ศุกร์ 9 มีนาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 เกิดพายุสุริยะ ที่ความเร็วลม 575 กม/วินาที จากการปะทุของจุดดับ 1429 เช้านี้
  • 21:00 เกิดพายุลูกเห็บในเกาะฮาวาย เป็นลูกเห็บที่ใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ และบางลูกใหญ่กว่า  
  • 20:30 เกิดพายุแม่เหล็กโลกในระดับความแรง kp=7 หรือ G3 ผลจากการปะทุซ้ำของจุดดับ 1429 ช่วง 10:53 ที่ผ่านมาเช้านี้ 
  • 17:00 อุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนฉบับที่ 7 กดอ่าน
  • 14.09 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 บริเวณ ประเทศวานูอาตู ที่ความลึก 36.80 กม. ไม่มีสึนามิในวงกว้าง ตามรายงานของ PTWC กดอ่าน 
  • 10:53 จุดดับ 1429 ปะทุรุนแรงในทิศทางตรงกับโลก ในระดับความแรง M6.3
  • 07:00 กทม 27°C ภูเก็ต 25°C พะเยา 15°C เชียงราย 15°C ลำปาง 17°C เชียงใหม่ 17°C อุดร 26°C ขอนแก่น 25°C อุบล 25°C ตรัง 24°C  หาดใหญ่ 24°C
  • 05:30 อุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนฉบับที่ 5 กดอ่าน
  • 04:30 พายุแม่เหล็กโลกจากการเข้าชนของ CME เมื่อ 18:00 วานนี้ เริ่มลดระดับลงจาก kp=5 เหลือ kp=4 
  • 04:00 กทม 28°C ภูเก็ต 25°C พะเยา 17°C เชียงราย 17°C ลำปาง 18°C เชียงใหม่ 18°C อุดร 27°C ขอนแก่น 24°C อุบล 25°C
  •  01:00 พายุโซนร้อน 16S ได้ชื่อเป็นทางการแล้วว่า โคจิ ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 50 น็อต มีแนวโน้มทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไซโคลน ใน 24 ชม ข้างหน้านี้

พุธ 7 มีนาคม 2555 (มาฆบูชา)

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:30 อุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนฉบับที่ 1 กดอ่าน
  • 16:00 ผลจากการปะทุรุนแรงเมื่อช่วงเช้าบนดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดพายุแม่เหล็กในบรรยากาศโลกในระดับ kp=6 ในกราฟที่ 1 เกิดระดับรังสี X ที่สูงถึง X5.4 แสดงในกราฟที่ 2 และระดับโปรตรอนที่เพิ่มสูงผิดปกติในทุกช่วงพลังงานอนุภาคดังในกราฟที่ 3 รวมทั้งสนามแม่เหล็กระดับพื้นผิวในกราฟที่ 4 คือกราฟของ  Kiruna magnetogram ซึ่งเกิดการสั่นไหวรุนแรงทั้งแกน x,y,z ขณะที่ลมสุริยะมีความเร็วต่ำมาก เพียง 289 กม/วินาที เท่านั้น ไม่กลายเป็นพายุสุริยะแต่อย่างใด
  • 07:28 เกิดการปะทุระดับ X5.4 ที่จุดดับขนาดใหญ่กว่าโลก 4 เท่า หมายเลข 1429 บนดวงอาทิตย์ ซึ่งปะทุไปแล้ว 1 รอบเมื่อหลายวันก่อน ในครั้งนี้ 1429 ได้หันมาในด้านที่ตรงกับโลกมากขึ้น แม้ยังไม่เป็นแนวเดียวกันก็ตาม ภาพถ่ายจากยาน STEREO-B ก็ยังไม่ยืนยันว่ากลุ่มแก้สร้อนจาก CME มีทิศทางมุ่งมายังโลกหรือไม่ แต่ผลจากการปะทุนี้จะเกิดแสงเหนือกับโลกภายใน 24 ชั่วโมงนี้จากอนุภาคต่างๆที่เกิดขึ้น
  • 06:00 กทม 28°C ปราจีน 28°C อุบล 27°C สุราษฎ์ธานี 23°C ขอนแก่น 24°C อุดร 23°C ลำปาง 19°C เชียงใหม่ 19°C
  •  01:18 แผ่นดินไหว 2.2 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
  • ฝรั่งเศส – เกิดพายุหิมะถล่มตอนเหนือของประเทศ เกิดไฟฟ้าดับและระบบการจราจรสับสนอลหม่าน
  • อัฟกานิสถาน -เกิดเหตุหิมะถล่มฝังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในตำบลเชอเคย์พื้นที่แถบภูเขา จังหวัดหวัดบาดักห์ชาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีรายงานยอดผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 37 คน และยังมีอีกกว่า 12 คน ติดอยู่ใต้กองหิมะ
  • ออสเตรเลีย – ความกดอากาศต่ำกำลังแรงปานกลาง ยังปกคลุมทางตะวันออกของประเทศ 

