รายงาน​ภัยพิบัติ​ 15 มกราคม​ 2566

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:31 เกิดการ​ปะทุ​ใน​ความรุนแรง​ระดับ​ M4.9 จากจุด​มืดหมายเลข​ 3190 บนดวงอาทิตย์​ในทิศทางที่ไม่หันตร​งมา​ทางโลก​ การปะทุนี้ไม้ส่งผล​ใดๆใน​เบื้องต้น​
  • 16:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​สูง​สุด​ใน​ภาค​เหนือ​ Cr​: กรมอุตุฯ
  • 10:36 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.7 ลึก 10​ กม. พิกัด 39.23°E 38.40°N จังหวัด​เอลาซิก ประเทศ​ตุรเคีย
  • 07:00  แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​เหนือ​ วัดเฉพาะ​พื้นราบไม่รวมยอดดอย Cr :กรมอุตุฯ
  • 07:00 หมอกลงจัดในหลายจังหวัด​ของภาคกลาง​และภาค​ตะวันออก​
  • 07:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​ตะวันออก​เฉียง​เหนือ​ตอ​นบน​ ทั้งยอดภูและ​พื้น​ราบ Cr :กรมอุตุฯ
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในประเทศ​ไทย​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้)​ จากกรมอุตุฯ
  • 04:57 เกิดการ​ปะทุ​ใน​ความรุนแรง​ระดับ​ M  จำนวน 2 ครั้งติดๆกันจากจุด​มืดหมายเลข​ 3182 บนดวงอาทิตย์​ในทิศทางที่ไม่หันตร​งมา​ทางโลก​ การปะทุนี้ไม่ส่งผล​ใดๆใน​เบื้องต้น
  • 03:32 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.7  ลึก​ 149   กม.พิกัด​ 106.53°E 6.39°S เกาะ​ชวา​ ประเทศ​อ​ินโดนีเซีย​
  • แผนที่จุดความร้อนในภาคเหนือ​ย้อนหลัง 1 วัน
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี ดอยสุ​เทพ​ จ.เชียงใหม่​ กรมอุตุฯ

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 27 มิถุนายน​ 2564

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:25 เรดาร์​ฝน​จากสำนักการระบายน้ำ กทม ที่หนองจอก (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​กรุงเทพฯ​และ​ปริมณฑล​รวมทั้ง​บาง​จังหวัด​ใน​ภาค​กลาง​ตอน​ล่าง​และ​ภาค​ตะวันออก​ตลอด 45 นาที​ที่ผ่านมา
  • 23:24 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.0 (mb) ลึก 10 กม. พิกัด 100.77°E 3.23°S ในทะเลใกล้​ชายฝั่ง​ทาง​ตะวันตก​เฉียง​ใต้​ของ​เกาะ​สุมาตรา
  • 20:00 เรดาร์​ฝน​ TMD ขอนแก่น​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ตะวันออก​เฉียง​เหนือ​ ช่วง 1 ชั่วโมง​15 นาที​ที่ผ่านมา
  • 13:00 พายุโซนร้อน “จำปี” ຈຳປີ Champi ​ ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุ 35 น็อต มีพิกัดล่าสุดอยู่ที่ 31.9 N 142.5 E ทางตะวันตกของมหาสมุุทรแปซิฟิก เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มีแนวโน้มขึ้นฝั่งประเทศ​ใด​
  • 11:15 จุดมืดหมายเลข​ 2835 ซึ่งเป็นจุดมืดสองขั้วที่มีขนาดใหญ่ท​างตะวันออก​เฉียง​ใต้​ฝั่งที่หันหาโลกของดวงอาทิตย์​ยังไม่เกิดการปะทุ อาจเพราะส่วนที่เป็นสีแดงในภาพคือขั้วเหนือ (+)​  และขั้วใต้​ (+)​ ยังไม่มีการเข้ามาแตะต้องกัน และจะยังคงสงบไปอีกระยะ
  • 10:55 แผ่นดินไหว​ขนาด 4.6 (mb)​ ลึก 10​   กม. พิกัด  19.63°E 27.64°S ประเทศ​นามิเบีย​
  • 08:00 สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศ​ไทยวันนี้ พบผู้ป่วยใหม่ 3,995 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมยืนยันแล้ว 244,447 ราย เสียชีวิต​ราย​ใหม่​ 42 ราย รวมเสียชีวิต​สะสม 1,912​ ราย​
  • 06:50 ตารางแสดงจำนวน 20 อันดับแรกของประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไวรั​สโค​โร​นา​รายใหม่ต่อวันสูงสุดในโลก (ช่องสีเหลือง)​ ช่วง 24 ชั่วโมง​ที่ผ่านมา​ (ข้อมูล​จาก​ worldometers.info)
  • 05:12 แผ่นดินไหว​ขนาด 4.7 (mb)​ ลึก  10​ กม. พิกัด  113.92°E 22.93°S ทางตะวันตก​เฉียง​เหนือ​ของ​ออสเตรเลีย​
  • 04:00 พายุเฮอริเคน​ “เอนริเก” ENRIQUE ที่​พิกัด​ 17.3 N 105.9 W ทางตะวันตก​ของ​ประเทศ​เม็กซิโก​ ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​พายุ​ 75 น็อต​ ยังคง​เคลื่อนตัว​ขนานฝั่ง แนวโน้ม​ทวี​ก​ำ​ลัง​ขึ้น​เล็กน้อย​
  • 01:00 พายุ​ไต้ฝุ่น​ “จำปี” ຈຳປີ Champi ​อ่อน​กำลัง​ลง​เป็น​พายุ​โซน​ร้อน​ ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​พายุ​ลดลง​เหลือ​ 40​ น็อต​ พิกัด​ล่าสุด​อยู่ที่​ 28.2 N 140.8 E ทางตะวันตก​ของ​มหาสมุทร​แปซิฟิก​ ยังคงเคลื่อนตัว​ขึ้น​ทิศเหนือค่อน​ไป​ทาง​ตะวันออก​ และไม่มีแนวโน้มขึ้นฝั่งประเทศใด
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อน​วชิราลงกรณ์​ จ.กาญจนบุรี​(KHLT) ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 06:45 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ พฤหัส​ 25 กุมภาพันธ์​ 2564

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:26 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.5 (mb) ลึก​ 10 กม. พิกัด​ 95.93°E 22.74°N ประเทศ​พม่า (กรมอุตุ​วัดขนาดได้​ 4.0)
  • 15:00 จุดมืด 2804 ที่กำลังเคลื่อนไปด้านหล​ังตามการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ขยายขนาดขึ้น 2 เท่า หากเกิดการปะทุจะไม่ส่งผลโดยตรงมาทางโลก
  • 14:50 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.6 (mb) ลึก​ 10 กม. พิกัด​ 95.98°E 22.75°N ประเทศ​พม่า (กรมอุตุ​วัดขนาดได้​ 4.8)
  • 11:30 สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศ​ไทยวันนี้ พบผู้ป่วยใหม่  72 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมยืนยันแล้ว 25,764 ราย เสียชีวิต​ราย​ใหม่​ 0 ราย รวมเสียชีวิต​สะสม 83 ราย
  • 09:34 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.6 ลึก​ 10 กม. พิกัด ​95.91°E 22.83°N ประเทศ​พม่า​ (กรมอุตุ​วัดได้ 5.3)
  • 06:45 กรุงเทพฯ​ 25°C เชียงราย​ 18°C เชียงใหม่​ 19°C เลย 19°C อุบล​ฯ 23°C โคราช​ 23°C นครสวรรค์​ 24°C ชลบุรี​ 24°C สงขลา 23°C ภูเก็ต​ 24°C ตาก 22°C กาญจนบุรี​ 24°C
  • 05:24 สรุปยอด COVID-19 ทั่วโลก แสดงเฉพาะประเทศที่มีผู้ป่วยสะสมที่ยืนยันแล้วมากกว่า 1,000,000 ราย
  • 01:16 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.6 ลึก​ 10 กม. พิกัด​ 91.12°E 20.07°N อ่าวเบงกอล
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 16:26 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.0 ลึก​ 10 กม. พิกัด​ 96.078°E 22.793°N ประเทศ​พม่า (เครือข่ายสากลวัดขนาดได้ 4.5 mb)
  • 14:50 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.8 ลึก​ 10 กม. พิกัด​ 95.978°E 22.766°N ประเทศ​พม่า (เครือข่ายสากลวัดขนาดได้ 4.6 mb)
  • 09:34 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.3 ลึก 10 กม. พิกัด​ 23.01°N 96.063°E ประเทศ​พม่า (เครือข่ายสากลวัดขนาดได้ 4.6)​
  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อน​กิ่วลม จ.ลำปาง(LAMP) ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 06:45 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

