังไม่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนทุกชนิด ในทุกมหาสมุทร 
  • 07:30 กทม 26°C ชัยภูมิ 20°C เชียงใหม่ 24°C ฝนตก เชียงราย 22°C ฟ้าปิด น่าน 21°C เลย 18°C ร้อยเอ็ด 18°C หนองคาย 20°C ตรัง 27°C อุดร 19°C
  • 07:00 หย่อมความกดอากาศในพม่าต่อเนื่องถึงภาคเหนือของไทย ทำให้มีฝนตกในเชียงใหม่และอีกหลายจังหวัด 
  • 06:30 จากมุมมองของกล้อง LASCO C3 ส่วนหัวของดาวหางไอซอนที่ดูเหมือนจะเสียหายได้กลับปรากฏขึ้นเปล่งแสงอีกครั้งจากอีกด้านของแผ่นบังแสง20131128_2330_c3_512
  • 04:48 ดูเหมือนส่วนของดาวหางไอซอนที่โผล่ออกจากโลหะบังแสงของกล้องLASCO C2 จะมีแสงน้อยมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะมีความเสียหายหนักจากการโคจรเข้าประชิดดวงอาทิตย์

20131128_2148_c2_512

  • 02:15 พายุเลฮาร์ ที่อินเดียใกล้จะสลายตัวแล้ว ภาคใต้ของไทยยังมีโอกาสโดนฝนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและหย่อมความกดต่ำจากปลายอ่าวไทย 
  • 01:48 ภาพจากโปรแกรมติดตามดาวหาง ISON ณ จุดที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ISONTrack
  • 01:24 ดาวหางไอซอนหายเข้าไปหลังโลหะบังแสงของกล้อง LASCO C2 จนหมด เหลือหางโผล่มาหน่อย 20131128_1824_c2_512
  • 00:37 หัวของดาวหางไอซอน เริ่มหายเข้าไปหลังโลหะบังแสงของกล้อง LASCO C2 20131128_1736_c2_512
  • 00:30 หัวของดาวหางไอซอน เริ่มหายเข้าไปหลังโลหะบังแสงของกล้อง LASCO C3 20131128_1730_c3_512
  • 00:12 หัวของดาวหางไอซอน เข้าใกล้โลหะบังแสงของกล้อง LASCO C2  20131128_1712_c2_512
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”black”]ขณะนี้มีสื่อปล่อยข่าวโดยใช้ชื่อพายุที่สะกดผิดๆ ตามนี้ ขอยืนยันว่าไซโคลนเลฮาร์ไม่ได้มาเข้าไทยตามที่สื่อรายนั้นลง เลฮาร์จะไปขึ้นฝั่งประเทศอินเดีย ส่วนฝนปลายสัปดาห์นี้จะมาจากมรสุม ตอ เฉียงเหนือและหย่อมความกดต่ำที่มาจากปลายแหลมญวณ ไม่ใช่เลฮาร์[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 17:00 โมเดล GFS แสดงเส้นทางไซโคลนเลฮาร์ และกลุ่มฝนที่เคลื่อนจากทะเลจีนใต้เข้ามาทางภาคใต้ช่วงปลายสัปดาห์นี้  [wpvp_embed type=youtube video_code=67cbIwrDysQ width=560 height=315]
  • 16:15 ฝนตกหลายเขตใน กทม (ภาพจากเรดาร์สำนักระบายน้ำ)BKKRain-20131126-1615
  • 15:12 กลุ่มฝนจากทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทยพัดขึ้นถึง ภาคกลางตอนล่าง อีสานล่างและภาคตะวันออก เกิดฝนตกหลายบริเวณในเวลานี้
  • 12.12 น. เรดาร์ กทม.พบฝนตกเขตหนองแขม บางบอน เคลื่อนตัวออกสู่ อ.กระทุ่มแบน แนวโน้มคงที่
  • 12:00 ยอดความเสียหายจากไห่เยี่ยน นับถึงวันนี้ (26 พ.ย. 56) ตาย 5,240 บาดเจ็บ 25,615 สูญหาย 1,613 ไร้ที่อยู่ 659,268
  • 08:30 ทั่วโลกเหลือพายุหมุนเขตร้อนลูกเดียว คือพายุไซโคลนเลฮาร์ Lahar ในมหาสมุทรอินเดีย ทิศทางมุ่งไปอินเดีย ไม่มีผลกับไทยTSR-20131126
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”info”]ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนไปมาก ปีนี้ ประเทศไทยกลายเป็น “ทางผ่านพายุ” ถึง 4 ลูก ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน คือไซโคลนไพลิน (มาจาก LPA90W ในอ่าวไทย)  BOB05 (มาจากวิลมา หรือ TD30W ที่ถล่มภาคใต้ 8 พ.ย.) เลฮาร์ (มาจาก LPA92W ที่ถล่มภาคใต้ 21 พ.ย) และ เฮเลน (จากพอดึล )[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 พายุดีปรสชัน Alessia ที่ประเทศออสเตรเลีย สลายตัวแล้ว
  • 17:30 พายุโซนร้อนเลฮาร์ ทางตะวันตกของหมู่เกาะอันดามัน แปรสภาพเป็นพายุไซโคลนแล้วในเวลานี้ ทิศทางมุ่งไปอินเดีย 
  • 17:00 ซินาบุง ปะทุถึง 8 ครั้งใน 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา ขณะนี้ ปชช กว่า 12,300 ราย ถูกสั่งให้อพยพออกมาแล้ว ดูกล้องสดที่นี่BZ6KHm9IYAARXne
  • 16:00 ตำแหน่งของภูเขาไฟซินาบุงในเกาะสุมาตรา ซึ่งหากการปะทุทำให้ลดแรงดันลงไปได้ก็เป็นเรื่องดี หากระเบิดขึ้นมาก็ขอให้ระดับความแรงต่ำกว่า VEI 6 เพราะหากถึง 6 จะมีสึนามิเกิดขึ้นมาได้ (จากการประเมิณน่าจะอยู่ที่ระดับ VEI 4 ไม่เกิน VEI 5)sinabung volcano - Google Maps
  • 15:00 ทางการอินโดฯยกระดับการเตือนภัยภูเขาไฟซินาบุงในสุมาตราขึ้นระดับสูงสุดแล้วขณะนี้ (อ่านเนื้อข่าว BBC) ภาพจาก AP
  • 13.27 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ตามมาตราโมเมนต์ บริเวณ หมู่เกาะฟลอ์คแลนด์ ที่ความลึก 2 กม.
  • 13:30 ฝนตกเขตพระนคร ป้อมปราบฯ  นนทบุรี บางกรวย
  • 12.56 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.1 ตามมาตราคลื่นตัวกลาง บริเวณ หมู่เกาะคุริว ที่ความลึก 40 กม.
  • 12:00 ตาย 13 รายในสหรัฐฯ จากพายุฤดูหนาวในรัฐโอคลาโฮมา เท็กซัส แคลิฟอเนีย อริโซนาและนิวเม็กซิโก ในภาพเป็นต้นไม้ล้มในแคลิฟอเนียจากลมกระโชก เครดิตภาพ AP winter_storm_damage_photo
  • 08:30 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเมืองบังกาลอร์ (ประเทศอินเดีย) จากปริมาณน้ำฝน  108 มม ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
  • 07:30 ภาพชัดๆ – การปะทุครั้งล่าสุดของภูเขาไฟเอทนา ในอิตาลี ทางการยังไม่มีคำสังอพยพ 
  • 05:09 พายุโซนร้อนเลฮาร์ เคลื่อนห่างออกไปถึงเกาะนิโคบาร์แล้ว ภาคใต้ฝนซา ฟ้าเปิด
  • ภาพการปะทุของภูเขาไฟซากุระชิมา ในญี่ปุ่น 16:30 ตามเวลาที่นั่นเมื่อวานนี้ ถ่ายจากบนรถไฟโดย @KiriJax BZ4FO7uCMAATtKD
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:02 ภาพดาวเทียมจาก TWC พายุโซนร้อนเลฮาร์ ในทะเลอันดามัน กำลังแปรสภาพเป็นพายุไซโคลน ทิศทางมุ่งไปอินเดีย
  • 19:00 พายุโซนร้อน 05B ในอันดามัน ได้ชื่อเรียกแล้วว่า เลฮาร์ Lehar
  • 11:12 กลุ่มฝนส่วนหนึ่ง แยกตัวออกจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 92W ที่ปกคลุมภาคใต้แล้วเคลื่อนไปเป็นพายุโซนร้อน 05B ในอันดามัน กลุ่มฝนส่วนน้อยนี้ ลอยขึ้นตะวันออกเฉียงเหนือมาก่อฝนตกในภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกวันนี้
  • 11.05 น. ศรีราชา (ต.สุรศักดิ์) ฝนตก
  • 11:00 ฝนตกบางแสน
  • 09:00 ยอดตาย 7 ราย หาย 20 จากพายุโซนร้อนเฮเลน ถล่มอัตรประเทศ 2 วันก่อน Odisha1--621x414
  • 08:00 กลุ่มฝนที่แยกตัวจากพายุโซนร้อน 05B เคลื่อนขึ้นเหนือมาทางภาคกลางและภาคตะวันออกในวันนี้
  • 07:57 ภาพดาวเทียมพายุโซนร้อน 05B ในอันดามัน กำลังแปรสาพเป็นพายุไซโคลน ไปอินเดีย 
  • 02:00 พายุโซนร้อน ALESSIA ขึ้นฝั่งประเทศออสเตรเลีย 201302S-20131124
  • ช่างภาพญี่ปุ่นชื่อคากายะใช้กล้อง Canon EOS 1D C ตั้งหน้ากล้อง 3 วิ ความไวแสง ISO2000 ถ่ายดาวหางไอซอนจากภูเขาไฟฟูจี เมื่อเช้าวันที่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมาfuji_strip
  • ภูเขาไฟเอทนา ในอิตาลี ปะทุอีกรอบเมื่อไม่กี่ ชม ที่ผ่านมานี้
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)