รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:59 วันนี้มีแผ่นดินไหวในสุมาตราและนิโคบาร์หลายครั้งมาก ดูจากกราฟของสถานีแผ่นดินไหวสุราษฎ์จะเห็นการเกาะกลุ่มตั้งแต่ 16:34 เป็นต้นมา โดยที่นิโคบาร์มีขนาดใหญ่สุดที่ 6.4 ลึก 10 กม. เวลา 23:47  มีรายงานว่าตึกสูงหลายแห่งในจังหวัดพังงา อาคารสูงของ รพ.พังงา และ รพ.ตะกั่วป่าสั่นไหว รวมถึงจังหวัดภูเก็ต และระนอง กระบี่ สุราษ กระจกสะเทือน (การสั่นนี้เป็นผลจากคลื่นความถี่ต่ำของแผ่นดินไหว ไม่มีอันตราย) โดยรอยเลื่อนที่เกาะนิโคบาร์เป็นชนิด strike slip แบบ เลื่อนขวา จึงไม่ต้องห่วงเรื่องสึนามิ แต่เป็นสัญญาณว่ารอยเลื่อนชนิดมุดตัวในแถบสุมาตรากำลังขยับ ซึ่งต้องเฝ้าติดตามดูเพราะอาจมีผลหากไหวในขนาดใหญ่เกิน 7.0wave_SURTgfz2015vxmr
  • 20:00 พายุไซโคลน “เมฆ” ถล่มเกาะโซโคตร้า ทวีกำลังเป็นไซโคลนระดับ 3 มุ่งตรงไปเยเมน 05A-20151108-2000
  • 18:00 ฝนเล็กน้อย-ปานกลาง 1.เขตประเวศ บางนา ต่อเนื่อง อ.บางพลี อ.เมืองสมุทรปราการ อ่าวไทย 2. อ.บาง
    น้ำเปรี้ยว อ.เมืองฉะเชิงเทรา อ.บางเสาธง อ.บ้านโพธิ์ อ.บางประกง อ่าวไทย เคลื่อนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
  • 16:34 แผ่นดินไหวขนาด 6.1 ลึก 75 กม.นอกชายฝั่งทางตะวันตกของสุมาตรา ไม่เตือนสึนามิ
    image
  • 15:40 พัทยาฝนหยุดตก
  • 15:07 ฝนตกกำแพงแสน
  • 15:00 สภาพน้ำท่วมขังพัทยาใต้จากฝนหนัก  ภาพโดย @HS2_QRK5_s9CTRcdJ8UcAAiHfq
  • 14:55 น้ำท่วมขังพัทยากลาง ภาพโดย @dream_2011 
  • 14:35 ฝนหนัก น้ำท่วมซอยวัดหนองใหญ่ พัทยาเหนือ ภาพโดย @HS2_QRK5_s9CTRnySBUsAAAgr4
  • 14:05 ฝนตก อ.สามพราน อ.กระทุ่มแบน อ.เมืองสมุทรสาคร
  • 14:00 ฝนตก กทม. เขตทวีวัฒนา หนองแขม บางบอน บางขุนเทียน
  • 13:30 ฝนตกพัทยา
  • 12:00 เกิดหลุมยุบขนาดใหญ่ในมิสซิสซิปปี มีรถตกลงไปจำนวมาก ภาพ-ข่าว NBC CTTv8ioWEAEFk4d
  • 11:00 แสงประหลาดเหนือท้องฟ้าแคลิฟอร์เนีย ไม่กี่ ชม ที่ผ่านมาไม่ใช่ดาวตก แต่เป็นแสงจากจรวด Trident SLBM จากเรือดำน้ำของ ทร สหรัฐฯ ภาพ-ข่าว CBSNewsCTQ1sblUEAUK8v0
  • 06:00 ดอยอินทนนท์ 8°C
  • เกิดฝนหนักน้ำท่วม ในกรุงแบกแดด ประเทศอิรัค ภาพ-อัลจาเซรา CTRBbQvW4AAFHdJ
  • องค์การอนามัยโลกประกาศให้ประเทศเซียร์ราลีโอนเป็นเขตปลอดการระบาดของไวรัสอีโบลาแล้ว
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้wave_CMMT-071115

ภูเขาไฟในหมู่เกาะอันดามัน

ภูเขาไฟบนเกาะบาร์เรน Barren เป็นภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น (Composite cone) ที่มีฐานกว้างขนาด 2 กม.ตั้งอยู่บนเกาะบาร์เรน ซึ่งเป็นเกาะไร้คนอาศัยกว้างราว 3 กิโลเมตร มีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะอันดามัน เป็นภูเขาไฟแห่งเดียวในเอเชียใต้ที่ยังไม่สงบ มีบันทึกการปะทุย้อนหลังไปถึงปี ค.ศ 1787.และเกิดเรื่อยมาหลายครั้งนับถึงปัจจุบัน พลังงานของภูเขาไฟอยู่ในระดับต่ำ โอกาสที่จะระเบิดรุนแรงเกินไปกว่า VEI ขนาด 2 จึงมีน้อยมาก  แม้มีความเชื่อมโยงกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ 9.1 ในสุมาตราปี 2004 หรือแผ่นดินไหว 7.8 ในเนปาลที่เพิ่งเกิดไปก็ตาม โอกาสเกิดสึนามิจึงมีน้อยมากเช่นเดียวกัน

barren-island-hotspot_01

116005

เกาะภูเขาไฟบาร์เนน มองจากด้านทิศตะวันตกของเกาะ จะเห็นช่องเปิดให้ลาวาไหลลงทะเลด้านนี้

ภูเขาไฟลูกนี้มีปล่องรูปโคนตรงกลางของตัวเกาะ ความสูงของปล่องราว 354 เมตร พิกัดของตัวเกาะอยู่ที่ 12.278°N 93.858°E ตัวเกาะมีทางไหลของลาวาลาดลงทะเลไปทางทิศตะวันตกตามภาพด้านล่าง

220px-Barren_I_locale

ตำแหน่งของเกาะบาร์เรน อยู่ในวงกลมสีแดงของภาพ ทางตะวันออกของหมู่เกาะอันดามันที่ทอดยาวจากเหนือจรดใต้

ประวัติการปะทุุ

  • การปะทุในปี 2015 – มีการปะทุเขม่าสูง 3 กิโลเมตร.ในช่วงวันที่ 22-28 เมษายน
  • การปะทุในปี 2014 – มีการปะทุเขม่าสูงไม่เกิน 1 กิโลเมตรเดือนเมษายน 3907bar2s
  • การปะทุในปี 2013 – มีการปะทุเขม่าสูง 6 กิโลเมตรในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ และ มีการปะทุเขม่าสูง 3.6 กิโลเมตรในวันที่ 17 ตุลาคม
  • การปะทุในปี 2010 – มีการปะทุเขม่าสูง 1.5 กิโลเมตร ในวันที่ 3 มกราคม และอีกครั้งในวันที่ 17 กันยายน ไม่ได้บันทึกความสูงของกลุ่มเขม่า
  • การปะทุในปี 2009 – มีการปะทุเปลวไฟ ลาวา แบบระยะต่ำและถี่ (Strombolian eruption) ช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม
  • การปะทุในปี 2005  – มีการปะทุเขม่าและลาวาจากด้านตะวันตกของปล่องในวันที่ 28 พฤษภ่าคม การปะทุเขม่าและลาวาดำเนินต่อไปจนถึงเดือนมิถุนายน [clip]
  • การปะทุในปี 1995 – มีการปะทุเปลวไฟ ลาวา แบบระยะต่ำและถี่ (Strombolian eruption) ช่วงเดือนมกราคม และปะทุพ่นลาวาแบบน้ำพุสูง 150 เมตรเมื่อวันที่ 11 พฤษภ่าคม จากนั้นยังมีปฎิกิริยาต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกรกฏาคม
  • การปะทุในปี 1994 – มีการปะทุเขม่า ในวันที่ 20 ธันวาคม
  • การปะทุในปี 1991 – มีการปะทุลาวา ในเดือนเมษายน ลาวาไหลออกทางตะวันออกเฉียงเหนือของปล่อง มีการปะทุพ่นกรวดหินร้อน (Lapilli) สูงราว 50 เมตร มีเสียงระเบิดสั้นๆ
  • การปะทุในปี 1787 –  มีการปะทุเปลวไฟ ลาวา แบบระยะต่ำและถี่ (Strombolian eruption) มีลาวาไหลออกจากปล่อง ไหลออกด้านตะวันตกไปลงทะเล

อ้างอิง
http://www.volcanolive.com/barrenisland.html
http://www.volcano.si.edu/volcano.cfm?vn=260010
http://www.volcanodiscovery.com/barren_island.html
https://catalog.data.gov/dataset/global-significant-volcanic-eruptions-database-4360-bc-to-present

กล้อง CCTV ส่องภูเขาไฟสำคัญทั่วโลก http://volcano-webcam.com/

หมายเหตุ– แม้จะมีโอกาสเกิดสึนามิน้อย (การเกิดสึนามิต้องมาจากการระเบิดของภูเขาไฟในระดับ VEI หรือดัชนีวัดความแรงในการระเบิดของภูเขาไฟ ตั้งแต่ 6 ขึ้นไปเท่านั้น) แต่การเฝ้าระวังจะยังคงอยู่ทุกนาที ในกรณีที่เกิดสึนามิ ทางเว็บเราจะไม่ใช้ทุ่นเตือนสึนามิ 5 ตัวทั้งของไทยและอินเดียเนื่องจากอยู่ไกลเกินไป แต่จะใช้สถานีวัดระดับน้ำชายฝั่ง Port Blair แทน ติดตามการเฝ้าระวังจากเราได้ตลอดเวลาBarrenAlertMethod

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 27 เมษายน 2558

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 มีรายงานการปะทุของภูขาไฟบนเกาะบาร์เรน หมู่เกาะอันดามัน ปะทุเขม่าสูงราว 3 กิโลเมตร
  • 17:15 กรุงเทพมหานครฝนหยุดตก ปริมาณฝนรวมสูงสุด ส.รัชดา-วิภาวดี เขตจตุจักร 38 มม.
  • 17:00 ฝนอ่อนเขตดอนเมือง ต่อเนื่อง อ.ปากเกร็ด ปริมาณฝนรวมสูงสุด ส.รัชดา-วิภาวดี เขตจตุจักร 38 มม. และปริมณฑลฝนอ่อน อ.สามพราน จ.นครปฐม อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร แนวโน้มลดลง 27 เม.ย. 255 ]
  • 15:20 ช่วง 15:05 -15:15 วันนี้มีลมกระโชกแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เขตดินแดง และเขตหลักสี่ ความเร็วลมสูงสุด 69 กม./ชม. เขตดุสิต 64 กม./ชม.ซึ่งถือเป็นความเร็วลมระดับพายุโซนร้อนเลยทีเดียว (ระหว่าง 62-88 กม./ชม.ตามมาตรา RSMC โตเกียว)
  • 15:15 ต้นไม้ขนาดใหญ่ล้มพาดรถไฟฟ้าหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติทำให้ขบวนรถไฟฟ้า BTS สายสีลมไม่สามารถเข้าจอดที่สถานีสยามได้ via @punaloha CDlfqKpVEAAax0U
  • 15:11 เสาไฟฟ้าล้มทับรถยนต์แถบซอยหลังสวนและหน้าสวนลุมฯ จากลมที่พัดแรงจัดCDlnnMmUsAA_EFF CDlnnMnVAAAgTyc CDlnWFCUMAAvWiy
  • 15:09 พบลูกเห็บตกบนทางด่วนจากท่าเรือไปดินแดง ภาพโดย @Pacharapapon [hana-flv-player video=”/wp-content/uploads/Bkk-Heli.mp4″ width=”400″ description=”” player=”5″ autoload=”true” autoplay=”false” loop=”false” autorewind=”true” /]
  • 15:00.ฝนตกหนัก ฟ้าผ่า ไฟดับ หนองค้อ ศรีราชา
  • 14:40 กรุงเทพมหานครมีฝนอ่อนก่อตัวในพื้นที่ 2 กลุ่ม 1.เขตดอนเมือง บางส่วนเขตสายไหม บางเขน 2.เขตพระโขนง คลองเตย วัฒนา สวนหลวง ต่อเนื่องเขตดินแดง ห้วยขวางวังทองหลาง แนวโน้มคงที่
  • 14:00 กรุงเทพมหานคร มีฝนอ่อนก่อตัวในพื้นที่ 2 กลุ่ม 1.รอยต่อเขตลาดพร้าว บางเขน 2.เขตราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ
  • รวมบริจาคเงินช่วยเนปาล (ขอบคณภาพจาก MThai) CDkqRKBUIAEyLmK
  • 10:34 สรุปยอดจากแผ่นดินไหวเนปาล ล่าสุด (ไม่เป็นทางการ) เสียชีวิต 3,310 ราย แบ่งเป็น 3,218 รายในเนปาล 20 รายในจีน 68 รายในอินเดีย 4 รายในบังคลาเทศ
  • 07:00 ทั่วโลกยังไม่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนทุกชนิด ในทุกมหาสมุทร
  • 00:30 กทม.ฝนอ่อนเขตลาดกระบัง หนองจอก มีนบุรี สะพานสูง ประเวศ คันนายาว บึงกุ่ม ดินแดง ราชเทวี บางรัก เคลื่อนทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าพื้นที่ชั้นใน แนวโน้มลดลง ปริมาณฝนสูงสุดเขตจอมทอง 10 มม
  • คลิปหิมะถล่มที่เบสแคมป์ทางขึ้นเอเวอเรสต์ ในนาทีที่เกิดแผ่นดินไหวเนปาล [wpvp_embed type=youtube video_code=_JC_wIWUC2U width=560 height=315]
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี SURT จ.สุราษฎ์ธานีของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้ wave_SURT-20150427

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 9 ตุลาคม 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:00 ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นหว่องฟงอ่อนกำลังลงเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 ศูนย์กลางพายุล่าสุดอยู่ที่พิกัด  20.0°N 129.7°E กำลังเคลื่อนเข้าหาโอกินาวา 
  • 13:00 พายุหมุนเขตร้อนที่เหลืออยู่ในโลกเวลานี้ มี 2 ลูกคือพายุโซนร้อนฮุดฮุด ในมหาสมุทรอินเดีย และซุปเปอร์ไต้ฝุ่นหว่องฟง ในแปซิฟิคตะวันตก 
  • 11:00 ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญทั่วไทยเวลานี้ 
  • 10:03 ภาพสดจากกล้อง CCTV ที่เฝ้าดูภูเขาไฟซินาบุงในสุมาตราเหนือ ยังมีเขม่าสีขาวจากแก้สและไอน้ำออกมาอยู่  
  • 09:32 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 6.0 [USGS] บริเวณ ทางทิศใต้ของรอยแยกเปลือกโลกแปซิฟิคด้านตะวันออก ที่ความลึก 10 กม.
  • 09:14 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 6.8 [USGS] บริเวณ ทางทิศใต้ของรอยแยกเปลือกโลกแปซิฟิคด้านตะวันออก ที่ความลึก 10 กม.
  • 08:30 พายุดีเปรสชันไซมอน Simon ใกล้บาจาแคลิฟอร์เนีย สลายตัวแล้ว
  • 08:00 เส้นทางพายุของซุปเปอร์ไต้ฝุ่นหว่องฟง คำนวนเปรียบเทียบจากสำนักอุตุนิยมวิทยา 5 ประเทศ พายุมีโอกาสผ่านคิวชู ชิโกกุ และอาจไปไกลถึงฮอนชู
  • 07:00 เชียงราย 20°C เชียงใหม่ 22°C เลย 21°C แม่ฮ่องสอน 21°C พะเยา 21°C
  • 06:38 ภาพสดจากกล้อง CCTV ที่เฝ้าดูภูเขาไฟซินาบุงในสุมาตราเหนือ ปะทุเขม่าขาวออกมาสูงขึ้นไปในอากาศBzfAZLTCQAA5Wm2
  • 06:00 TSR ปรับเส้นทางพายุของซุปเปอร์ไต้ฝุ่นหว่องฟง โดยจะเข้าถึงโอกินาวาภายในวันที่ 12 ต.ค. ขึ้นฝั่งที่เกาะคิวชูภายในวันที่ 13 ต.ค. แล้วเลี้ยวขวาเคลื่อนตรงไปทางโอซากา 
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

[stextbox id=”info”]แผ่นดินไหวในแปซิฟิคขนาด 7.0 และ 6.5 ถือเป็นดับเบิลช็อค แต่ขนาด 5.2 ที่ตามมาถือเป็นอาฟเตอร์ช็อค ตามกฏของบาธ อาฟเตอร์ช็อคต้องเบากว่าเมนช็อค 1.2 เสมอ[/stextbox]

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 8 ตุลาคม 2557 (จันทรุปราคา)

เหตุการณ์วันนี้

  • 15:00 ภูเขาไฟซินาบุงในสุมาตราเหนือ ปะทุอีกรอบ (ภาพโดย  Sutanta Aditya) 
  • 13:00 พายุโซนร้อน TS 03B ได้ชื่อเรียกเป็นทางการแล้วว่า ฮุดฮุด HudHud ภาษาโอมาน เป็นชื่อนกประจำชาติอิสราเอล ทิศทางพายุมุ่งอินเดีย จะทวีกำลังเป็นไซโคลน จะไปขึ้นฝั่งที่ เมืองวิสาขปัทนัม หรือชื่อย่อว่า ไวแซก (Vizag) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองในรัฐอานธรประเทศ
  • 14:00 พายุโวนร้อนไซมอนนอกชายฝั่งเม็กซิโก อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชันแล้วในเวลานี้ 
  • 13:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 99B ในทะเลอันดามันทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน TS 03B แล้วในเวลานี้ ทิศทางมุ่งอินเดีย 
  • 09:40 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 6.2  บริเวณนอกชายฝั่งตะวันตกของเม็กซิโก ความลึก 2 กม.M6.2 - 121km WSW of El Dorado, Mexico 2014-10-08 02 40 54 UTC
  • 08:39 หว่องฟง กลายเป็น ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นที่แรงสุดของปีนี้ ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางมากกกว่า 280 กม/ชม 
  • 06:00 ไต้ฝุ่นหว่องฟง (TY19W) ทวีกำลังขึ้นถึงระดับ 5 กลายเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นลูกที่ 3 ของปีแล้วในเวลานี้ (STY19W) กำลังมุ่งไปทางโอกินาวา
  • 01:01 หย่อมความกดอากาศต่ำ 99B เคลื่อนห่างจากภาคใต้ของไทยเลยหมู่เกาะอันดามันแล้ว 
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 31 กรกฎาคม 2557

[stextbox id=”info”]อีโบลา มีอาการเริ่นต้น คือไข้สูงจัด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย  ระยะสองจะตกเลือดจากอวัยวะต่างๆ ตาแดง ตับไตม้ามวาย ตาย 50-90% ติดต่อทางสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง อสุจิ ไม่ติดทางการหายใจ[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 พายุโซนร้อนนากรี เคลื่อนมาประชิดฝั่งโอกินาวาแล้วในเวลานี้ 
  • 20:41 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 5.9 [Mw] บริเวณ หมู่เกาะอันดามันประเทศอินเดีย ที่ความลึก 18 กม. เปลือกโลกเคลื่อนตัวแบบ Normal dip slip หมายถึงรอยเลื่อนแยกตัวออก ซึ่งมีโอกาสก่อให้เกิดสึนามิได้น้อยกว่าแบบ Reverse dip slip ซึ่งหมายถึงรอยเลื่อนมุดตัวเข้าหากันgfz2014owog
  • 18:00 มีเพียง JTWC ที่ไม่ยอมรับการฐานะพายุของนากรี แต่อุตุนิยมประเทศอื่นอีก 5 ประเทศบริเวณนี้ล้วนคิดตรงข้าม Bt2DAT0CAAAU6eQ
  • 13:00 โมเดลล่าสุดจาก JMA  พายุโซนร้อนนากรี อยู่ที่พิกัด 25.3°N 127.1°E ใกล้เกาะโอกินาวา มีทิศทางตรงไปทางทะเลเหลือง  ไปไปทางเกาะเซจูตามโมเดลเดิมที่ออกมาเมื่อตีสี่
  • 13:00 JTWC ยังคงไม่ยกฐานะหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 96W เป็นพายุ 
  • 05:00 พายุดีเปรสชัน Hernan นอกชายฝั่งตะวันตกของเม็กซิโก สลายตัวแล้ว
  • 04:00 โมเดลล่าสุดจาก JMA  พายุโซนร้อนนากรี มีทิศทางตรงไปทางเกาะเชจูของเกาหลีใต้ผ่านทางเกาะโอกินาวา JMA-310714-0400
  • แผ่นดินและแม่น้ำในมณฑลหูเป่ยแห้งผากจากภัยแล้ง 
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:33 ถ.ประตูลอด อ.เมืองจ.นครศรีธรรมราชฝนตกน้อยลง ระดับน้ำยังไม่ เครดิตภาพ @Ai_Dechtanu
    BZxC-NDCUAAve4A
  • 22:10 น้ำท่วมชุมพร ล่าสุดมีปัญหาจราจร 2 จุด คือ ถ.สาย41 (เอเซีย) กม ที่ 25-26 อ.สวี ลึก 60-70 ซม และแยกปฐมพรสูง 100 ซม
  • 22:05 ภาพดาวหางไอซอน ถ่ายไม่กี่ ชม ที่ผ่านมานี้ จากทางตะวันตกเฉียงใต้ของแอฟฟริกา โดย Gerald Rhemann ผ่านกล้องดูดาว ison-231113
  • 22:00 รถทัวร์ปรับอากาศ ป.2 กทม.-ระนอง โดนกระแสน้ำพัดตะแคงอยู่ข้างทางผู้โดยสาร 30 คน ออกมาได้แล้วไม่มีคนเจ็บ (ถ.สายชุมพร-พะโต๊ะ/สื่อสาร5สายชลชุมพร)
  • 21:50 หย่อมความกดอากาศต่ำ 92W ที่ถล่มภาคใต้ของไทย ลงอันดามันทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน 05B แล้ว กำลังจะกลายเป็นไซโคลนไปอินเดีย 201305B
  • 20:13 หย่อมความกดอากาศต่ำ 92W ลงอันดามันไปแล้ว แต่ยังไม่วาย ทิ้งติ่งเมฆฝนไว้ให้ตกชุมพร กระบี่ และอีก 2-3 จังหวัด 
  • 12:30 สื่อฟิลิปปินส์ รายงานยอดผู้เสียชีวิตจากพายุไห่เยี่ยนล่าสุดที่ 5,233 รายแล้ว
  • 11:30 คลองท่าดี นครศรีธรรมราช น้ำล้นตลิ่งหลายจุด
  • 11:23 ภาพภายใน อ.ชะอวด มีน้ำท่วงขังระดับ 30 ซ.ม. เครดิตคุณ นาตา เฟียส์ 1441420_253493208136999_1364808703_n
  • 11:15 คลองนาท่อม บ้านท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง น้ำล้นตลิ่ง 66 ซม
  • 11:00 ขณะนี้ มีสะพานขาด บริเวณ ม.9 ต.นาเหรง อ.นบพิตำ ถ.ท่าพุด-ยอดเหลือง รถไม่สามารถสัญจรได้ Cr.ธนัชทัศน์ E29PQK via @PrachaRuamchai  1470204_253490644803922_985064649_n
  • 10:40 บ้านพอน ถลาง ภูเก็ต ฝนตกหนักมาก มีลมแรง
  • 09:59 สาย 403 ทุ่งสง-ห้วยยอด สัญจรได้ช่องทางเดียว เนื่องน้ำท่วมขัง
  • 09:30 ท่าศาลา นครศรี ฝนยังตก ถนนบางสายน้ำเริ่มข้ามถนนแล้ว
  • 05:00 ประกาศเตือนภัย- ฝนตกหนักและคลื่นลมแรง ฉบับที่ 16 กดอ่าน
  • 02:00 พายุเฮเลน ที่อินเดีย สลายตัวแล้ว
  • กรุงชิง นบพิตำ นครศรีสิกฤติถนนสะพานถูกตัดขาดอย่างน้อย 3 สายประชาชนกว่า 100 ครัวเรือนยังอพยพไม่ได้
  • NDRRMC รายงานยอดผู้เสียชีวิตจากพายุไห่เยี่ยนล่าสุดที่ 5,209 ราย
  • เกิดน้ำท่วมเากะ Rhodes ของกรีซ สญหาย 2 ราย
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 9 ตุลาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 สถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักฯ ปริมาณน้ำแทบไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว เทียบกับเช้านี้PSKDAM-09OCT13-1800