พุธ 28 มีนาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 14:58 สภาพปากแม่น้ำน่านที่จังหวัดพิจิตร จากปัญหาภัยแล้ง 
  • 13:00 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 96W ในทะเลจีนใต้เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกมีแนวโน้มจะกลายสภาพเป็นพายุดีเปรสชัน ขณะที่พบหย่อมความกดอากาศต่ำกลุ่มใหม่ในมหาสมุทรแปซิฟิคทางตะวันออกของออสเตรเลีย
  • 07:00 กทม 28°C กระบี่ 24°C ขอนแก่น 23°C อุดร 21°C อุบล 21°C ลำปาง 24°C เชียงใหม่ 26°C หาดใหญ่ 23°C หนองคาย 23°C น่าน 20°C
  • จุดดับ 1429 บนดวงอาทิตย์ ที่เคยพ่น CME และก่อให้เกิดลมสุริยะเมื่อต้นเดือนมีนาคม จนขณะนี้ยังไม่สลายตัว นับเป็นจุดดับที่มีอายุยืนยาวมากที่สุดจุดหนึ่งในรอบหลายๆปี เมื่อ 26 มีนาคมที่ผ่านมา ก็ยังปะทุพ่น CME ออกมาอีกครั้ง โดยครั้งนี้ จุดดับได้หันไปอยู่อีกด้านของดวงอาทิตย์แล้ว จึงมีผลต่อโลกไม่มากนัก 
  • 06:00 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังปานกลาง 96W ที่มีโอกาสพัฒนาเป็นพายุ ยังมีตำแหน่งอยู่ในทะเลจีนใต้ แนวโน้มไม่เคลื่อนที่
  • 05:30 กทม 28°C กระบี่ 24°C เชียงราย 23°C ขอนแก่น 23°C อุดร 22°C อุบล 21°C ลำปาง 26°C เชียงใหม่ 26°C หาดใหญ่ 23°C
  • 00:50 ทั่วโลกยังไม่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนทุกชนิดในทุกมหาสมุทร
  • เปลือกโลกอินเดียกำลังขยับตัว มีแผ่นดินไหวทางตอนใต้ของมณฑลชิงไห่ และชายแดนเนปาล-อินเดีย ช่วงเช้าของวันนี้
  • รายชื่อดาวเคราะห์น้อยที่เคลื่อนที่เข้าใกล้โลกในช่วงนี้ (เท่าที่รู้จัก) 

พุธ 7 มีนาคม 2555 (มาฆบูชา)

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:30 อุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนฉบับที่ 1 กดอ่าน
  • 16:00 ผลจากการปะทุรุนแรงเมื่อช่วงเช้าบนดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดพายุแม่เหล็กในบรรยากาศโลกในระดับ kp=6 ในกราฟที่ 1 เกิดระดับรังสี X ที่สูงถึง X5.4 แสดงในกราฟที่ 2 และระดับโปรตรอนที่เพิ่มสูงผิดปกติในทุกช่วงพลังงานอนุภาคดังในกราฟที่ 3 รวมทั้งสนามแม่เหล็กระดับพื้นผิวในกราฟที่ 4 คือกราฟของ  Kiruna magnetogram ซึ่งเกิดการสั่นไหวรุนแรงทั้งแกน x,y,z ขณะที่ลมสุริยะมีความเร็วต่ำมาก เพียง 289 กม/วินาที เท่านั้น ไม่กลายเป็นพายุสุริยะแต่อย่างใด
  • 07:28 เกิดการปะทุระดับ X5.4 ที่จุดดับขนาดใหญ่กว่าโลก 4 เท่า หมายเลข 1429 บนดวงอาทิตย์ ซึ่งปะทุไปแล้ว 1 รอบเมื่อหลายวันก่อน ในครั้งนี้ 1429 ได้หันมาในด้านที่ตรงกับโลกมากขึ้น แม้ยังไม่เป็นแนวเดียวกันก็ตาม ภาพถ่ายจากยาน STEREO-B ก็ยังไม่ยืนยันว่ากลุ่มแก้สร้อนจาก CME มีทิศทางมุ่งมายังโลกหรือไม่ แต่ผลจากการปะทุนี้จะเกิดแสงเหนือกับโลกภายใน 24 ชั่วโมงนี้จากอนุภาคต่างๆที่เกิดขึ้น
  • 06:00 กทม 28°C ปราจีน 28°C อุบล 27°C สุราษฎ์ธานี 23°C ขอนแก่น 24°C อุดร 23°C ลำปาง 19°C เชียงใหม่ 19°C
  •  01:18 แผ่นดินไหว 2.2 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
  • ฝรั่งเศส – เกิดพายุหิมะถล่มตอนเหนือของประเทศ เกิดไฟฟ้าดับและระบบการจราจรสับสนอลหม่าน
  • อัฟกานิสถาน -เกิดเหตุหิมะถล่มฝังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในตำบลเชอเคย์พื้นที่แถบภูเขา จังหวัดหวัดบาดักห์ชาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีรายงานยอดผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 37 คน และยังมีอีกกว่า 12 คน ติดอยู่ใต้กองหิมะ
  • ออสเตรเลีย – ความกดอากาศต่ำกำลังแรงปานกลาง ยังปกคลุมทางตะวันออกของประเทศ 

วัฏจักรสุริยะที่ 24

วัฏจักรสุริยะ (Solar Cycle) คือ รอบของการเปลี่ยนแปลงปริมาณ “จุดดับของดวงอาทิตย์ ” (Sunspot) สมัยนี้อาจเรียกจุดมืด หรือจุดดำ สำหรับวัฏจักรสุริยะหนึ่งๆ จะกินระยะเวลาโดยประมาณ 11 ปี
ปริมาณของจุดดับนั้น ในช่วงต่ำสุด หรือ Solar Minimum อาจมีเพียง 2-3 จุด แต่ในช่วงที่มีมากที่สุด หรือช่วง  Solar Maximum อาจจะมากกว่า 160 จุดถึง 200 จุด

ในช่วงเริ่มวัฏจักร หรือ รอบ (cycle) ใหม่จะมีปริมาณของจุดดับน้อย และก็จะมีปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้น และมากที่สุดในช่วงกลางวัฏจักร และค่อยๆน้อยลงในช่วงปลายวัฏจักร ก่อนจะเริ่มนับรอบ (cycle ) ใหม่อีกครั้ง
แต่ในบางครั้ง จำนวนจุดมืดก็ไม่ได้เป็นไปตามวัฏจักรสุริยะ โดยเฉพาะในระหว่างปี 1645-1715 เป็นช่วงระยะเวลาที่แทบจะไม่ปรากฏจุดมืดใดๆ บนผิวดวงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์เรียกช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ว่า “ช่วงต่ำสุดมอนเดอร์ (Maunder Minimum)”

สิ่งที่นักดาราศาสตร์ใช้เป็นตัวบอกจุดเริ่มต้นของวัฏจักร คือ การนับจำนวนจุดดับบนดวงอาทิตย์ ช่วงท้ายวัฏจักรจุดดับจะเกิดขึ้นบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร เมื่อวัฏจักรใหม่เริ่มต้นเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น จุดดับจะเกิดขึ้นอยู่ในแนวเส้นรุ้งที่สูง คือ ค่อนไปทางขั้วดวงอาทิตย์ ราว 25-30 องศาทั้งเหนือและใต้ และมีขั้วของสนามแม่เหล็กในจุดดับตรงข้ามกับรอบที่ผ่านมา เมื่อวัฏจักรเข้าสู่จุดสูงสุด จุดดับบนดวงอาทิตย์จะเคลื่อนตัวมาอยู่ใกล้กับแนวเส้นศูนย์สูตร ซึ่งจะถึงจุดสูงสุดเมื่อจุดดับมีจำนวนประมาณ 160 จุด อีก วิธีหนึ่งที่ทำได้ก็คือนำตำแหน่งของจุดดับมาเขียนแผนภูมิเทียบกับเวลา เราจะได้แผนภูมิที่มีรูปร่างคล้ายกับตัวผีเสื้อ (Butterfly Diagram)

เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2551 นักดาราศาสตร์ได้พบจุดมืดบนดวงอาทิตย์ที่มีขั้วแม่เหล็กสลับกับวัฏจักรที่ผ่านมา จุดมืดนั้นเกิดขึ้นที่ละติจูด 30 องศาเหนือ มีชื่อตามระบบเรียกของโนอาว่า เออาร์ 10981 (AR10981) หรือเรียกแบบย่อว่า จุด 981 จุดนี้มีขนาดใหญ่เท่าโลก แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเล็กเทียบกับจุดทั่วไปบนดวงอาทิตย์ มีอายุอยู่ได้เพียง 3 วันก็สลายไป แต่ก็นับเป็นการเริ่มต้นวัฏจักรใหม่อย่างเป็นทางการ

วัฏจักรสุริยะที่อยู่ถัดกันอาจมีการเหลื่อมเวลาเล็กน้อย ซึ่งอาจกินเวลานานถึงหนึ่งปี ดังนั้น แม้วัฏจักรใหม่จะเริ่มแล้ว แต่วัฏจักรที่ผ่านมาก็อาจจะยังไม่สิ้นสุดเสียทีเดียว นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังคิดว่า มีความเป็นไปได้ที่ วัฏจักรที่ 23 อาจจะยืดเยื้อเช่นเดียวกับ วัฏจักรที่ 20 ที่ครองแชมป์การเป็นวัฏจักรที่กินระยะเวลานานที่สุดก็เป็นได้

การขายตัวของจุดดับ AR1363 บนดวงอาทิตย์


ภาพถ่ายจากยาน SDO ของ NASA แสดงถึงจุดดับ AR1363 ที่ขยายขนาดอย่างรวดเร็วใน 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา (กดที่ภาพเพื่อดูการเคลื่อนไหว)  จุดดับขนาดนี้หากปะทุ จะเกิดความรุนแรงในระดับ M -Class และโดยเฉพาะทิศทางของจุดดับนี้หันตรงมายังโลก โปรดติดตามความเคลื่อนไหวต่อไป