รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 10 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 กราฟแผ่นดินไหวที่เขื่อนศรีนครินทร์บันทึกสัญญาณได้ดังภาพด้านล่าง และจนเที่ยงคืนแล้วทางกรมอุตุยังไม่มีคำตอบเรื่องนี้ พบที่มาว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาด 5.8 บริเวณ เกาะสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 35.10 กม. เมื่อ 20.47 ตามเวลาไทย คลื่นส่งแรงมาถึงตัววัดที่เมืองกาญจน์ ทางกรุมอุตุ ได้ใช้รายงานจาก Geofon แสดงผลในส่วนของแผ่นดินไหวทั่วโลกไปแล้ว จึงไม่ได้มาขึ้นในรายงานแผ่นดินไหวของไทยและใกล้เคียง (ซึ่งควรจะขึ้น เพราะสุมาตรากับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีผลต่อกันแน่นอน)
  • 19:00 พายุไซโคลน Naraelle ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางล่าสุด 75 น็อต เส้นทางพายุที่ได้รับการคาดการณ์ล่าสุดโดย TSR จะไปสลายตัวใกล้เมืองเพิร์ชของออสเตรเลีย 
  • 15:00 ยาน SDO ถ่ายภาพกลุ่มจุดดำหมายเลข 1654 ทางฝั่งตะวันออกของดวงอาทิตย์ ที่ขณะนี้กำลังหันหน้ามายังโลก กลุ่มจุดดำนี้ประกอบด้วยจุดดำขนาดใหญ่กว่าโลก 4 เท่าจำนวน 2 กลุ่ม เชื่อมต่อกันด้วยแม่เหล็กความเข้มสูง มีโอกาส 40% ที่จะปะทุที่ระดับ M ซึ่งไม่ส่งผลร้ายใดต่อโลกแต่เป็นที่คาดหวังของนักดูแสงออโรราในแถบซีกโลกเหนือที่จะได้เห็นแสงเหนือสวยๆ
  • 05:00 พายุไซโคลนนาเรลเล Narelle ยังคงเคลื่อนตัวลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลียอย่างช้าๆด้วยความเร็วในการเคลื่อนที่ราว 8 น็็อต
  • 04:00 พายุโซนามูสลายตัวแล้ว
  • 01:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 94W ที่ฟิลิปปินส์ กำลังจะฟอร์มตัวเป็นพายุ ล่าสุดความกดอากาศลดลงเหลือ 1002 hPa
  • ดาวเคราะห์น้อย (99942 Apophis หรือ 2004MN4) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 38 เท่าของดวงจันทร์: ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 270 เมตร ความเร็ว 4.09 กม./วินาที พลังงาน 62 เมกกะตัน .

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

6 ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 10 มกราคม 2556

  1. รบกวนขอข้อมูลหน่อยครับ ผมพึ่งติดตามเว็บนี้ และผมสังเกตกราฟรังสีดวงอาทิตย์ช่วง3วันที่ผ่านมา มันไม่ค่อยลดลงเลย มันเป็นปกติ หรือผิดปกติครับ หรือช่วงนี้ของปี มันเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว

      • เป็นเว็บที่ solarham.net ซึ่งที่นี่แนะนำไว้ ผมเห็นค่าที่ปรากฏในเส้นสีแดง อยู่แถบcไม่ค่อยลงมาที่Bเลย จึงสงสัยว่าปกติไหมช่วงนี้

        • อ๋อ นั่นคือกราฟระดับรังสี X ครับ เส้นสีแดงคือระดับไมโครวัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งการที่วิ่งอยู่ในระดับ C ถือว่าปกติครับ

          • อีกเรื่องหนึ่งนะครับก่อนนอน ผมเห็นทางsolarham ขยับ%จากเดิมm35%เป็นm40% แต่xยัง05%เท่าเดิม เรายังไม่ต้องกังวลหรือสังเกตการเปลี่ยนแปลงอะไรเป็นพิเศษใช่เปล่า ตราบใดที่%ของxไม่ผิดปกติเกินไปจากนี้

          • นั่นเป็น “โอกาส” ที่จะเกิดการปะทุระดับ M และ X และคนที่สนใจเรื่องนี้ที่สุด อยากรู้มากๆ คือพวกกรุ๊ปทัวร์ที่ตามดูแสงออโรรา พวกตากล้องที่คอยถ่ายภาพ ตามล่าภาพแสงออโรราสวยๆตามแถบขั้วโลกที่เส้นอาค์ติก แล้วเอามาโพสต์อวดกัน เรื่องพวกนี้คนไทยไม่เกี่ยว มันไม่มีความหมายอะไรกับละติจูด 20 องศาที่เราอยู่เลยครับ ต่อให้เกิดปะทุสูงถึง X9 เราก็ไม่เป็นไร เพราะมันเคยเกิดมาแล้ว แล้วยังไง มีใครในเมืองไทยรู้กันบ้าง แต่ที่คนไทยสนใจกันทุกวันนี้เพราะโดนปั่น เท่านั้นเอง โดนปั่นให้กลัว..

ส่งความเห็นที่ mrvop ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *