รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”black”]เรื่องรังสีจักวาลคอสโม จากดาวอังคาร ให้ปิดมือถือ เป็นโจ๊กตลกที่ฝรั่งอำเล่นในวันเมษาหน้าโง่ April Fools’ Day ประจำปี 2008 และเลิกเล่นกันไปนานแล้วทั่วโลก เหลือแต่เมืองไทย ที่ยังนิยมแชร์เรื่องแย่ๆนี้กันต่อไปไม่จบสิ้น[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 เส้นทางล่าสุดของพายุกรอซา คำนวนโดย TSR (เอเย่นต์อื่นอาจเห็นต่างไปจากนี้) พายุจะไปสลายตัวในเขตกัมพูชา 201329W_20131101-1800
  • 17:00 พบการก่อตัวใหม่ของดีเปรสชัน 18E ทางตะวันตกของเม็กซิโก และหย่อมความกดอากาศต่ำหย่อมใหม่ 98W ในทะเลฟิลิปปินส์ 
  • 13:00 TSR ปรับเส้นทางพายุกรอซาอีกครั้ง พายุจะเข้ามาสลายตัวแถวจังหวัดอุบลในอีก 96 ชม (ราววันที่ 5 พ.ย.) 
  • 06.03  แผ่นดินไหวขนาด 6.6 [USGS] บริเวณ ใกล้ชายฝั่ง ตอนกลางของ ประเทศชิลี ที่ความลึก 10 กม. ค่า PGA%g intensity อยู่ที่ MMI ระดับ VIIpga
  • 04:00 เส้นทางไต้ฝุ่นกรอซา ลาสุดจากสำนักอุตุ 6 ประเทศ มี 3 สำนักเชื่อว่าจะเข้าไทย และ JTWC ประเมินว่าพายุจะเข้ามาถึงชลบุรี krosa-20131101-0400
  • 03:30 ไต้ฝุ่นกรอซา กำลังจะออกจากฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้
  • 02:00 พายุดีเปรสชันเรมอนด์ สลายตัวแล้ว
  • 01:30 คาดการความสว่างของดาวหางไอซอน อัพเดทล่าสุดจาก NASA สว่างได้อย่างมากก็แมกนิจูด 0 ในเดือนหน้า (ธ.ค. 56) จากนั้นก็ลดลง ison_lc_oct16_sm
  • 01:00 ตำแหน่งของดาวหางไอซอน ISON ในวันนี้ (วงกลมบน) และโลกเรา (วงกลมล่าง) ห่างจากดวงอาทิตย์พอๆกัน (0.997AU) แต่ไม่ใกล้กัน (1.23AU) เครดิตภาพจาก Nectec
  • 00:30 พายุดีเปรสชันเรมอนด์ ใกล้ประเทศเม็กซิโก อ่อนกำลังลงเรื่อยๆ กำลังจะสลายตัวในไม่กี่ชั่วโมงนี้
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

6 ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556

  1. ison 1 มค 57 ใกล้โลกขนาดนั้นเลยเหรอครับ ขอวิธีสังเกตหน่อยครับ

    • เข้าใกล้โลกจริงแต่โชติมาตรที่คาดการณ์ไว้ระดับ 0 ซึ่งไม่สว่างอะไรมาก อาจสังเกตยาก เพราะดาวหางทุกดวงต้องดูก่อนและหลังพระอาทิตย์ขึ้นและตก มันเกาะติดดวงอาทิตย์

        • ดูได้ตั้งขาเข้าไปหาดวงอาทิตย์จนขาออกมาจากดวงอาทิตย์ครับ ครึ่งหลังของเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่สามารถสังเกตดาวหางได้ในเวลาเช้ามืด อย่างน้อยก็ด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ ส่วนจะเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือไม่ และสว่างในระดับใด ขณะนี้เป็นเพียงการคาดหมายที่ยังมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ครับ

  2. admin ผมดูจากรูปที่ทางเว็บเอามาแปะ เราจะได้เห็นดาวหางไอซอน ISON ย่างสด ด้วยตาปล่าวมั๊ยครับ เหมือนจะมีบางช่วงใกล้ๆโลก

    • เข้าใกล้โลกจริงแต่โชติมาตรที่คาดการณ์ไว้ระดับ 0 ซึ่งไม่สว่างอะไรมาก อาจสังเกตยาก

ส่งความเห็นที่ อาร์ม ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *