รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”info”]พายุไซโคลน ไต้ฝุ่น เฮอริเคน คือพายุชนิดเดียวกัน คนเราเรียกชือต่างกันเพราะสถานที่เกิดนั้น เกิดคนละมหาสมุทรกัน ก็แค่นั้น ไม่มีอะไรที่มีพลังแรงกว่าอะไร[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:28 ภาพล่าสุดเวลานี้ จากกล้อง LASCO C3 ของยาน SOHO 20131128_2228_c3_512
  • 21:30 ภาพล่าสุดเวลานี้ จากกล้อง LASCO C3 ของยาน SOHO SOHO LASCO C3-2130
  • 20:51 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 5.6 บริเวณ ทางทิศใต้ของประเทศอิหร่าน ที่ความลึก 16.4 กม. แรงสั่นไหว หรือความเร่งสูงสุดที่ผิวโลก 16%g วัดโดย [USGS] ยอดตายเป็นทางการ 7 ราย บาดเจ็บ 72 ราย (ภาพจาก  Khaberfarsi.com)Screen-Shot-2013-11-28-at-18.39.47
  • 19:45 ภาพล่าสุดเวลานี้ จากกล้อง LASCO C3 ของยาน SOHOcomet-ison-11-28-2013-soho-300x300
  • 19:30 ยอดตายจากมหาพายุไห่เยี่ยน ล่าสุดเพิ่มมาที่ 5,560 ราย
  • 15:16 พายุเลฮาร์ ขึ้นฝั่งประเทศอินเดียแล้วในเวลานี้ ซึ่งทางการอินเดียได้อพยพ ปชช กว่า 26,000 ตามแนวชายฝั่งไปอยู่ในที่ปลอดภัยก่อนหน้านี้แล้ว
  • 12:00 รัฐบาลฟิลิปปินส์ควัก 347 ล้านเปโซ (255 ล้านบาท) เปิดโครงการปลูกป่าฟื้นป่าชายเลนต้านพายุ หลังเหตุการณ์ไห่เหยี่ยน 
  • 10:00 ตำแหน่งวันนี้ของดาวหางไอซอน ที่จะยะ 0.084AU จากดวงอาทิตย์ ก่อนเข้าจุดเฉียดtest8338
  • 09:00 ตำแหน่งล่าสุดของพายุโซนร้อนเลฮาร์ที่ชายฝุ่งอินเดีย คาดว่าจะขึ้นฝั่งในช่วงค่ำของวันนี้ 
  • 07:58 ภาพดาวเทียมย้อมสี จาก TWC หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนจากปลายแหลมญวณ นำฝนเข้าถล่มภาคใต้วันนี้ ส่วนพายุเลฮาร์อ่อนกำลังลงใกล้สลายตัวที่ชายฝั่งอินเดีย
  • 07:30 ภาพล่าสุดเวลานี้ จากกล้อง LASCO C3 ของยาน SOHO  ดาวหางไอซอนกำลังพุ่งเข้าเฉียดผิวดวงอาทิตย์ วงกลมดำตรงกลางคือโลหะบังแสง เงาดำด้านบนขวาคือแขนที่เชื่อมกับแผ่นโลหะBaHtTA4CcAA349x
  • 04:00 พายุโซนร้อนเลฮาร์ลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลงเหลือเพียง 40 น็อตและยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง  คาดว่าจะขึ้นฝั่งอินเดียไม่เกิน 24 ชม นี้
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 หย่อมความกดอากาศต่ำที่เกิดจากการสลายตัวของดีเปรสชันเอเลสเซีย ที่ชายฝั่งด้านเหนือของออสเตรเลีย กลับทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนอีกครั้ง 
  • 21:30 พายุไซโคลนเลฮาร์ ลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนแล้วในเวลานี้ แนวโน้มจะอ่อนแรงลงเรื่อยๆก่อนขึ้นฝั่งประเทศอินเดีย
  • 11:16 ภาพดาวเทียมย้อมสีล่าสุดจาก TWC ไซโคลนเลฮาร์อยู่ใกล้ฝั่งอินเดีย หย่อมความกดอากาศต่ำทางตะวันตกเฉียงใต้ของอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น 
  • 10:00 ดูเหมือนว่าดาวหางไอซอนจะมีปัญหาเสียแล้ว คลิปขนาด 31MB จากยาน STEREO-A ของนาซา แสดงให้เห็นส่วนนิวเคลียสของดาวหางที่ดูเหมือนจะ “หาย” ไปอย่างกระทันหัน (ต้องโหลดไปดูแบบเต็มจอ) โดยในภาพนี้จะเห็นดาวหางอีกดวงคือ เอ็นเก้ ที่ด้านบน twocomets_strip2
  • 08:00 ทิศทางพายุเลฮาร์ จะขึ้นฝั่งอินเดียราวช่วงบ่ายวันพรุ่งนี้ ในสภาพของไซโคลนความแรงระดับ 1ni201305
  • 07:30 กทม 27°C ชัยภูมิ 23°C เชียงใหม่ 24°C เชียงราย 22°C สมุย 27°C ขอนแก่น 22°C หาดใหญ่ 26°C มุกดาหาร 21°C เลย 21°C น่าน 22°C พะเยา 22°C
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:33 ถ.ประตูลอด อ.เมืองจ.นครศรีธรรมราชฝนตกน้อยลง ระดับน้ำยังไม่ เครดิตภาพ @Ai_Dechtanu
    BZxC-NDCUAAve4A
  • 22:10 น้ำท่วมชุมพร ล่าสุดมีปัญหาจราจร 2 จุด คือ ถ.สาย41 (เอเซีย) กม ที่ 25-26 อ.สวี ลึก 60-70 ซม และแยกปฐมพรสูง 100 ซม
  • 22:05 ภาพดาวหางไอซอน ถ่ายไม่กี่ ชม ที่ผ่านมานี้ จากทางตะวันตกเฉียงใต้ของแอฟฟริกา โดย Gerald Rhemann ผ่านกล้องดูดาว ison-231113
  • 22:00 รถทัวร์ปรับอากาศ ป.2 กทม.-ระนอง โดนกระแสน้ำพัดตะแคงอยู่ข้างทางผู้โดยสาร 30 คน ออกมาได้แล้วไม่มีคนเจ็บ (ถ.สายชุมพร-พะโต๊ะ/สื่อสาร5สายชลชุมพร)
  • 21:50 หย่อมความกดอากาศต่ำ 92W ที่ถล่มภาคใต้ของไทย ลงอันดามันทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน 05B แล้ว กำลังจะกลายเป็นไซโคลนไปอินเดีย 201305B
  • 20:13 หย่อมความกดอากาศต่ำ 92W ลงอันดามันไปแล้ว แต่ยังไม่วาย ทิ้งติ่งเมฆฝนไว้ให้ตกชุมพร กระบี่ และอีก 2-3 จังหวัด 
  • 12:30 สื่อฟิลิปปินส์ รายงานยอดผู้เสียชีวิตจากพายุไห่เยี่ยนล่าสุดที่ 5,233 รายแล้ว
  • 11:30 คลองท่าดี นครศรีธรรมราช น้ำล้นตลิ่งหลายจุด
  • 11:23 ภาพภายใน อ.ชะอวด มีน้ำท่วงขังระดับ 30 ซ.ม. เครดิตคุณ นาตา เฟียส์ 1441420_253493208136999_1364808703_n
  • 11:15 คลองนาท่อม บ้านท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง น้ำล้นตลิ่ง 66 ซม
  • 11:00 ขณะนี้ มีสะพานขาด บริเวณ ม.9 ต.นาเหรง อ.นบพิตำ ถ.ท่าพุด-ยอดเหลือง รถไม่สามารถสัญจรได้ Cr.ธนัชทัศน์ E29PQK via @PrachaRuamchai  1470204_253490644803922_985064649_n
  • 10:40 บ้านพอน ถลาง ภูเก็ต ฝนตกหนักมาก มีลมแรง
  • 09:59 สาย 403 ทุ่งสง-ห้วยยอด สัญจรได้ช่องทางเดียว เนื่องน้ำท่วมขัง
  • 09:30 ท่าศาลา นครศรี ฝนยังตก ถนนบางสายน้ำเริ่มข้ามถนนแล้ว
  • 05:00 ประกาศเตือนภัย- ฝนตกหนักและคลื่นลมแรง ฉบับที่ 16 กดอ่าน
  • 02:00 พายุเฮเลน ที่อินเดีย สลายตัวแล้ว
  • กรุงชิง นบพิตำ นครศรีสิกฤติถนนสะพานถูกตัดขาดอย่างน้อย 3 สายประชาชนกว่า 100 ครัวเรือนยังอพยพไม่ได้
  • NDRRMC รายงานยอดผู้เสียชีวิตจากพายุไห่เยี่ยนล่าสุดที่ 5,209 ราย
  • เกิดน้ำท่วมเากะ Rhodes ของกรีซ สญหาย 2 ราย
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:16 แผ่นดินไหวขนาด 5.7 บริเวณ ไมโครนิเชีย ลึก 10 กม. ความลึก 63 กม [USGS]
  • 20.32 แผ่นดินไหวขนาด 6.3 บริเวณ เกาะฮาลมาเฮรา ประเทศอินโดนีเซีย ความลึก 63 กม. [USGS
  • 19:00 หย่อมความกดอากาศต่ำในมหาสมุทรอินเดียก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชัน 04B แล้วทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนอย่างรวดเร็ว 201304B
  • 17:26 เกิดการปะทุขนาด X1.0 จากบริเวณจุดดับหมายเลข 1893 บนดวงอาทิตย์ 
  • 17:00 ประกาศกรมอุตุ เตือนหย่อมความกดอากาศต่ำผ่านภาคใต้ตอนล่าง กดอ่าน 
  • 16:00 ยอดตายเป็นทางการจากมหาพายุไห่เยียนในฟิลิปปินส์ นับจนถึงขณะนี้ 3,982 ราย
  • 15:00 ยอดตายจากน้ำท่วมเวียดนาม 34 รายหาย 11
  • 14:00  ตาย 14 รายในเกาะ Sardinia  ของอิตาลี จากพายุไซโคลนคลีโอพัตรา ที่ก่อตัวในทะเลเมดิเตอเรเนียน (ภาพจาก AP)_71193645_711936400,,17238499_303,00
  • 11:15 ยอดตายจากน้ำท่วมใหญ่ในเวียดนาม ล่าสุด 41 ราย
  • 11.07 อ.จะแนะ จ.นราธิวาส ฝนตก
  • 10.53 อ.แม่จัน จ.เชียงราย ฝนตก
  • 08:15 ทุ่นเตือนสึนามิไทย เสาอากาศหลุดออกจาก BPR ใต้ทะเล เสียหายไม่ส่งสัญญาณมาตั้งแต่ 21 ส.ค. (รองบไปซ่อม) ต้องใช้ของอินเดีย (ตัวล่าง) ที่ติดๆดับๆดังภาพ 23401-191113
  • 08:30 ภาพถ่ายเถ้าเขม่าจากภูเขาไฟซินนาบุงในเกาะสุมาตรา-อินโดนีเซียยังมีออกมาเรื่อยๆ เครดิตภาพ @debora_INFO7 
  • 07:13 สอดคล้องกับ JMA โดยภาพดาวเทียมย้อมสีของ TWC ก็พบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ได้สลายตัวเป็นกลุ่มฝนเข้าไปยังภาคใต้ตอนล่างแล้ว 
  • 07:00 จากแผนที่อากาศของอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นหรือ JMA ดีเปรสชันที่ก่อตัวใหม่แถบเกาะบอร์เนียวเมื่อวานนี้จากหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ได้สลายตัวไปแล้ว 
  • 00:01 แผนที่ฟ้าของดาวหางทั้ง 4 ก่อนรุ่งสางวันนี้ skymap19NOV13
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:00 ดาวหางไอซอนงอกหางยาวเพิ่มขึ้นอีก ขณะนี้ยาวถึง 16 ล้านกิโลเมตรแล้ว ภาพนี้ถ่ายโดย Michael Jäger จาก Ebenwaldhöhe ประเทศออสเตรีย reallylong_strip
  • 19:00 พบการก่อตัวของพายุหมุน “กึ่งเขตร้อน” เมลิสซา Melissa กลางมหาสมุทรแอตแลนติค ทิศทางมุ่งเหนือ Melissa
  • 15:15 ภูเขาไฟเมราปี ในอินโดฯ พ่นเถ้าถ่านสูงกว่า 1 กิโลเมตร ดูกล้อง
  • 11:00 กลุ่มจุดดับ AR1897 AR1899 และ AR1900 บนดวงอาทิตย์หันตรงมาทางโลก และเป็นชนิดเบต้า-แกมมา ไม่เสถียร มีโอกาสปะทุสูง (ไทยไม่มีเอีย่ว ไม่ต้องตื่นเต้น)meanwhile_strip
  • 10:00 เกิดพายุทอร์นาโดขนาดเล็กพัดกระหน่ำศูนย์การค้า ห้องสมุด และสถานีรถไฟในพื้นที่ทางตอนเหนือของนครซิดนีย์ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 10 คน