  • 17:00 ตามระบบคาดการณ์พายุของ ECMWF พายุนารี จะเคลื่อนเข้าไปในอ่าวตังเกี๋ยในอีก 7 วันข้างหน้า Wind3285032and32mslp_Asia_168
  • 15:00 สถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักฯ ปริมาณน้ำแทบไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว เทียบกับเช้านี้pskdam-20131009-1500
  • 14:00 ในโลกเวลานี้มีพายุหมุนเขตร้อน 4 ลูก คือ ดานัสที่ญี่ปุ่น นาร์ดาในแปซิฟิคตะวันออก 02B ในอันดามันและ 24 W ที่ฟิลิปปินส์ TSR-20131009
  • 13:00 กระแสลมที่ระยะความสูง 1.5 กม หรือ 850hPA ลมสวนทางซ้ายขวาแบ่งครึ่งไทยจากร่องความกดอากาศชัดเจน 2013-10-09_13_UpperWind850.jpg  1442×1006
  • 12:00 ระดับน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา เริ่มลดลงต่ำกว่า 14 เมตร
  • 09:00 สถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักฯ ปริมาณน้ำ inflow ลดลงใกล้่ outflow แล้วในเวลานี้ pasakdam-20131009-0900
  • 08:00 ดีเปรสชันที่หมู่เกาะอันดามัน(เกิดจากหย่อมความกด 90W ที่ไปจากอ่าวไทยวันก่อน) กลายสภาพเป็นพายุโซนร้อน 02B แล้วในเวลานี้ ทิศทางมุ่งไปอินเดีย 201302B-20131009-0801 (Custom)201302B
  • 06:00 ผังน้ำเจ้าพระยา เวลานี้ Chao_low09102013
  • 06:00 ภาพจาก JTWC แสดงการทวีกำลังของหย่อมความกดอากาศต่ำ 90W ในทะเลอันดามัน หย่อมความกดอากาศต่ำ 92W และพายุดีเปรสชัน 24W ในทะเลฟิลิปปินส์ 
  • 06:00 สถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักฯ ปริมาณน้ำ 137% ของระดับเก็บกักปกติ PSKDAM-09OCT13-0600
  • 04:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุดีเปรสชัน 24W ทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ เส้นทางพายุจะผ่านประเทศฟิลิฟฟินส์เข้ามาในทะเลจีนใต้ 201324W-20131009-0400
  • 03:00 ลมสุริยะจากหลุมโคโรนาบนดวงอาทิตย์เมื่อวันจันทร์ มาถึงโลกเมื่อคืนนี้ ขณะนี้เกิดพายุสนามแม่เหล็กโลกที่ระดับ G1 Kp-20131009
  • 00:00 สถาการณ์ล่าสุดของเขื่อนป่าสักฯ pasakdam-20131009-0000
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 17 สิงหาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 13:00 ตำแหน่งพายุคู่แฝดล่าสุดจาก JTWC 
  • 10:30 โลกเรานาทีนี้มีพายุหมุนเขตร้อน 4 ลูก คือ พายุโซนร้อนเอรินในแอตแลนติก พายุโซนร้อนพีวา กลางแปซิฟิก ดีเปรสชันคู่แฝด 12W-13W ใกล้ไต้หวัน-ฟิลิปปินส์ TSR-20130817-1000
  • 09:00 TSR และ JTWC ประกาศการก่อตัวของพายุคู่แฝดแล้ว โดย 98W กลายเป็นดีเปรสชัน 12W และ 99W กลายเป็นดีเปรสชัน 13W โดยมีทิศทางวิ่งวนทวนเข็ม มีโอกาศที่พายุจะรวมกันเป็นลูกเดียว TSR-20130817-0900
  • 07:48 ยังคงมีพายุสุริยะ ความเร็วลม 763 กม/วินาที เหนือบรรยากาศโลกในเวลานี้ sw_dials-20130817-0748
  • 06:32 ภาพจากดาวเทียม MTSAT-2 แสดงพายุดีเปรสชันทั้ง 2 ลูก 20130816.2324.f18.x.vis1km.12WTWELVE.25kts-999mb-213N-1245E.100pc
  • 04:00 JTWC ยังไม่ประกาศให้คู่แฝด LPA 98W และ 99W เป็นพายุดีเปรสชัน แต่ให้เป็นเพียงหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (HIGH)
  • 02:30 พายุดีเปรสชัน 01C กลางมหาสมุทรแปซิฟิก ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน ได้ชิ่อว่า Pewa 201301C
  • 01:00 ทาง JMA ให้ค่าหย่อมความกดอากาศต่ำ 98W และ 99W ทางตะวันออกของไต้หวัน เป็นดีเปรสชันแล้ว ถือเป็นดีเปรสชันฝาแฝดคู่แรกของฤดู b-00
  • ปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย SirikitDam15AUG13
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • 21:41 แผ่นดินไหวขนาด 5.0 ลึก 13 กม. ที่หมู่เกาะอันดามัน (11.25,93.63)
  • 09:45 แผ่นดินไหวขนาด 3.8 ประเทศพม่า (21.77,98.97)
  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก USGS (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในอเมริกา)

  • เมื่อ 23.49 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 บริเวณ ทางเหนือของ อลาสกา ที่ความลึก 14.70 กม.
  • เมื่อ 23.07 ตามเวลาไทย เกิดอาฟเคตอร์ช็อคขนาด 4.4 บริเวณ ช่องแคบคุ้ก ประเทศนิวซีแลนด์ ที่ความลึก 18.80 กม.
  • เมื่อ 22.33 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ ทางเหนือของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 9.10 กม.
  • เมื่อ 21.51 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ เกาะสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 72.40 กม.
  • เมื่อ 21.15 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ ทิศเหนือของ เกาะฮัลมาเฮรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 80.80 กม.
  • เมื่อ 20.04 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ ทิศใต้ของ หมู่เกาะฟิจิ ที่ความลึก 463.60 กม.
  • เมื่อ 18.57 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.4 บริเวณ Near Islands หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 37.20 กม.
  • เมื่อ 18.12 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 บริเวณ Mona Passage เปอร์โตริโก ที่ความลึก 61.00 กม.
  • เมื่อ 18.11 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.0 บริเวณ Rat Islands หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 26.90 กม.
  • เมื่อ 17.59 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ Rat Islands หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 35.20 กม.
  • เมื่อ 17.46 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ สาธารนรัฐโดมินิกัน ที่ความลึก 88.00 กม.
  • เมื่อ 17.20 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ ใกล้ชายฝั่งตะวันออกของ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 34.80 กม.
  • เมื่อ 16.19 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ ทางเหนือของ สันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติค ที่ความลึก 10.10 กม.
  • เมื่อ 15.58 ตามเวลาไทย เกิดอาฟเคตอร์ช็อคขนาด 5.1 บริเวณ ช่องแคบคุ้กประเทศนิวซีแลนด์ ที่ความลึก 18.50 กม.
  • เมื่อ 15.18 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 112.60 กม.
  • เมื่อ 14.53 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.3 บริเวณ ใกล้ชายฝั่งทางเหนือของ จังหวัดปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 39.40 กม.
  • เมื่อ 12.50 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.4 บริเวณ Rat Islands หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 35.00 กม.
  • เมื่อ 12.29 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ Rat Islands หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 36.90 กม.
  • เมื่อ 12.25 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.0 บริเวณ Rat Islands หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 40.70 กม.
  • เมื่อ 11.24 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.2 บริเวณ เกาะสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 56.00 กม.
  • เมื่อ 11.15 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 105.30 กม.
  • เมื่อ 11.13 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 บริเวณ Cook Strait ประเทศนิวซีแลนด์ ที่ความลึก 10.00 กม.
  • เมื่อ 09.45 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0 บริเวณ เกาะใต้ของประเทศนิวซีแลนด์ ที่ความลึก 10.30 กม.
  • เมื่อ 07.20 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ ทิศใต้ของ หมู่เกาะฟิจิ ที่ความลึก 551.10 กม.
  • เมื่อ 07.04 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.0 บริเวณ ประเทศตองกา ที่ความลึก 58.40 กม.
  • เมื่อ 06.28 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.9 บริเวณ ทางเหนือของ สันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติค ที่ความลึก 10.00 กม.
  • เมื่อ 05.55 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.2 บริเวณ ทางเหนือของ อลาสกา ที่ความลึก 12.40 กม.
  • เมื่อ 05.20 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 125.00 กม.
  • เมื่อ 05.17 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.4 บริเวณ Atacama ประเทศชิลี ที่ความลึก 41.70 กม.
  • เมื่อ 04.34 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.5 บริเวณ กลุ่มเกาะแอนเดรียน หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 6.60 กม.
  • เมื่อ 04.12 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.9 บริเวณ Rat Islands หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 22.00 กม.
  • เมื่อ 03.55 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.7 บริเวณ กลุ่มเกาะแอนเดรียน หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 11.10 กม.
  • เมื่อ 03.49 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.4 บริเวณ แถบเทือกเขาฮินดู คุช ประเทศอัฟกานิสถาน ที่ความลึก 120.30 กม.
  • เมื่อ 03.43 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ กลุ่มเกาะแอนเดรียน หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 13.80 กม.
  • เมื่อ 03.35 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ กลุ่มเกาะแอนเดรียน หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 11.00 กม.
  • เมื่อ 03.31 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.4 บริเวณ กลุ่มเกาะแอนเดรียน หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 7.60 กม.
  • เมื่อ 03.25 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 บริเวณ กลุ่มเกาะแอนเดรียน หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 38.20 กม.
  • เมื่อ 02.28 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.0 บริเวณ ทางเหนือของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 28.30 กม.
  • เมื่อ 02.21 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 122.30 กม.
  • เมื่อ 02.07 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ ตอนกลางของ อลาสกา ที่ความลึก 14.10 กม.
  • เมื่อ 00.40 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ กลุ่มเกาะแอนเดรียน หมู่เกาะอะลูเชียน , อลาสกา ที่ความลึก 218.80 กม.

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 1 เมษายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • 13:07 แผ่นดินไหว 4.2 หมู่เกาะอันดามัน (กดดูรูปคลื่นจากสถานี SRDT)Q1307

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)