รายงานภัยพิบัติประจำจันทร์ 6 กุมภาพันธ์

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:02 แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ลึก 46 กม.พิกัด74.65°W  3.45°N ประเทศโคลอมเบียgfz2017coty
  • 13:25 มีดาวตกสีเขียว ระเบิดเหนือฟ้าแถบมิดเวสต์ของอเมริกาช่วง  (01:25 กลางดึกเวลาท้องถิ่น)
  • 10:51 แผ่นดินไหวขนาด 5.3 ลึก 10 กม.พิกัด 26.15°E 39.53°N ประเทศตุรกีgfz2017cobt
  • 07:30 เชียงราย 13°C ลำปาง 14°C เชียงใหม่ 15°C
  • 07:00 พายุดีเปรสชันที่พัฒนาจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 98W บริเวณทางเหนือของเกาะปาเลา อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน แนวโน้มจะสลายตัวในไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้JMA-20170206-0700
  • 06:00 เชียงราย 11°C
  • หิมะตกหนักต่อเนื่องในอัฟกานิสถาน กว่า 12 เขตถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ยอดตาย 50+ สูญหายหลายสิบ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่มา8243158-3x2-700x467
  • น้ำท่วมภาคใต้คลี่คลายแล้ว 11 จังหวัด เหลือ 2 อำเภอ จ.นครศรีธรรมราช เสียชีวิต 98 คน กระทบ 587,544 ครัวเรือน
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง / เจ็ดโมงเช้า / บ่ายโมง / หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี อ่างเก็บน้ำสอง จ.แพร่ ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้
    wave_PHRA-050217

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

รายงานภัยพิบัติประจำอังคาร 28 มิถุนายน

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 โมเดล WRF กรมอุตุพลาดอีกแล้ว พยากรณ์ฝนหนัก นนทบุรี ฝนปานกลาง กทม หัวค่ำ ปรากฏว่า วันนี้ กทม นนทบุรี ไม่มีฝน และทิศทางลมก็ผิดเนื่องจากพยากรณ์ว่าลมมาจากตะวันตก ทิศทางจริงลมมาจากทางเหนือ zoom_bkk_wp05
  • 19:43 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 5.0 mb ลึก 10 กม. พิกัด 73.37°E 39.31°N พรมแดนทาจีกิสถาน-ซินเจียง 
  • 10:32 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 5.0 ลึก 50 กม. พิกัด 105.28°E 6.09°S ช่องแคบซุนดา สุมาตรา 
  • 10:17 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 5.1 ลึก 10 กม. พิกัด 159.38°E 53.70°N คาบสมุทรกัมชัทกา 
  • 08:00 ดวงอาทิตย์ไร้จุดดำปรากฏต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 อ่านรายละเอียด
  • 05:00 พา่ยุดีเปรสชัน 02A ในทะเลอาหรับ ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน เส้นทางพายุยังวนอยู่ในทะเลไม่มีแนวโน้มขึ้นฝั่ง 02A-20160628-0500
  • 04:00 ฝนตกหนัก จ.อุดรธานี
  • 03:50 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 5.5 Mw ลึก 10 กม. พิกัด 97.84°W 16.57°N ประเทศเม็กซิโก gfz2016mouv
  • 02:28 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 5.0 Mw ลึก 10 กม. พิกัด 73.48°E 39.38°N พรมแดนทาจีกิสถาน-ซินเจียง 
  • 02:15 เรดาร์ตรวจพบกลุ่มฝนใน จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์
  • พบกรณีอาจเป็นอุกกาบาต ประเภท คอนไดร์ท (Chondrites) ตกใส่หลังคาบ้านหลังหนึ่งใน ม.3 ต.พลายชุมพล อ.เมือง  จ.พิษณุโลก mSQWlZdCq5b6ZLkvNRmwA8brV67k4kA5
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT จ.เชียงใหม่ ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้wave_CMMT-270616

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

 

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 8 กันยายน 2558

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 พายุโซนร้อนเอตาว ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุ 92 กม/ชม จะขึ้นฝั่งบริเวณเขตชุบุและเขตคันไซของญี่ปุ่นในช่วงเช้าวันพรุ่งนี้ 18W-20150908-2218
  • 22:00 รัฐนอร์ธแคโรไลนา ยืนยันผู้เสียชีวิต 1 รายจากเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ที่มียุงเป็นพาหะ ที่มา
  • 13:30 พายุดีเปรสชันเฟรด Fred ในมหาสมุทรแอดแลนติคสลายตัวไปแล้ว เหลือพายุหมุนเขตร้อนอีก 5 ลูกในโลกเวลานี้คือพายุโซนร้อนเกรซ Grace ในมหาสมุทรแอดแลนติค ไต้ฝุ่นกิโลกและพายุโซนร้อนเอตาว ในโซนแปซิฟิคตะวันตก เฮอริเคนลินดาและพายุโซนร้อนจิเมนาในโซนแปซิฟิคตะวันออกTSR-20150908-1330
  • 09:01 พายุโซนร้อนเอตาว กำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้เขตคันไซของญี่ปุ่น คาดว่าจะขึ้นฝั่งที่จังหวัดวากายามะเช้าวันพรุ่งนี้18W-20150908-0901
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้wave_CMMT-070915

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 7 กันยายน 2558

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 ดีเปรสชัน 18W ในโซนตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิค ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า เอตาว Etau ป็นคำในภาษาปาเลา (ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะปาเลา) หมายถึง  แนวพายุฝน ตามการประเมินของ TSR พายุจะขึ้นฝั่งที่จังหวัดวากายามะใน 48 ชม จากนี้18W-20150907-1900
  • 17:00 เกิดพายุแม่เหล็กโลกระดับ G2 เนื่องจากลมสุริยะทวีความเร็วขึ้นเป็นพายุ (เกิน 600 กม/วินาที) จากหลุมโคโรนาบนดวงอาทิตย์วานนี้ และสนามแม่เหล็กโลกเบี่ยงไปทางใต้ถึง -10nT ลักษณะเช่นนี้จะก่อให้เกิดแสงออโรราในแถบขั้วโลก แต่ไม่มีผลใดๆต่อไทยหรือประเทศในโซนเส้นศูนย์สูตรkindex-20150709-2300
  • 16:00 พายุโซนร้อนลินดา นอกชายฝั่งบาจาแคลิฟอร์เนีย ทวีกำลังเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 เส้นทางพายุวิ่งขนานฝั่ง15E-20150907-1600
  • 09:00 เหตุการณ์ดาวตกนี้ คาดว่าเกิดจากสะเก็ดดาวขนาด 10 เมตร ระเบิเที่ความสูง 15-20 กม คล้ายกับเหตุการณ์ที่สุลาเวสีเมื่อ 8 ตุลาคม  2009 
  • 08:42 กล้องหน้ารถบริเวณ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี โดย Random Channel [wpvp_embed type=youtube video_code=de8ZAsn4ma4 width=560 height=315]
  • 08:41 มุ่งหน้าจากแยกพงษ์เพชรไปแยกแคราย (ขาออก) กล้องหน้ารถของคุณ Porjai Jaturongkhakun [wpvp_embed type=youtube video_code=rOoKv2OMpOw width=560 height=315]
  • 08:40 พบแสงไฟแว๊บสว่างตามด้วยเสียงเหมือนฟ้าร้อง และทิ้งกลุ่มควันไว้ ภาพจากฟ้ากาญจนบุรี โดย @nuthatai CORAIa1U8AAwXnS
  • 08:00 จากแผนที่อากาศของกรมอุตุ ความกดอากาศสูงจากซีกโลกใต้เข้าปกคลุมประเทศไทยช่วงเช้าวันนี้ ฟ้าใสไร้เมฆล้ายหน้าหนาว และมีลมแห้งๆพัด  
  • 07:00 ตามข้อมูลของ TSR ขณะนี้ในโซนตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิคมีพายุหมุนเขตร้อน 2 ลูกคือดีเปรสชัน 18W และไต้ฝุ่นกิโลTSR-W-20150907-0700
  • 05:00 ภาพดาวเทียมจาก JTWC แสดงลักษณะและตำแหน่งล่าสุดของดีเปรสชัน 18W และไต้ฝุ่นกิโล ทางใต้ของญี่ปุ่น 
  • 04:00 พายุอิกนาชิโอสลายตัวแล้ว
  • 03:00 พบการก่อตัวของพายุดีเปรสชันลูกใหม่ 18W ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิค มีแนวโน้มจะขึ้นฝั่งทางใต้ของญี่ปุ่นบริเวณเกาะชิโกกุใน 72 ชม.โดยจะทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ในลำดับต่อไป
    image
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้า /  บ่ายโมง /หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 7 กันยายน 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:50 ดาวเคราะห์น้อย 2014 RC ที่กำลังจะพุ่งเฉียดโลกในเวลา 01:15 ตามเวลาไทย เริ่มปรากฏให้เห็นในกล้องดูดาว จากการถ่ายทอดสดของเว็บ Slooh 
  • 22:00 พายุเฮอริเคนนอร์เบิร์ด อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน 
  • 19:00 พายุดีเปรสชัน 14W ในทะเลจีนใต้ ยังคงมีทิศทางขึ้นฝั่งเกาะไหหลำ แล้วเคลื่อนเข้าจีนตอนใต้ (JMA ประกาศไปก่อนหน้านี้แล้ว) ตรงไปทางหนานหนิง (南寧) 
  • 18:00 ทิศทางพายุโซนร้อนฟงเฉน เคลื่อนห่างออกจากโอกินาวา มุ่งออกกลางแปซิฟิค
  • 14:00 ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญต่างๆทั่วไทยโดยกรมชลฯ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ เริมมีการสะสมของน้ำในเกณฑ์ดีสำหรับหน้าแล้งปีหน้า
  • 13:00 พายุดีเปรสชัน TD13W ที่โอกินาวาทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนได้ชื่อเรียกว่าฟงเฉน  Fengshen เป็นภาษาจีน แปลว่าเทพแห่งลม (风神) 
  • 10:00 ระดับน้ำที่เขื่อนจิ่งหงวันนี้ลดระดับลง (ภาพล่างเป็นภาพถ่ายทางอากาศจาก Google map) 
  • 08:30 WTW ประเมิณเส้นทางพายุดีเปรสชันที่ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 90W จะขึ้นฝั่งหลังจากลงน้ำที่อ่าวตังเกี๋ยแล้วตรงไปทางหนานหนิง 南寧 
  • 08:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ใกล้เกาะโอกินาวา ก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชัน TD13W  ทิศทางมุ่งออกกลางมหาสมุทรแปซิฟิค 
  • 07:00 JMA ประมาณเส้นทางพายุดีเปรสชันที่ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 90W ในทะเลจีนใต้จะขึ้นฝั่งที่เกาะไหหลำภายใน 16 ข้างหน้า จากนั้นพายุจะเคลื่อนลงอ่าวตังเกี๋ย
  • 06:00 พายุเฮอริเคนระดับ 3 นอร์เบิร์ด นอกชายฝั่งทางตะวันตกของเม็กซิโก อ่อนกำลังลงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2 แนวโน้มอ่อนกำลังลงต่อเนื่อง เส้นทางพายุอาจหักเลี้ยวประชิดฝั่งแถบเมืองซานเฟอนันโดใน 93 ชม ข้างหน้า
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]NASA อัพเดทข้อมูลล่าสุดสำหรับอุกกาบาต 15 กพ ที่รัสเซีย โดยสถานีสังเกตุการณ์แบบ Infrasound จำนวน 5 สถานีทั่วโลก ระบุว่าขนาดของดาวเคราะห์น้อยลูกนี้ก่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศกาศและกลายเป็นอุกกาบาตนั้นมีขนาดราว 17 เมตรหนัก 10,000 ตัน โดยการระเบิดในชั้นบรรยากาศได้ปลดปล่อยพลังงานราว 500 กิโลตันออกมา ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เพิ่มจากที่วินิจฉัยเบื้องต้นเมื่อวานนี้[/stextbox]

  • 06:30 พายุโซนร้อนจีโน ยังเคลื่อนที่ตามกฏการเลี้ยวซ้าย แนวโน้มอ่อนกำลังลง คาดว่าจะสลายตัวในไม่กี่ชั่วโมงนี้Gino-16-2-13
  • 04:00 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 เคลื่อนที่ห่างออกไปเรื่อยๆ ล่าสุดไปถึง 45,587 กม latest_da14_shoulder_673 (1)
  • 02:26 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 อยู่ที่ระยะใกล้ผิวโลกที่สุด ที่ 28,157 กม ลอดใต้กลุ่มดาวเทียมค้างฟ้า ตำแหน่งใกล้ผิวโลกเหนือประเทศอิโดนีเชีย จากนี้ จะเคลื่อนที่จากไป (ภาพถ่ายจริงจากกล้องดูดาว)d0280cc8-1d65-40e2-8af1-f549c231c5ec
  • 02:00 เส้นทางที่ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 จะเคลื่อนที่ผ่านท้องฟ้าเวลาส่องกล้องดู 2012DA14-pathsmall
  • 01:42 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 อยู่ที่ระยะ 32,180 กม จากโลก อยู่ใต้วงโคจรดาวเทียมชนิด Geosynchronous ทุกดวงแล้วในขณะนี้DA14-3
  • 01:33 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 อยู่ที่ระยะ 33,949 กม จากโลก
  • 01:10 กระทรวงมหาดไทยรัสเซีย รายงานตัวเลขยอดคนเจ็บจากอุกกาบาต 1,200 ราย
  • 00:45 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 อยู่ที่ระยะ 47,217 กม จากโลก
  • 00:16 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 อยู่ที่ระยะ 56,797 กม จากโลก
  • 00:01 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 เริ่มเข้าใกล้ระยะดาวเทียม DA14-1
  • หลุมในแผ่นน้ำแข็งที่ปิดอยู่บนทะเลสาบ Chebarkul ในรัสเซีย ผลจากสะเก็ดของอุกาบาตเช้าวานนี้ Russian_Meteor_photo
  • เปรียบเทียบขนาดแผ่นดินไหวของการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินของเกาหลีเหนือ 3 ครั้ง ครั้งล่าสุดเทียบได้กับ TNT 10 กิโลตัน (อุกกาบาตรัสเซียเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเทียบพลังได้เท่ากับ TNT 500 กิโลตัน แต่โชคดีที่เกิดระเบิดขึ้นที่ความสูงมากกว่า 30 กม.เสียก่อน) NOA_3events_common_scaling (1)

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]ผลสรุปเบื้องต้น จาก NASA อุกกาบาตรัสเซียนี้มีขนาดก่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก 17-20 เมตร หนัก 7,000 ตัน ซึ่งเล็กเกินกว่าจะตรวจพบด้วยระบบเฝ้าระวังได้ อุกกาบาตได้เข้าสู่บรรยากาศโลกที่ความเร็ว 66,960 กม/ชม ลุกไหม้จนขนาดเล็กลงหลายเท่าและระเบิดตัวเองที่ความสูง 23.3 กม เหนือเขตชิลยาบินส์ แคว้นอูราล แรงอัด (ช็อคเวฟ)และเศษหินก่อความเสียหายต่ออาคารและผู้คนนับพันตามรายงานจากสื่อต่างๆ (NASA กำลังหารายละเอียดที่ชัดเจนกว่านี้จากข้อมูลอื่นๆที่เข้ามา จะรายงานให้ทราบต่อไป)[/stextbox]

  • 23:53 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 อยู่ที่ระยะ 64,535 กม  อีก 2 ชม จะเข้าสู่จุดใกล้สุด
  • 22:30 รูปวงโคจรก่อนเข้าชนโลกของอุกกาบาตเชลยาบินส์ Chelya_orb_s
  • 22:00 ยอดบาดเจ็บจากกระจกบาดและช็อคเวฟของอุกกาบาตรัสเซียไปที่ 1,000 ราย สาหัส 2 ราย บ้าน โรงเรียน เสียหาย 3,000 แห่ง
  • 21:24 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 อยู่ที่ระยะ 120,078 กม จากโลก  จะเข้าจุดใกล้สุดใน 5 ชม latest_da14_shoulder_673-2124

[stextbox id=”info”] ชื่อ 2012 DA14 นั้น2012 หมายถึงปีที่ค้นพบ D คือปักษ์ที่ 2 ของปี คือครึ่งหลังของกุมภาพันธ์ A14 คือลำดับที่ 351 ในค้นพบในปักษ์นั้น คำนวนจาก (14*25)+A คือ 1 จะได้ 351 [/stextbox]

  • 19:00 ยอดบาดเจ็บจากกระจกบาดและช็อคเวฟของอุกกาบาตรัสเซียไปที่ 500 รายแล้ว
  • 18:23 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 อยู่ที่ระยะ 188,559 กม จากโลก  latest_da14_shoulder_673-18
  • 15:11 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 อยู่ที่ระยะ 261,390 กม จากโลก latest_da14_shoulder_673
  • 14:45 ภาพความเสียหายจากอุกกาบาตในรัสเซีย ยอดบาดเจ็บล่าสุดมากกว่า 400 ราย (สื่อใน) 150 ราย (สื่อนอก)  ส่วนใหญ่บาดเจ็บเล็กน้อยจากกระจกแตกและ ShockwaveBDIR-LBCIAA_v6l
  • 14:25 ฝนตก อ.ละแม ชุมพร
  • 14:00 เส้นทางการเข้าวสูบรรยากาศของอุกกาบาต จุดแดงที่ลูกศรชี้คือจุดที่อุกกาบาตระเบิดตัวเองChelya_track_annotated_s
  • 13:30 คลิปของ Fireball พุ่งผ่านท้องฟ้า สามารถมองเห็นได้ในเขตอูราลของประเทศรัสเซีย และในอีกหลายเมืองของประเทศรอบด้าน เช้านี้   เช่น Chelyabinsk,Tyumen, เขตปกครอง Sverdlovsk,สาธารณรัฐบาชกิเรียและทางตอนเหนือของประเทศคาซัคสถาน ล่าสุดมีรายงานผู้บาดเจ็บ 102 ราย
  • 12:31 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 อยู่ที่ระยะ 321,745 กม จากโลก นับถอยหลัง 13 ชม 53 นาทีlatest_da14_shoulder_673 (2)
  • 11:30 ตารางการปรากฏ และช่วงเวลาสำหรับผู้สังเกตการณ์ 2012 DA14 ในประเทศไทย กดดู
  • 11:00 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 อยู่ที่ระยะ 357,536 กม จากโลก
  • 10:20 มีรายงานพบเทหวัตถุคล้าย Fireball  พุ่งผ่านฟ้าในเขตอูราล ของรัสเซีย
  • 10:00 พายุไซโคลนจีโนในมหาสมุทรอินเดีย ลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 50 น็อต  แนวโน้มลดกำลังลงเรื่อยๆ
  • 09:54 ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 อยู่ที่ระยะ 382,006 กม จากโลก นับถอยหลังถึงจุดใกล้ที่สุด 16 ชั่วมโมง 23 นาที latest_da14_shoulder_673
  • 01:15 ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 เข้าสู่ระยะ 0.0025 AU แล้วในขณะนี้ อีกราว 25 ชั่วโมงจากนี้จะเข้าสู่สุดเฉียดผิวโลกมากที่สุด โดยลอดใต้วงโคจรดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาtest3386
  • เกิดไฟป่าแถบเมืองวัลปาราซีโอ ในชิลี ทางการเร่งสกัดกั้นไฟป่าที่กำลังเผาผลาญพื้นที่ภูเขาในเมืองท่าวัลปาไรโซบ้านเรือนอย่างน้อย 70 หลังถูกไฟเผา ประชาชนกว่า 500 ครอบครัวต้องอพยพ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

ดาวเคราะห์น้อย 2008 TC3 ชนโลกที่ซูดาน

เมื่อเช้าวันที่ 7 ตุลาคม 2551 มีดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งได้พุ่งเข้าสู่โลกและระเบิดขึ้นในบรรยากาศสูงขึ้นไป 37 กิโลเมตรเหนือน่านฟ้าของประเทศซูดาน ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีชื่อว่า 2008 TC3 ซึ่งถูกค้นพบก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งวัน

แม้นักดาราศาสตร์บางคนเชื่อว่าการระเบิดนั้นจะทำลายเนื้อเดิมไปจนหมดสิ้นกลางอากาศ แต่ปฏิบัติการค้นหาชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยก็เกิดขึ้นที่ทะเลทรายนิวเบียน และการค้นหานี้ก็ได้ผลลัพท์ที่ไม่คาดฝัน

นักศึกษาและเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยคาร์ทอม ขณะกำลังเตรียมค้นหาเศษอุกกาบาต

การค้นหาดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเซติและมหาวิทยาลัยคาร์ทอม โดยค้นหาเป็นระยะทางยาว 29 กิโลเมตรในเส้นทางที่คำนวณจากทิศทางที่ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าสู่โลก เพียงสองชั่วโมงหลังจากการค้นหาเริ่มต้นก็พบเศษอุกกาบาตชิ้นแรก และเมื่อสิ้นสุดการค้นหา ก็นับจำนวนได้ทั้งสิ้น 280 ชิ้น ชิ้นที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดเท่าไข่ไก่

“นี่เป็นโอกาสที่พิเศษจริง ๆ เป็นครั้งแรกที่เราสามารถนำตัวอย่างของเศษดาวเคราะห์น้อยที่เห็นตั้งแต่ยังอยู่ในอวกาศ และนำมันมาเข้าห้องทดลองได้” เจนนิสเกน หัวหน้าผู้เขียนรายงานที่ตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์กล่าว

ความน่าสนใจยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ไมเคิล โซเลนสกี นักวิทยาแร่อวกาศจากศูนย์อวกาศจอห์นสันของนาซาพบว่าอุกกาบาตที่พบนี้มีความพรุนถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่แม้จะพรุนมากแต่ก็ยังแข็งพอที่จะฝ่าบรรยากาศมาถึงพื้นโลกได้

จากการศึกษาสเปกตรัม นักดาราศาสตร์ทราบว่าดาวเคราะห์น้อย 2008 ทีซี 3 เป็นดาวเคราะห์น้อยชั้นเอฟ (F-class asteroid) การที่นักดาราศาสตร์สามารถเชื่อมโยงอุกกาบาตที่พบบนพื้นโลกเข้ากับดาวเคราะห์น้อยที่เห็นในอวกาศและทราบชนิดมาก่อน ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถวัดสมบัติต่าง ๆ ของดาวเคราะห์น้อยชนิดนั้นได้โดยตรง

“การศึกษาดาวเคราะห์น้อยชั้นเอฟจากอุกกาบาตจึงมีผลดีต่อการหาวิธีป้องกันโลก จากการรุกรานของดาวเคราะห์น้อยชั้นเอฟดวงที่ใหญ่กว่าที่อาจจะมาชนโลกในวัน ข้างหน้าได้ การที่ได้รู้ว่าดาวเคราะห์น้อยจำพวกนี้มีความเปราะมากเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการสกัดกั้นดาวเคราะห์น้อยมรณะชั้นเอฟด้วยระเบิดนิวเคลียร์แบบที่เห็นในภาพยนต์นั้นย่อมไม่ใช่ทางเลือกที่ฉลาด เพราะ การระเบิดจะทำให้วัตถุเดี่ยวที่คาดการณ์ได้ต้องแตกออกเป็นฝูงของดาวเคราะห์ น้อยดวงเล็กที่ยังมีอานุภาพร้ายแรงแต่มีจำนวนมากซึ่งคาดการณ์ได้ยากกว่า” เจนนิสเกนส์อธิบาย