  • 09:00 จาก GFS Model ล่าสุดจะเห็นการเคลื่อนตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W จากแถวเกาะบอร์เนียว ข้ามฝั่งภาคใต้แถวจังหวัดนครศรีฯ ไปลงทะเลอันดามันแล้วก่อตัวเป็นพายุเข้าอินเดีย  อาจถึงระดับไซโคลน [wpvp_embed type=youtube video_code=N8IJ_Yrh2lI width=560 height=315]
  • 08:13 ฝนผ่านไปไม่นาน แววแล้งปรากฏให้เห็นทันที ภาพจากเขื่อนเจ้าพระยา CPY1-20131118-0829CPY2-20131118-0831
  • 07:13 หย่อมความกดอากาศต่ำทั้งหลายเคลื่อนห่างไปจากไทย ฝนเริ่มน้อยลงในช่วงนี้ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้น พายุดีเปรสชันลูกใหม่ นอกชายฝั่งเกาะบอร์เนียว ยังไม่เคลื่อนที่ 
  • 07:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ทางตะวันตกของเกาะบอเนียว ก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันลูกใหม่ ตามรายงานของ JMA JMA-20131118-0700
  • 06:30 พายุทอร์นาโดจำนวนมากเข้าถล่มหลายรัฐในอเมริกาพร้อมๆกัน

    PH-111709988

    สภาพความเสียหายจากพายุทอร์นาโด ในเมืองวอชิงตัน รัฐอิลินอยส์

  • 05:00 พายุหมุนเขตร้อนทุกลูกทั่วโลก สลายตัวหมดแล้วTSR
  • 00:40 Adam Lucio ถ่ายภาพทอร์นาโดลูกนี้จากเมือง Roanoke รัฐอิลินอยส์ เมื่อครู่ที่ผ่านมา BZSmkD5CUAAKJ9L
  • 00:17 ยืนยันพบพายุทอร์นาโดขนาดใหญ่ บริเวณ Roanoke รัฐอิลินอยส์ พายุกำลังเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ คนไทยที่นั่นโปรดระวัง
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”black”]พายุไห่เยี่ยน ไม่เคยมาไทย อย่าเชื่อสื่อมั่ว ที่หลอกลวงท่าน[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:05 แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ลึก 10 กม บริเวณ ทะเลสคอเทีย ไม่มีการเตือนสึนามิ เนื่องจากแนวการเคลื่อนตัว เป็นแบบแนวนอน [USGSM7.8 - Scotia Sea 2013-11-17 09 04 55 UTC
  • 15:12 หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือจากดีเปรสชันพอดึล ยังปกคลุมภาคใต้ตอนบน 
  • 14:00 ศพจากพายุไห่เยี่ยนไม่สามารถจัดการได้ทัน ทางการฟิลิปปินส์ต้องฝังรวมในหลุมใหญ่ 48413
  • 13:00 ภาพดาวเทียมจาก JTWC พายุทุกลูกรอบบ้านเรา สลายตัวหมดแล้ว
  • 06:00 ฝนหนักตั้งแต่วันพุธที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำท่วมในกรุงริยาร์ด และอีกหลายเมืองในซาอุดิอาระเบีย (ถนนบางสายไม่มีท่อระบายน้ำ) เครดิตภาพจาก rt.com  BZOIkMeIQAASwAi
  • 05:00 ตำแหน่งดาวหางทั้ง 4 ดวงที่นะปรากฏก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ทางขอบฟ้าทิศตะวันออก เช้านี้ skymap
  • 03:00 ดาวหาง ISON ขณะนี้มีความสว่างแมกนิจูด +5.5 และมีหางที่ยาวมาก ยาวถึง 8 ล้านกิโลเมตร หรือ 21 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกถึงดวงจันทร์ tail_strip
  • ผู้ประสบภัยในฟิลิปปินส์ยังหิวโหย ต่างกรูเข้ารับอาหารจาก ฮ. กู้ภัยBZPiE3LCcAADoy-
