รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 6 มิถุนายน 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 17:30 เรดาร์ขอนแก่น แสดงกลุ่มเมฆฝนปกคลุมหนองคาย อุดร นครพนม20140606-1730
  • 17:20 ภาพดาวเทียมจาก TWC เมฆฝนเคลื่อนเข้าปกคลุมหลายจังหวัดในเวลานี้ TWC-20140606-1702
  • 17:15 ฝนหนัก กำแพงเพชร
  • 17:14 เมฆอาร์คัสแบบ Shelf  เป็นเมฆหายาก ปกติไม่มีอันตรายแม้หน้าตาดูน่ากลัว ก่อตัวจากกระแสอากาศเย็นตกลงบนพื้น (Downdraft) โดยมีอากาศอุ่นยกตัวที่ด้านใดด้านหนึ่งทำให้เกิดการม้วนตัวของกลุ่มอากาศเกิดเป็น Shelf ขึ้นมา e19ej12tqnnqnhlhdvim
  • 17:13 เมฆอาร์คัส Arcus แบบ Shelf ที่ จ.อุดร via @Fiiw_TF 1713-
  • 16:23 เมฆอาร์คัส Arcus แบบ Shelf ที่ จ.อุดร via Muntanakorn kot-sy1623-Muntanakorn kot-syMuntanakorn kot-sy-1
  • 16:44 ฝนตก สวนผึ้ง ราชบุรี
  • 16:40 ฝนตก อ.เมือง เชียงใหม่
  • 16:20 ฝนตก ยะลา
  • 16:00 ฝนตก ลำพูน
  • ยอดตายน้ำท่วมกุ้ยโจวล่าสุด 12 ราย อพยพ 88,000 ราย บ้านจมน้ำ 18,000 หลัง (ภาพซินหัว) BpaRVDhIcAE-oaJ
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

Thunderstorms – พายุฤดูร้อน

Thunderstorms แปลตรงๆว่า พายุฝนฟ้าคะนอง (ไม่ได้มีลมหมุนแบบพายุหมุนเขตร้อนที่เราเข้าใจกันตามปกติ) แต่กรมอุตุไทยจะเรียก พายุฤดูร้อน เพราะมักเกิดในฤดูร้อน บางทีเรียกแบบนี้ อาจสร้างความสับสนให้ประชาชนผู้รับข่าวสารได้

พายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีมวลอากาศเย็น หรือที่เรียกว่าความกดอากาศสูงพัดมาปะทะกับมวลอากาศร้อน หรือความกดอากาศต่ำ การที่อากาศสองกระแสมากระทบกัน จะส่งผลให้อากาศในบริเวณนั้นแปรปรวนเกิดความรุนแรงจนกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองขึ้น

สำหรับประเทศไทย พายุฤดูร้อน มักเกิดจากการที่ความกดอากาศสูงจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคุลมประเทศไทยในจังหวะที่มีความกดต่ำปกคลุมอยู่ก่อนเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้เกิดการปะทะกัน ระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยจากความกดต่ำ และอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีนจากความกดสูง

การปะทะกันแบบนี้ อากาศเย็นจะผลักให้อากาศร้อนชื้นลอยตัวขึ้นสู่ข้างบนอย่างรวดเร็ว จนเมื่อไอความชื้นขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จนก่อตัวเป็นเมฆเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus หรือ Cb) ที่มีลักษณะเป็นเมฆรูปทั่งขนาดยักษ์ สูงหลายสิบกิโลเมตร

เมฆคิวมูโลนิมบัส  หรือ เมฆฝนฟ้าคะนอง จะทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรง เกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่าตามมา มีการยกตัวของอากาศร้อนบนพื้นอย่างรวดเร็ว อากาศเย็นกว่าในระนาบพื้นจะไหลมาแทนที่อย่างทันทีทันใด ทำให้เกิดลมกรรโชกแรงกระทันหัน ลมนี้เป็นเหมือนลมพายุใต้ก้อนเมฆที่ก่อตัวแบบกระทันหัน และหากอุณหภูมิบนยอดเมฆต่ำกว่า ลบ 60 ถึง ลบ 80 องศาเซลเซียส ก็สามารถทําให้เกิดลูกเห็บตกได้ แต่เหตุการณ์ทั้งหมด จะจบใน 2 ชั่วโมงเป็นอย่างมาก ในแต่ละจุด จากนั้นเมฆ Cb นี้จะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เหลือฝนโปรยปรายธรรมดา

พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ใกล้ประเทศจีนมากกว่าภาคอื่นๆ จะเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดพายุฤดูร้อนมากที่สุด

อันตรายที่อาจเกิด และวิธีป้องกัน

  • อันตรายจากฟ้าผ่า ให้ติดตั้งสายล่อฟ้าในอาคารสูงๆ หลักเลี่ยงการออกไปยืนในที่โล่งแจ้งในขณะเกิดพาายุฝนฟ้าคะนองนี้
  • อันตรายจากลมกรรโชกแรง ให้ระวังป้ายโฆษณา หลังคาบ้าน จะปลิวมาทับ ให้ปิดประตูหน้าต่างบ้าน อุดช่องว่างไม่ให้ลมเข้า เพราะลมจะเข้ามายกตัวทำให้โครงสร้างบ้านเสียหาย
  • ระวังลูกเห็บตกใส่
  • ระวังต้นไม้ใหญ่โค่นล้ม เสาทีวีหัก และอาจเกิดไฟรั่วจากน้ำที่เจิ่งนองพื้น