ที่มา:

ข่าว-ดาวเคราะห์น้อยชนโลกปี ค.ศ. 2040

ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5

ช่วงวันสองวันนี้ มีข่าวจากสื่อต่างๆในไทย เรื่องดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5  ที่จะเข้าชนโลกใน 28 ปีข้างหน้า ซึ่งจะตรงกับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2040 หรือ พ.ศ. 2583 นั้น

ทางเว็บภัยพิบัติ ได้ตรวจสอบข้อมูลจาก NASA และขอชึ้แจงว่า ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 ในขณะนี้ ค่าความเสี่ยงการชนกับโลก ในตารางทอริโน = 1  ในระดับสีเขียว ซึ่งแปลว่ายังไม่ควรมีความกังวลใดๆทั้งในระดับประชาชนทั่วไปหรือหน่วยงานรัฐฯ (อ้างอิง บทความเพิ่มเติม)

ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 ได้รับการค้นพบในวันที่ 8 มกราคม 2554 ด้วยกล้อง 60 นิ้วชนิดสะท้อนแสง บนยอดเขาแคทารินา ในรัฐนเอริโซนา

ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 มีลักษณะเป็นก้อนหินแบบรี ขนาดของส่วนที่กว้างที่สุด 140 เมตร มีมวล 4 พันล้านกิโลกรัม มีแรงปะทะ 102 ล้านตัน และมีความเร็วในวงโคจร 14.67 กิโลเมตร/วินาที

จากการคำนวนในขณะนี้ ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5  มีโอกาสชนกับโลกที่  0.16% แปลว่าจะพลาดไปจากโลกสูงถึง 99.84%  ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ 2040

แต่ทั้งนี้ เนื่องจากเรายังไม่มีรูปแบบวงโคจรเต็มวงของ 2011 AG5 ซึ่งปกติเราต้องใช้วงโคจรเต็มวง 2 รอบเพื่อแน่ใจในการคำนวนโอกาสการเข้าชนของดาวเคราะห์น้อยต่างๆ และการกำหนดรูปแบบวงโคจร จะทำในเดือนกันยายน ปี 2013 ซึ่ง ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 จะเข้ามาใกล้โลกที่ระยะ 147 ล้านกิโลเมตร

หลังจากนั้น จะมีการสังเกตช่วงการเข้า keyhole หรือ รูกุญแจ ของก้อนหินก้อนนี้ในปี 2023 ซึ่ง 2011 AG จะเข้ามาใกล้โลกมากถึงระยะ 1.6 ล้านกิโลเมตร และจะเป็นการกำหนดความแน่นอนระยะสุดท้าย เพราะหากดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5  รอดรูกุญแจของมันได้ในปี 2023 นั่นแปลว่ารอบต่อไปจะเกิดการเข้าชนในความน่าจะเป็นที่สูงที่สุด และเรามีเวลา 17 ปีในการเตรียมการรับมือ

ปล. รูกุญแจ คือบริเวณที่แรงดึงดูดของโลกมีผลหักเหวงโคจรของ NEO ต่างๆ ซึ่งเป็นบริเวณที่สมมุติไว้ มีขนาดไม่กี่ไมล์ถึงไม่กี่ร้อยไมล์ และจะเป็นการสังเกตในรอบโคจรรอบสุดท้ายก่อนหน้าการเข้าชน 1 รอบ หาก NEO ไม่ผ่านเข้ารูกุญแจ การเข้าชนกับโลกในรอบต่อไปก็จะไม่เกิดขึ้น

ท่านสามารถกดดู ตารางข้อมูล และ วงโคจร จาก NASA ได้โดยตรงโดยคลิ็กที่ Link