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”info”]แมกนิจูด คือมาตราวัดความสว่างของดาว ยิ่งมีค่าน้อย ยิ่งสว่างมาก (ฟรานซิส ริกเตอร์ ก่อนจะมาเป็นนักแผ่นดินไหว ก็ชอบดูดาว จึงขอยืมคำว่าแมกนิจูดมาใช้กับขนาดแผ่นดินไหวด้วย[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:12 หย่อมความกดอากาศต่ำ ที่หลงเหลือจากการสลายตัวของพายุดีเปรสชัน TD32W หรือ โซไรดา หรือ พอดึล  หรือ ที่กรมอุตุออกเสียงว่า “โพดอล”  เคลื่อนตัวขึ้นไปทางตอนเหนือของเวียดนาม มีเพียงส่วนน้อยที่เคลื่อนมาทางอ่าวไทย ก่อให้เกิดฝนอ่อนไปทั่วภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน 
  • 16:13 หย่อมความกดอากาศต่ำ ที่หลงเหลือจากการสลายตัวของพายุดีเปรสชัน TD32W หรือ โซไรดา หรือ พอดึล  หรือ ที่กรมอุตุออกเสียงว่า “โพดอล” กลายเป็นกลุ่มฝนกระจายตัวกว้างปกคลุมเวียดนาม กัมพูชาและอ่าวไทย 
  • 16:00 อ.เมืองอุบล ฟ้าครึ้ม ฝนปรอยๆตลอดบ่าย
  • 13:00  ภาพดาวเทียมจาก JTWC  ลดระดับดีเปรสชันพอดึล หรือที่กรมอุตุออกเสียงว่า โพดอล ลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ (RMNTS)
  • 13.19 แผ่นดินไหวขนาด mb 5.5  ประเทศอาเจนตินา ลึก 19.3 กม แรงสั้นไหว 20%g หรือเมอคัลลี VII  รอรายงานความเสียหาย [USGS]
  • 11:00 กาชาดฟิลิปปินส์ตั้งเต็นท์ในเมือง Hilongos และ Mandaue เพื่อรองรับผู้ประสบภัยที่ไร้บ้านจากทาโคลบาน 
  • 10:30 ข่าวดีสำหรับนักดูดาวหาง เกิดการปะทุความสว่างขึ้นกับดาวหางไอซอน ISON คือเมื่อวันจันทร์ ดาวหางไอซอนสว่างแค่แมกนิจูด 8.5 วันพุธ สว่างเพิ่มมาที่ M7.3 อยู่ๆเมื่อวานนี้ ก็ปะทุ สว่างถึง M5.4 คือภายใน 3 วัน สว่างขึ้น 16 เท่า

    ISON-Mike-Hankey-Nov-14-580x458

    Mike Hankey ถ่ายภาพนี้จาก Monkton รัฐแมรีแลนด์เมื่อวานนี้ (14 พ.ย.56)

  • 10:30 อุตุนิยมเวียดนาม ถือว่าดีเปรสชันพอดึล หรือ ที่กรมอุตุออกเสียงว่า “โพดอล” สลายตัวแล้ว NATIONAL CENTRE FOR HYDRO-METEOROLOGICAL FORECASTING
  • 10:12 พายุดีเปรสชันพอดึล บนฝั่งเวียดนาม กำลังจะสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในไม่กี่ ชม นี้ 
  • 07:00 จากรายงานของ JMA พายุพอดึล หรือ ที่กรมอุตุออกเสียงว่า “โพดอล” อ่อนกำลังทันทีที่ขึ้นฝั่ง ล่าสุดเหลือความกดอากาศ 1006hPa ความเร็วลมรอบศูนย์กลางเหลือเพียง 15 น็อต JMA-20131115-0700
  • 06:13 พายุพอดึล หรือ โพดอล ขึ้นฝั่งเวียดนามแล้วเมื่อช่วง 05:30 ที่ผ่านมา พายุมีแนวโน้มอ่อนกำลังลง 
  • 00:15 เส้นทางพายุพอดึล (32W) จากสำนักอุตุ 6 ประเทศ พายุจะขึ้นฝั่งเวียดนามแล้วสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำก่อนเข้ากัมพูชา (กรมอุตุออกเสียงว่าโพดอล)
  • ยอดตายเป็นทางการจากไห่เยี่ยน 2,390 ราย (เฉพาะในฟิลิปปินส์ 2,360 ราย)
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