5 มีนาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:00 ช่วงคืนนี้ ต่อเนื่องพรุ่งนี้เช้า จะมีปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลก เวลา 0:01:07 น. ด้วยระยะห่าง 100,780,525 กิโลเมตร
    หรือใกล้กรุงเทพฯที่สุด (ตามส่วนโค้งของโลก) เวลา 0:23 น.
  • 11:24 เกิดการปะทุระดับ X1 ที่จุดดับหมายเลข 1429 บนดวงอาทิตย์ ในด้านที่หันไม่ตรงกับโลก ระดับรงสีเอ็กซ์เหนือบรรยากาศโลก พุ่งขึ้นแตะระดับ 0.1 mW ต่อ ตารางเมตร
  • ลำปาง – ไฟป่าบนดอยม่อนเหลี่ยม สงบแล้ว
  • ชัยภูมิ – เขื่อน จุฬาภรณ์  เหลือน้ำเพียง 18% เข้าระดับแล้งวิกฤต
  • ราชบุรี – ไฟป่าที่เกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าเขากระโจม และป่าเขาแหลม ซึ่งเป็นป่าในโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยา ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นป่าต้นน้ำ ถูกไฟไหม้เสียหายแล้วกว่า 60,000 ไร่ มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมไฟป่าไว้ได้แล้ว
  • สหรัฐฯ – ยอดผู้เสียชีวิตจากพายุทอร์นาโด เพิ่มเป็น 39 รายในวันนี้ (21 รายในเคนตักกี 13 รายในอินเดียนนา 3 รายในโอไฮโอ 1 รายในอลาบามา 1 รายในจอร์เจีย)
  • ออสเตรเลีย – มีการสั่งอพยพ ปชช จากเมือง วักก้าวักก้า รัฐนิวเซาท์เวล เนื่องจากน้ำท่วม
  • สหรัฐฯ – หลายเมืองทางเหนือของรัฐมิชิแกน ประกาศภาวะฉุกเฉิน จากการถูกพายุหิมะเข้าถล่ม 
  • ดาวเคราะห์น้อย (2012 DQ8) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 44 เท่าของดวงจันทร์ ด้วยขนาดราว 265 เมตร ความเร็ว 14.97 กม./วินาที พลังงาน 783 เมกกะตัน ดูวงโคจร 

วัฏจักรสุริยะที่ 24

วัฏจักรสุริยะ (Solar Cycle) คือ รอบของการเปลี่ยนแปลงปริมาณ “จุดดับของดวงอาทิตย์ ” (Sunspot) สมัยนี้อาจเรียกจุดมืด หรือจุดดำ สำหรับวัฏจักรสุริยะหนึ่งๆ จะกินระยะเวลาโดยประมาณ 11 ปี
ปริมาณของจุดดับนั้น ในช่วงต่ำสุด หรือ Solar Minimum อาจมีเพียง 2-3 จุด แต่ในช่วงที่มีมากที่สุด หรือช่วง  Solar Maximum อาจจะมากกว่า 160 จุดถึง 200 จุด

ในช่วงเริ่มวัฏจักร หรือ รอบ (cycle) ใหม่จะมีปริมาณของจุดดับน้อย และก็จะมีปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้น และมากที่สุดในช่วงกลางวัฏจักร และค่อยๆน้อยลงในช่วงปลายวัฏจักร ก่อนจะเริ่มนับรอบ (cycle ) ใหม่อีกครั้ง
แต่ในบางครั้ง จำนวนจุดมืดก็ไม่ได้เป็นไปตามวัฏจักรสุริยะ โดยเฉพาะในระหว่างปี 1645-1715 เป็นช่วงระยะเวลาที่แทบจะไม่ปรากฏจุดมืดใดๆ บนผิวดวงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์เรียกช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ว่า “ช่วงต่ำสุดมอนเดอร์ (Maunder Minimum)”

สิ่งที่นักดาราศาสตร์ใช้เป็นตัวบอกจุดเริ่มต้นของวัฏจักร คือ การนับจำนวนจุดดับบนดวงอาทิตย์ ช่วงท้ายวัฏจักรจุดดับจะเกิดขึ้นบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร เมื่อวัฏจักรใหม่เริ่มต้นเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น จุดดับจะเกิดขึ้นอยู่ในแนวเส้นรุ้งที่สูง คือ ค่อนไปทางขั้วดวงอาทิตย์ ราว 25-30 องศาทั้งเหนือและใต้ และมีขั้วของสนามแม่เหล็กในจุดดับตรงข้ามกับรอบที่ผ่านมา เมื่อวัฏจักรเข้าสู่จุดสูงสุด จุดดับบนดวงอาทิตย์จะเคลื่อนตัวมาอยู่ใกล้กับแนวเส้นศูนย์สูตร ซึ่งจะถึงจุดสูงสุดเมื่อจุดดับมีจำนวนประมาณ 160 จุด อีก วิธีหนึ่งที่ทำได้ก็คือนำตำแหน่งของจุดดับมาเขียนแผนภูมิเทียบกับเวลา เราจะได้แผนภูมิที่มีรูปร่างคล้ายกับตัวผีเสื้อ (Butterfly Diagram)

เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2551 นักดาราศาสตร์ได้พบจุดมืดบนดวงอาทิตย์ที่มีขั้วแม่เหล็กสลับกับวัฏจักรที่ผ่านมา จุดมืดนั้นเกิดขึ้นที่ละติจูด 30 องศาเหนือ มีชื่อตามระบบเรียกของโนอาว่า เออาร์ 10981 (AR10981) หรือเรียกแบบย่อว่า จุด 981 จุดนี้มีขนาดใหญ่เท่าโลก แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเล็กเทียบกับจุดทั่วไปบนดวงอาทิตย์ มีอายุอยู่ได้เพียง 3 วันก็สลายไป แต่ก็นับเป็นการเริ่มต้นวัฏจักรใหม่อย่างเป็นทางการ

วัฏจักรสุริยะที่อยู่ถัดกันอาจมีการเหลื่อมเวลาเล็กน้อย ซึ่งอาจกินเวลานานถึงหนึ่งปี ดังนั้น แม้วัฏจักรใหม่จะเริ่มแล้ว แต่วัฏจักรที่ผ่านมาก็อาจจะยังไม่สิ้นสุดเสียทีเดียว นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังคิดว่า มีความเป็นไปได้ที่ วัฏจักรที่ 23 อาจจะยืดเยื้อเช่นเดียวกับ วัฏจักรที่ 20 ที่ครองแชมป์การเป็นวัฏจักรที่กินระยะเวลานานที่สุดก็เป็นได้

ศุกร์ 27 มกราคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • ประเทศจีน-เกิดไฟป่าในมณฑลยูนนานเผาผลาญพื้นที่ไปมากกว่า 280 ไร่ ต้องระดมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงราว 2,500 นายมาควบคุม
  • โคโซโว  – มีเหตุการณ์พายุหิมะถล่มหนักฉับพลัน จนผู้ขับขี่รถยนต์ไม่สามารถออกจากรถตัวเองได้ ขณะที่โรมาเนียมีเหตุการณ์รถไฟตกรางเพราะพายุหิมะในครั้งนี้
  • 06:30 พายุไซโคลน Funso ขนาดความเร็วลมระดับ 4 หรือ 115 กม/ชม ยังมีทิศทางลงใต้ ขณะที่พายุโซนร้อน Iggy ความเร็วลม 45 น็อต มีทิศทางเข้าหาประเทศออสเตรเลีย 
  • ในเวลา 22:30 วันนี้ ดาวเคราะห์น้อย (2012 BX34) ขนาราว 14  เมตร จะเข้าเฉียดโลกในระยะห่างน้อยกว่า 77,000 กิโลเมตร หรือ .0085  AU หรือ 0.2LD (20%ของระยะห่างของดวงจันทร์)   ดูวงโคจร
  • 00:08:40 แผ่นดินไหวขนาด 3.3 ทางเหนือแม่ฮ่องสอน ในเขตประเทศพม่า
  • 00:08:59 แผ่นดินไหว อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ (19.24,98.67) ขนาด 2.7 
  • ดาวเคราะห์น้อย (2012 BW13) เข้าใกล้โลกในระยะห่าง 1.7 เท่าของดวงจันทร์ ด้วยขนาดราว 16 เมตร ความเร็ว 11.8 กม./วินาที พลังงาน 107 กิโลตัน ดูวงโคจร
  • จุดดับหมายเลข 1402 ของดวงอาทิตย์ยังไม่สงบ เมื่อวาน (26 มกราคม) ได้เกิดปะทุขึ้นมาอีกรอบ แต่รอบนี้หันไปด้านที่ไม่ตรงกับโลก (ดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง) กระแสอนุภาคจึงไม่ได้มาในทิศทางที่โลกอยู่ 

การขายตัวของจุดดับ AR1363 บนดวงอาทิตย์


ภาพถ่ายจากยาน SDO ของ NASA แสดงถึงจุดดับ AR1363 ที่ขยายขนาดอย่างรวดเร็วใน 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา (กดที่ภาพเพื่อดูการเคลื่อนไหว)  จุดดับขนาดนี้หากปะทุ จะเกิดความรุนแรงในระดับ M -Class และโดยเฉพาะทิศทางของจุดดับนี้หันตรงมายังโลก โปรดติดตามความเคลื่อนไหวต่อไป