ดาวเคราะห์น้อย 2008 TC3 ชนโลกที่ซูดาน

เมื่อเช้าวันที่ 7 ตุลาคม 2551 มีดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งได้พุ่งเข้าสู่โลกและระเบิดขึ้นในบรรยากาศสูงขึ้นไป 37 กิโลเมตรเหนือน่านฟ้าของประเทศซูดาน ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีชื่อว่า 2008 TC3 ซึ่งถูกค้นพบก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งวัน

แม้นักดาราศาสตร์บางคนเชื่อว่าการระเบิดนั้นจะทำลายเนื้อเดิมไปจนหมดสิ้นกลางอากาศ แต่ปฏิบัติการค้นหาชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยก็เกิดขึ้นที่ทะเลทรายนิวเบียน และการค้นหานี้ก็ได้ผลลัพท์ที่ไม่คาดฝัน

นักศึกษาและเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยคาร์ทอม ขณะกำลังเตรียมค้นหาเศษอุกกาบาต

การค้นหาดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเซติและมหาวิทยาลัยคาร์ทอม โดยค้นหาเป็นระยะทางยาว 29 กิโลเมตรในเส้นทางที่คำนวณจากทิศทางที่ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าสู่โลก เพียงสองชั่วโมงหลังจากการค้นหาเริ่มต้นก็พบเศษอุกกาบาตชิ้นแรก และเมื่อสิ้นสุดการค้นหา ก็นับจำนวนได้ทั้งสิ้น 280 ชิ้น ชิ้นที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดเท่าไข่ไก่

“นี่เป็นโอกาสที่พิเศษจริง ๆ เป็นครั้งแรกที่เราสามารถนำตัวอย่างของเศษดาวเคราะห์น้อยที่เห็นตั้งแต่ยังอยู่ในอวกาศ และนำมันมาเข้าห้องทดลองได้” เจนนิสเกน หัวหน้าผู้เขียนรายงานที่ตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์กล่าว

ความน่าสนใจยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ไมเคิล โซเลนสกี นักวิทยาแร่อวกาศจากศูนย์อวกาศจอห์นสันของนาซาพบว่าอุกกาบาตที่พบนี้มีความพรุนถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่แม้จะพรุนมากแต่ก็ยังแข็งพอที่จะฝ่าบรรยากาศมาถึงพื้นโลกได้

จากการศึกษาสเปกตรัม นักดาราศาสตร์ทราบว่าดาวเคราะห์น้อย 2008 ทีซี 3 เป็นดาวเคราะห์น้อยชั้นเอฟ (F-class asteroid) การที่นักดาราศาสตร์สามารถเชื่อมโยงอุกกาบาตที่พบบนพื้นโลกเข้ากับดาวเคราะห์น้อยที่เห็นในอวกาศและทราบชนิดมาก่อน ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถวัดสมบัติต่าง ๆ ของดาวเคราะห์น้อยชนิดนั้นได้โดยตรง

“การศึกษาดาวเคราะห์น้อยชั้นเอฟจากอุกกาบาตจึงมีผลดีต่อการหาวิธีป้องกันโลก จากการรุกรานของดาวเคราะห์น้อยชั้นเอฟดวงที่ใหญ่กว่าที่อาจจะมาชนโลกในวัน ข้างหน้าได้ การที่ได้รู้ว่าดาวเคราะห์น้อยจำพวกนี้มีความเปราะมากเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการสกัดกั้นดาวเคราะห์น้อยมรณะชั้นเอฟด้วยระเบิดนิวเคลียร์แบบที่เห็นในภาพยนต์นั้นย่อมไม่ใช่ทางเลือกที่ฉลาด เพราะ การระเบิดจะทำให้วัตถุเดี่ยวที่คาดการณ์ได้ต้องแตกออกเป็นฝูงของดาวเคราะห์ น้อยดวงเล็กที่ยังมีอานุภาพร้ายแรงแต่มีจำนวนมากซึ่งคาดการณ์ได้ยากกว่า” เจนนิสเกนส์อธิบาย

ที่มา:

ข่าว-ดาวเคราะห์น้อยชนโลกปี ค.ศ. 2040

ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5

ช่วงวันสองวันนี้ มีข่าวจากสื่อต่างๆในไทย เรื่องดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5  ที่จะเข้าชนโลกใน 28 ปีข้างหน้า ซึ่งจะตรงกับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2040 หรือ พ.ศ. 2583 นั้น

ทางเว็บภัยพิบัติ ได้ตรวจสอบข้อมูลจาก NASA และขอชึ้แจงว่า ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 ในขณะนี้ ค่าความเสี่ยงการชนกับโลก ในตารางทอริโน = 1  ในระดับสีเขียว ซึ่งแปลว่ายังไม่ควรมีความกังวลใดๆทั้งในระดับประชาชนทั่วไปหรือหน่วยงานรัฐฯ (อ้างอิง บทความเพิ่มเติม)

ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 ได้รับการค้นพบในวันที่ 8 มกราคม 2554 ด้วยกล้อง 60 นิ้วชนิดสะท้อนแสง บนยอดเขาแคทารินา ในรัฐนเอริโซนา

ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 มีลักษณะเป็นก้อนหินแบบรี ขนาดของส่วนที่กว้างที่สุด 140 เมตร มีมวล 4 พันล้านกิโลกรัม มีแรงปะทะ 102 ล้านตัน และมีความเร็วในวงโคจร 14.67 กิโลเมตร/วินาที

จากการคำนวนในขณะนี้ ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5  มีโอกาสชนกับโลกที่  0.16% แปลว่าจะพลาดไปจากโลกสูงถึง 99.84%  ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ 2040

แต่ทั้งนี้ เนื่องจากเรายังไม่มีรูปแบบวงโคจรเต็มวงของ 2011 AG5 ซึ่งปกติเราต้องใช้วงโคจรเต็มวง 2 รอบเพื่อแน่ใจในการคำนวนโอกาสการเข้าชนของดาวเคราะห์น้อยต่างๆ และการกำหนดรูปแบบวงโคจร จะทำในเดือนกันยายน ปี 2013 ซึ่ง ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 จะเข้ามาใกล้โลกที่ระยะ 147 ล้านกิโลเมตร

หลังจากนั้น จะมีการสังเกตช่วงการเข้า keyhole หรือ รูกุญแจ ของก้อนหินก้อนนี้ในปี 2023 ซึ่ง 2011 AG จะเข้ามาใกล้โลกมากถึงระยะ 1.6 ล้านกิโลเมตร และจะเป็นการกำหนดความแน่นอนระยะสุดท้าย เพราะหากดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5  รอดรูกุญแจของมันได้ในปี 2023 นั่นแปลว่ารอบต่อไปจะเกิดการเข้าชนในความน่าจะเป็นที่สูงที่สุด และเรามีเวลา 17 ปีในการเตรียมการรับมือ

ปล. รูกุญแจ คือบริเวณที่แรงดึงดูดของโลกมีผลหักเหวงโคจรของ NEO ต่างๆ ซึ่งเป็นบริเวณที่สมมุติไว้ มีขนาดไม่กี่ไมล์ถึงไม่กี่ร้อยไมล์ และจะเป็นการสังเกตในรอบโคจรรอบสุดท้ายก่อนหน้าการเข้าชน 1 รอบ หาก NEO ไม่ผ่านเข้ารูกุญแจ การเข้าชนกับโลกในรอบต่อไปก็จะไม่เกิดขึ้น

ท่านสามารถกดดู ตารางข้อมูล และ วงโคจร จาก NASA ได้โดยตรงโดยคลิ็กที่ Link