gfz2013wjmm

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 JMA หรืออุตุนิยมญี่ปุ่น ยกระดับดีเปรสชันพอดึล ให้เป็นพายุโซนร้อน โดยมีความเร็วลมศูนย์กลางพายุเวลานี้  35 น็อต (34.8 กม/ชม)
  • 20:00 TSR ยอมรับการก่อตัวของดีเปรสชันโซไรดาแล้ว ให้ชื่อเรียกตามตารางของ JTWC ว่า พอดึล  (버들 ภาษาเกาหลี แปลว่าต้นหลิว) โดยพายุจะขึ้นฝั่งเวียดนามพรุ่งนี้ช่วงเช้า 201332W
  • 16:00 ยอดตายจากเชื้อ A/H1N1 ในฮอนดูรัส เพิ่มมาที่ 4 ราย
  • 15:15 ดีเปรสชันโซไรดา (หย่อมความกดอากาศต่ำ 90W) เคลื่อนเข้าใกล้เวียดนามมากขึ้น ประเมินว่าจะขึ้นฝั่งพรุ่งนี้ช่วงเช้า 
  • 14:00 ยอดตายเป็นทางการจากมหาพายุไห่เยี่ยน เฉพาะในฟิลิปปินส์ 2,410 ราย บาดเจ็บ 3,853 ราย สูญหายหาย 77 ราย
  • 13:00 ภูเขาไฟซินาบุงของอินโดนีเซียปะทุพ่นเถ้าถ่านสูง 7,000 เมตร ทางการอินโดเร่งอพยพประชาชนราว 5,500 คน ดูกล้อง CCTV 5094138-3x4-340x453
  • 12:00 ดาวหาง ISON อยู่ที่ระยะ 0.651AU ผ่านวงโคจรดาวศุกร์แล้วในวันนี้ test9975
  • 11:00 ประกาศเตือนภัย- พายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้ ฉบับที่ 6 กดอ่าน 
  • 10:55 ฝนตกเขตจตุจักร พญาไท ดินแดง ห้วยขวาง วังทองหลาง สวนหลวง วัฒนา คลองเตย ทวีวัฒนา จ.นนทบุรี อ.เมืองสมุทรสาคร
  • 09:00 ทุ่นสึนามิไทย (ตัวบน) เสียมาตั้งแต่ 21 ส.ค. ป่านนี้ยังไม่ได้งบประมาณไปกู้ไปซ่อม ต้องอาศัยทุ่นอินเดีย (ตัวล่าง) ซึ่งบางครั้งก็ติดๆดับๆ23401-20131114
  • 08:40 ขณะที่ทั่วโลกกำลังรอคอยและดูเหมือนจะผิดหวังกับดาวหาง ISON ที่ไม่ค่อยสว่าง อยู่ดีๆดาวหางดวงใหม่ก็โผล่ขึ้นมาให้เห็น หลังผ่านวงโคจรโลก ดาวหาง Lovejoy  (C/2013 R1) ส่องแสงสว่างกว่า ISON ประมาณ 10 เท่า ภาพนี้ Rolando Ligustri ถ่ายเมื่อ 12 พ.ย. ในนิวเม็กซิโก lovejoy_striptest2298
  • 08:30 GFZ โมเดลแสดงให้เห็นการขึ้นฝั่งของดีเปรสชันโซไรดาซึ่งจะสลายตัว เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำผ่านอ่าวไทยตอนบนไปลงอันดามัน  [wpvp_embed type=youtube video_code=RNnQOL7bWbQ width=560 height=315]
  • 08:00 ตำแหน่งที่พายุดีเปรสชันจะขึ้นฝั่งพรุ่งนี้เช้า  คำนวนโดยอุตุนิยมเวียดนาม 
  • 07:13 พายุดีเปสชันโซไรดา (ทาง JTWC ยังคงเรียกว่าเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ 90W)  เคลื่อนมาใกล้ถึงฝั่งเวียดนามแล้วในเวลานี้ แนวพายุหลังขึ้นฝั่งจะทำให้เกิดฝนในอีสานล่าง ตะวันออก ภาคกลางตอนล่างและใต้ตอนบน (ส่วนอุตุไทยไม่ตั้งชื่อ ตามแบบ JMA คือมึนๆเรียกไปว่า ดีเปรสชันในทะเลจีนใต้ )
  • 06:08 เกิดการปะทุขนาด C9.8 ใกล้บริเวณจุดดับหมายเลข 1897 เวลา (ไม่มีผลกับเรา ท่องไว้ แค่เอาภาพมาให้ดูสวยๆ) nov13_2013_m1.4
  • 05.36 Geofon วัดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ นอกชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะสุมาตราเหนือ  ที่ความลึก 10 กมได้ แต่สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวของกรมอุตุที่อยู่ใกล้ๆ และมีผลโดยตรง กลับวัดไม่ได้
  • 01:00 ภาพพายุดีเปรสชัน BOB05 ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งทาง JTWC ระบุว่าเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (HIGH) ที่หลงเหลือ (RMNTS) จากพายุดีเปรสชัน 30W หรือวิลมาตามชื่อจากทาง PAGASA ที่ถล่มประจวบฯ และเพชรบุรีไปเมื่อช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยทาง JTWC ยังไม่ประกาศยกระดับเป็นพายุลูกใหม่
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:00 อุตุฯญี่ปุ่น หรือ JMA ประเมินเส้นทางซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนหลังลงสู่ทะเลจีนใต้ ไต้ฝุ่นจะมาที่ฝั่งเวียดนามในวันอาทิตย์ที่ 10 พ.ย. นี้
  • 15:30 ดาวหาง ISON ขณะนี้ผ่านวงโคจรของโลกแล้ว และกำลังมุ่งตรงไปทางดวงอาทิตย์ด้วยความเร็ว 46 กม/วินาที นักดูดาวต่างพยายามจับภาพไว้ และคลิปนี้มาจากประเทศโคลัมเบีย ถ่ายโดย Alberto Quijano Vodniza race_strip2
  • 15:05 อ.บ้านบึง ชลบุรี ฝนตกพรำๆ
  • 15:00 ประกาศฉบับที่ 17 ของทาง JTWC คาดว่า ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนหลังจากถล่มฟิลิปปินส์ จะลงสู่ทะเลจีนใต้แล้วมาขึ้นฝั่งเวียดนามราววันที่ 10 พ.ย. จากนั้นจะเข้าไปสลายตัวในลาว 
  • 14:30 ชาวฟิลิปปินส์บางส่วนเตรียมรับมือพายุโดยการปิดส่วนที่ลมจะชอนไชเข้าไป “ยก” บ้านให้สนิท นี่คือสิ่งที่พวกเค้าเรียนรู้ 
  • 13:57 ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 280 กม/ชม ขึ้นอันดับพายุที่แรงที่สุดในโลกของปีนี้ ทิศทางยังเคลื่อนไปขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ โดยเกาะมินดาเนาเริ่มประสบฝนหนักแล้วเมื่อหลาย ชม ที่ผ่านมา 
  • 13:00 JTWC ยืนยันการสลายตัวของพายุดีเปรสชัน 30W ในอ่าวไทยเช่นกัน แสดงเฉพาะภาพซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเท่านั้น 
  • 12:00 ทั่วโลกเวลานี้ เหลือซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนในทะเลฟิลิปปินส์ลูกเดียวเท่านั้น 
  • 11:05 ดีเปรสชัน 30W ในอ่าวไทย สลายตัวแล้ว จับตาดูซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่ฟิลิปปินส์ต่อไป 
  • 07:30 โมเดล GFS ของไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน จะเห็นเส้นทางหลังลงสู่ทะเลจีนใต้ พายุจะตรงไปเข้าอ่าวตังเกี๋ย ไม่มีผลกับไทย [wpvp_embed type=youtube video_code=l2y5mxk4QcM width=560 height=315]
  • 06:32 ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน เคลื่อนผ่านเกาะปาเลา ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเกิน 260 กม/ชม ทิศทางมุ่งตะวันตก เริ่มก่อให้เกิดฝนตกหลายพื้นที่ในฟิลิปปินส์
  • 06:30 ฝนตกหนักที่ประจวบ และตกปานกลาง เพชรบุรี ชุมพร 
  • 04:13 ดีเปรสชัน 30W เคลื่อนตัวจากกัมพูชาลงอ่าวไทย ขณะที่ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนยังคงตรงเข้าหาฟิลิปปินส์  
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”black”]เรื่องรังสีจักวาลคอสโม จากดาวอังคาร ให้ปิดมือถือ เป็นโจ๊กตลกที่ฝรั่งอำเล่นในวันเมษาหน้าโง่ April Fools’ Day ประจำปี 2008 และเลิกเล่นกันไปนานแล้วทั่วโลก เหลือแต่เมืองไทย ที่ยังนิยมแชร์เรื่องแย่ๆนี้กันต่อไปไม่จบสิ้น[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 อุตุญี่ปุ่นและ JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุกรอซาที่เวียดนามแล้ว 
  • 17:00 ตำแหน่งล่าสุดวันนี้ของดาวหางไอซอน ระยะห่างดวงอาทิตย์ 0.923AUtest5726
  • 15:00 ตำแหน่งล่าสุดของพายุทั้ง 3 ลูกใกล้บ้านเรา ดีเปรสชันกรอซา กำลังจะสลายตัวแถวเวียดนาม พายุโซนร้อนไห่เยี่ยน ทวีกำลังเข้าหาฟิลิปปินส์ และดีเปรสชัน 30W ที่คาดว่าจะมีเส้นทางผ่านอ่าวไทย ค่อยๆทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนแบบช้าๆ 
  • 13:30 ทางการอินโดฯอพยพประชาชนหลายร้อยคน หลังภูเขาไฟ ซินาบัง ในสุมาตราปะทุอีกรอบ 
  • 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุกรอซา (ให้เป็น RMNTS) และให้พายุ 31W เป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า ไห่เยี่ยน (海燕 ภาษาจีน หมายถึงนกนางแอ่น) 
  • 11:00 พายุโซนร้อนกรอซา อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน คาดว่าจะสลายตัวในเวียดนาม ไม่เกิน 24 ชม ข้างหน้านี้  201329W
  • 07:30 โมเดล GFS ของพายุ 30W และ 31W (ในภาพยังมีเส้นทางเดิมของ 29W อยู่) แสดงให้เห็นพายุ 30W จะเคลื่อนไปขึ้นฝั่งทางใต้ของเวียดนามผ่านกัมพูชา ลงอ่าวไทยและข้ามภาคใต้ของไทยออกไปทางอันดามัน ส่วน 31W (ไห่เยี่ยน) จะเอียงขึ้นไปทางอ่าวตังเกี๋ย [wpvp_embed type=youtube video_code=lXleL4fIt8s width=560 height=315]  
  • 06:30 ภาพดาวเทียมของดีเปรสชัน 30W ปกคลุมเหนือน่านฟ้าฟิลิปปินส์ในเวลานี้ 
  • 05:00 ไต้ฝุ่นกรอซา นอกชายฝั่งเวียดนาม ลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนแล้วในเวลานี้
  • 04:00 เส้นทางของดีเปรสชัน 30W คำนวนล่าสุดจาก TSR พายุจะขึ้นฝั่งเวียดนามผ่านกัมพูชาลงอ่าวไทยและผ่านภาคใต้ตอนบนไปถึงอันดามัน201330W-20131104-0400
  • 01:30 ดีเปรสชัน 30W ขึ้นสู่ฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ 
  • ทางการอินโดฯ อพยพคน 1,300 คนหนีการปะทุของภูเขาไฟชินนาบังในเากะสุมาตรา
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

[stextbox id=”black”]ไม่มีคำว่า “ริกเตอร์”  ในข่าวแผ่นดินไหวของ CNN BBC หรือญี่ปุ่น ไม่มีทั้งนั้น เพราะมันผิดหลัก มีแต่คนไทยที่ใช้ [/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)